ทางโลก เขายกย่องกันว่า"ค่าของคน...อยู่ที่ผลของงาน"แต่ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเกี่ยวกับ
"คุณค่าของผู้ที่เกิดมาเป็นคนแล้ว" ...ว่าอยู่ที่อะไรครับ
.
.
.ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญคลิกอ่าน...
ความเข้าใจพระธรรมเป็นสาระสำคัญที่สุดในชีวิต
ขออนุโมทนาค่ะ
ถ้าหาก ค่าของคน...อยู่ที่ ผลของงาน
ต้อง ถามว่า............"ผล" คือ อะไร.?
เพื่อ ละ....หรือ เพื่อ ติด.?
.
.
.บางคน.......มีโอกาส ได้เกิดมาเป็นคนแล้วแม้ไม่มี ผลงาน.......อย่างที่ชาวโลกยกย่องแต่ มีโอกาสได้เจริญกุศล แม้เพียงเล็กน้อยก็น่ายกย่อง.......แม้กุศลเพียงเล็กน้อย นั้น.!
.
.
.
ขออนุโมทนาค่ะ
คนก็ไม่มี.....มีแต่ธรรม
และธรรมฝ่ายดีเท่านั้นค่ะ.......ถึงจะเรียกว่า.......มีค่า
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น บุคคลที่เกิดมาเป็นมนุษย์ (เกิดเป็นคนแล้ว) ไม่ว่าจะเกิดในตระกูลใด มีฐานะความเป็นอยู่อย่างไรก็ตาม แต่ละบุคคลสามารถที่จะเป็นได้ทั้งหมด ทั้งคนดี คนชั่ว (หรือมีปัญญาถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้งความจริง ถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้) ขึ้นอยู่กับว่าจะน้อมไปในทางใด คนเราเลือกเกิดไม่ได้ ไม่มีใครเลือกได้ เพราะเป็นไปตามกรรม เป็นผลของกรรม แต่สามารถที่จะเลือกกระทำในสิ่งที่ดี ถอยกลับจากอกุศลเลือกที่จะเป็นคนดีได้ (ถอยกลับจากอกุศล ยิ่งเร็วเท่าใด ก็ยิ่งดีเท่านั้น) ดังนั้น เมื่อได้ความเป็นมนุษย์แล้ว เกิดเป็นคนแล้ว การมีโอกาสแสวงหาประโยชน์จากการเป็นมนุษย์ที่ได้มาด้วยความยากอย่างยิ่งนี้ ด้วยการสะสมกุศล สะสมปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ย่อมเป็นชีวิตที่มีค่า (เป็นบุคคลที่มีค่า) และ ที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ สิ้นวัฏฏะได้ในที่สุดครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ
คุณค่าของผู้ที่เกิดมาเป็นคนในสายตาของพระผู้มีพระภาค ไม่ใช่อยู่ที่ผลของงานเช่นชาวโลก การเกิดก็มีเทวดา มนุษย์ อบาย เกิดเป็นเทวดาจะเรียนพระธรรมก็ยากหน่อยเพราะไม่มีทุกข์บนสวรรค์ ต้องเป็นคนก่อนเรียนรู้ก่อนแล้วเอาที่เรียนรู้ไปต่อบนสวรรค์ ตกอบายก็หมดทางเพราะปัญญาไม่เกิด เกิดเป็นคนก็มีทุกอย่างที่จะเป็นปัจจัยในการเรียนธรรม มีทุกข์มีสุกข์ มีบุญมีบาป ฯลฯ ปัจจัยเพียบที่จะศีกษา ศีกษาแล้วไม่จบยังไปต่อบนสวรรค์ได้ ค่าของการเกิดมาเป็นคนก็อย่างนี้ไม่ใช่อยู่ที่ผลของงานเช่นชาวโลก แต่อยู่ที่ผลของการเข้าใจธรรม เข้าใจพระธรรมก็คือไม่มีคน ทีนี้คนที่เกิดมาไม่รู้ค่านี้ก็เสียเวลาไปเปล่าๆ เรียกว่าเสียชาติเกิด เมื่อเสียชาติเกิดก็จะเวียนว่ายตายเกิดเป็นตอของวัฏฏะ (แต่มีคนมากที่พอใจเป็นตอของวัฏฏะเพราะสนุกดี ทุกข์ก็สนุกสุกข์ ก็สนุกชีวิต มีรสชาติ) จีงมีคำว่าได้พบพระธรรมไม่เสียชาติเกิดแล้ว ครับ
คุณค่าของผู้ที่เกิดมาเป็นคน คือการทำประโยชน์
การทำประโยชน์แก่ตน สูงสุดคือการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม
การทำประโยชน์แก่ผู้อื่น สูงสุดคือการสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒
เชิญคลิกได้ที่
ประโยชน์ของพระธรรม
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 498 ทฬิททสูตร บุคคลใด มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ในพระตถาคต มีศีลงามที่พระอริยะเจ้า พอใจสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระ- สงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิต ของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ เหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง ประกอบเนื่องๆ ซึ่งศรัทธา ศีล ความ เลื่อมใส และความเห็นธรรมเถิด. อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณครับ ปีติใจทีได้อ่านเรื่องความเข้าใจพระธรรม
ส่วนเรื่องค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ผมว่าคงเป็น"นัย" ทางโลกนั่นแหละครับ
ขออนุโมทนาค่ะ ที่ทุกท่านมีกุศลจิต และเป็นผู้มีพระธรรมเป็นหลักในชีวิต เมื่อมีปัญหา
ก็ช่วยกันค้นหาคำสอนของพระผู้มีพระภาคมาเป็นคำตอบ สมกับเป็นพุทธศาสนิกชน
เหมือนอย่างที่ศาสตราจารย์อังกฤษชาวพุทธท่านหนึ่งเคยพูดไว้เมื่อมีคนถามปัญหา
ท่านพูดว่า "อย่าถามความเห็นของข้าพเจ้าเลย เราเป็นชาวพุทธ ควรศึกษาว่า เรื่องนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร จะดีกว่าความเห็นของข้าพเจ้าคนธรรมดาๆ คนเดียว"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒- หน้าที่ 195
"ทรัพย์เหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ๑, ทรัพย์
คือศีล ๑, ทรัพย์คือหิริ ๑, ทรัพย์คือโอตตัปปะ ๑, ทรัพย์คือสุตะ ๑, ทรัพย์คือจาคะ ๑, ปัญญาแล เป็นทรัพย์ที่ ๗, ย่อมมีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม, บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า ' เป็นคนไม่ขัดสน.'ชีวิตของบุคคลนั้นไม่ว่างเปล่า.๑"
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑,
ทรัพย์ คือ ศีล ๑,
ทรัพย์ คือ หิริ ๑,
ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ ๑,
ทรัพย์ คือ สุตะ ๑,
ทรัพย์ คือ จาคะ ๑,
ปัญญา แล เป็นทรัพย์ที่ ๗,
ย่อมมีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม,
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลนั้น ว่า
เป็นคนไม่ขัดสน.
"ชีวิตของบุคคลนั้น....ไม่ว่างเปล่า. ๑"
ขออนุโมทนาค่ะ.
ขออนุโมทนาค่ะ ที่ทุกท่านมีกุศลจิต และเป็นผู้มีพระธรรมเป็นหลักในชีวิต เมื่อมีปัญหา
ก็ช่วยกันค้นหาคำสอนของพระผู้มีพระภาคมาเป็นคำตอบ สมกับเป็นพุทธศาสนิกชน
เหมือนอย่างที่ศาสตราจารย์อังกฤษชาวพุทธท่านหนึ่งเคยพูดไว้เมื่อมีคนถามปัญหา
ท่านพูดว่า "อย่าถามความเห็นของข้าพเจ้าเลย เราเป็นชาวพุทธ ควรศึกษาว่า เรื่องนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร จะดีกว่าความเห็นของข้าพเจ้าคนธรรมดาๆ คนเดียว"
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
อุปมาด้วยผู้ต้องการไม้แก่น
[๕๕๔] ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้พึงสำคัญแก่นของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ว่า ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลยรากและลำต้นเสีย ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่พร้อมหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านพากันสำคัญเนื้อความนั้นว่า พึงสอบถามเราได้ ล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้. ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก นำออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนินตามนั้นและก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่ท่านทั้งหลายจะพึงสอบถามเนื้อความนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด พวกท่านพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320
ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่าดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดา
ล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมก็ดีวินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรม
และวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ