... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ ๗ มี.ค. ๒๕๕๒
เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๓๗๗
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๓๗๗
๖. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๑๖๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา " เป็นต้น.
พระราชาเสวยพระกระยาหารจุ
ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระราชาเสวยข้าวสุก แห่งข้าวสารหนึ่งทะนาน ด้วยสูปะและพยัญชนะ อันสมควรแก่ข้าวสุกนั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่บรรเทาความเมาเพราะภัตเลย เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอึดอัด ทรงพลิกกลับไปมาข้างโน้นข้างนี้อยู่ แม้ถูกความหลับครอบงำ เมื่อไม่สามารถจะทรงผทมตรงได้ จึงประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันพักผ่อนเลย เสด็จมาแล้วหรือ? " พระราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาบริโภคแล้วหม่อมฉันมีทุกข์มาก.
อุบายแก้การบริโภคอาหารจุ
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร การบริโภคมากเกินไป เป็นทุกข์อย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสสอนด้วยพระคาถานี้ว่า :- " ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมัก นอนหลับ กระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขา
เลี้ยงด้วยอาหาร, ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึม ย่อม เข้าห้องบ่อยๆ ." แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร การบริโภคโภชนะแต่พอประมาณ จึงควร, เพราะผู้บริโภคพอประมาณ ย่อมมีความสุข " เมื่อจะทรงโอวาทให้ยิ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :- " คนมีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว นั้น มีเวทนาเบาบาง, (อาหารที่บริโภคแล้ว) เลี้ยง อายุอยู่ ค่อยๆ ย่อยไป " พระราชาไม่อาจจะทรงเรียนพระคาถาได้. แต่ตรัสกะเจ้าหลานชื่อสุทัสนะ ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ว่า " พ่อ เธอจงเรียนคาถานี้. " สุทัส-นะนั้นทรงเรียนคาถานั้นแล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า " ข้าพระองค์จะกระทำอย่างไร พระเจ้าข้า? " ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " เมื่อพระราชาเสวยอยู่ ท่านพึงกล่าวคาถานี้ในกาลเสวยก้อนที่สุด, พระราชาทรงกำหนดเนื้อความได้แล้ว จักทรงทิ้งก้อนข้าวนั้น, ในการหุงภัตเพื่อพระราชา เธอพึงให้ลดข้าวสารมีประมาณเท่านั้น ด้วยอันนับเมล็ดข้าวในก้อนข้าวนั้น. " สุทัสนะนั้นทูลรับว่า " ดีละ พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาเสวยเวลาเช้าก็ตาม เวลาเย็นก็ตาม ก็กล่าวคาถานั้นขึ้นในการเสวยก้อนสุดท้าย แล้วให้ลดข้าวสาร ด้วยอันนับเมล็ด ในก้อนข้าวที่พระราชานั้นทรงทิ้ง. แม้พระราชาทรงสดับคาถาของสุทัส-นะนั้นแล้ว รับสั่งให้พระราชทานทรัพย์ครั้งละพัน.
โดยสมัยอื่นอีก พระราชานั้นทรงตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีข้าวสุกทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ทรงถึงความสุขแล้ว ได้มีพระสรีระอันเบา. ภายหลังวันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ความสุขเกิดแก่หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันเป็นผู้สามารถ จะติดตามจับเนื้อก็ได้ ม้าก็ได้, เมื่อก่อนหม่อมฉันมีการยุทธ์กับหลาน; บัดนี้หม่อมฉันให้ธิดาชื่อว่าวชิรกุมารีแก่หลานแล้ว ให้บ้านนั้น ทำให้เป็นค่าน้ำอาบของธิดานั้นนั่นแล. ความทะเลาะกับหลานนั้นสงบแล้ว, สุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉันเพราะเหตุแม้นี้. แม้แก้วมณีของพระเจ้ากุสะ ซึ่งหายไปแล้วในเรือนของหม่อมฉันในวันก่อน; บัดนี้แก้วมณีแม้นั้นมาสู่เงื้อมมือแล้ว, ความสุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุแม้นี้, หม่อมฉันปรารถนาความคุ้นเคยกับเหล่าสาวกของพระองค์ จึงทำแม้ธิดาแห่งญาติของพระองค์ไว้ในเรือน, ความสุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุแม้นี้. " พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ชื่อว่าความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ทรัพย์แม้เช่นกับความเป็นผู้สันโดษ ด้วยวัตถุตามที่ตนได้แล้ว ไม่มี, ชื่อว่าญาติเช่นกับด้วยผู้คุ้นเคยกัน ไม่มี, ชื่อว่าความสุขอย่างยิ่ง เช่นกับด้วยพระนิพพาน ไม่มี " จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :- ๖. อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฐิปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ญาติ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
" ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรค เป็นอย่างยิ่ง,
ทรัพย์มีความสันโดษ เป็นอย่างยิ่ง, ญาติมีความ
คุ้นเคย เป็นอย่างยิ่ง, พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาโรคฺยปรมา ความว่า มีความเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง. จริงอยู่ ลาภทั้งหลาย แม้มีอยู่แก่คนมีโรคไม่จัดเป็นลาภแท้, เพราะฉะนั้น ลาภทั้งปวงจึงมาถึงแก่คนไม่มีโรคเท่านั้น; เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา. " บาทพระคาถาว่า สนฺตุฏฺฐปรมํ ธนํ ความว่า ภาวะคืออันยินดีด้วยวัตถุที่ตนได้แล้วซึ่งเป็นของมีอยู่แห่งตนของคฤหัสถ์หรือบรรพชิตนั่นแล ชื่อว่าสันโดษ, สันโดษนั้น เป็นทรัพย์อันยิ่งกว่าทรัพย์ที่เหลือ. บาทพระคาถาว่า วิสฺสาสปรมา ญาตี ความว่า มารดาก็ตามบิดาก็ตามจงยกไว้. ไม่มีความคุ้นเคยกับคนใด. คนนั้นไม่ใช่ญาติแท้: แต่มีความคุ้นเคยกับคนใด, คนนั่นแม้ไม่เนื่องกันก็ชื่อว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง คือ อย่างสูง; เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " วิสฺสาสปรมา ญาตี. "
อนึ่ง ชื่อว่าความสุข เหมือนพระนิพพาน ไม่มี, เหตุนั้น พระ-ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ." ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ.
สาธุ
ซาบซึ้งค่ะ
ขอนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรื่อง พระเจ้าปเสนทิโกศล (ว่าด้วย ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง)
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ใพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้าปเสนทิโกศล.........
พระราชา เสวยพระกระยาหารมาก เป็นทุกข์ เสด็จไปเฝ้าพระศาสดาทรงพลิกกลับไปมา ข้างโน้นข้างนี้ ถูกความหลับครอบงำ.
พระศาสดาตรัสว่า"มหาบพิตร การบริโภคมาก เป็นทุกข์อย่างนี้"
แล้วตรัสว่า
"เมื่อใด คนกินจุ มักง่วง มักหลับ กระสับกระส่ายดุจสุกรใหญ่ ที่เขาขุนด้วยอาหาร เมื่อนั้น เขาเป็นคนเขลา ย่อมเข้าห้องบ่อยๆ "
ดังนี้ เมื่อจะให้โอวาทยิ่งขึ้น จึงตรัสว่า
"เมื่อคน มีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณ ในการบริโภคอาหารที่ได้แล้วเวทนา ย่อมมีเบาบาง ย่อมแก่ช้า อายุยืน"
ดังนี้แล้ว ให้เจ้าหลาน ชื่อ สุทัศนะกล่าวคาถานี้ ในเวลาที่พระราชาเสวยทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาเย็น. สมัยอื่นอีก ท้าวเธอถึงความสุข สรีระเบาเสด็จไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ หม่อมฉันสามารถติดตามจับเนื้อก็ได้ จับม้าก็ได้ เมื่อก่อน หม่อมฉันทำการรบกับหลาน บัดนี้ หม่อมฉันให้ธิดาชื่อ วชิรกุมารี แก่หลานแล้ว"เป็นต้น.
พระศาสดาตรัสว่า
"มหาบพิตร ชื่อว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง,ทรัพย์ แม้เช่นกับ ความสันโดษ ด้วยวัตถุตามมีตามได้ ก็ไม่มี,ชื่อว่า ญาติ เช่นกับ ผู้คุ้นเคยกัน ไม่มี,ชื่อว่า ความสุขอย่างยิ่ง เช่นกับด้วย พระนิพพาน ไม่มี"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสคาถานี้ว่า
อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฎฺฐิปรมํ ธนํ วิสฺสาสปรมา ญาตี นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
แปลว่า ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรค เป็นอย่างยิ่ง,.ทรัพย์ มีความสันโดษ เป็นอย่างยิ่ง,.ญาติทั้งหลาย มีความคุ้นเคย เป็นอย่างยิ่ง,.พระนิพพานเป็นสุข อย่างยิ่ง ดังนี้ฯ.
อธิบาย ในบทเหล่านั้น บทว่า "อโรคฺยปรมา"
ความว่า มีความเป็นผู้ไม่มีโรค เป็นอย่างยิ่ง.
จริงอยู่ ลาภทั้งหลาย แม้มีอยู่ แก่คนมีโรค ก็เป็นสภาพ มิใช่ลาภ เพราะเหตุนั้น ลาภทั้งปวง จึงมาถึง เฉพาะคนไม่มีโรค เท่านั้นด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
"อาโรคฺยปรมา ลาภา" ฯ
บาทพระคาถาว่า "สนฺตุฎฺฐิปรมํ ธนํ" ความว่า ภาวะ คือ ความยินดี (ใน) วัตถุของคฤหัสถ์ หรือ ของบรรพชิต อันตนได้แล้ว ด้วยวัตถุ ซึ่งเป็นของมีอยู่ของตนนั่นแหละ ชื่อว่า สันโดษ.
สันโดษ นั้นเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง กว่าทรัพย์ที่เหลือ ฯ
บาทพระคาถาว่า "วิสฺสาสปรมา ญาตี" ความว่า มารดาหรือบิดา จงยกไว้,ความคุ้นเคยไม่มีกับบุคคลใด คนนั้นไม่ใช่ญาติแท้,แต่ความคุ้นเคยมีกับบุคคลใดคนนั้น แม้ไม่เกี่ยวเนื่องกัน ก็ชื่อว่า ญาติอย่างยิ่ง คือ สูงสุด.เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า "วิสฺสาสปรมา ญาตี" ดังนี้
อนึ่ง ชื่อว่า สุข เช่นกับนิพพาน ไม่มี เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ" ดังนี้ฯในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุโสดาปัตติผล ดังนี้แลฯจบ เรื่อง พระเจ้าปเสนทิโกศลฯ
จาก คู่มือศึกษาธรรมเล่มที่ ๒"ธรรมบทสังคหะ"
เรียบเรียงโดย อาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์
ขออนุโมทนา
ขอเรียนถามว่า
เข้าสู่ห้องบ่อยๆ = เข้าสู่ห้องคือครรภ์มารดาบ่อยๆ
หมายถึงเกิดบ่อยๆ (ซึ่งก็คือตายบ่อยๆ ) ใช่หรือไม่ครับ
ขออนุโมทนา
คำว่า เข้าสู่ห้องบ่อยๆ โดยทั่วๆ ไปหมายถึง เข้าสู่ห้องนอน (หลับ) แต่ในบางแห่งอาจจะมีความอื่นอีกก็ได้ครับ
ขอบพระคุณครับ
ขอสงสัยต่อไปอีกหน่อยว่า ในคำแปลของพระคาถานี้ คำว่า ห้อง มาจาก ศัพท์ ว่า คพฺภ ใช่หรือไม่ครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จากพระสูตรนี้ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้มีการประชุมวิชาการเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยพิจารณาจากข้อความภาษาบาลี เป็นหลัก และได้แปลใหม่ ดังนี้ เอกสฺมึ หิ สมเย ราชา ตณฺฑุลโทณสฺส โอทนํ ตทุปิเยน สูปพฺยญฺชเนน ภุญฺชติ ฯ (ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระราชา ทรงเสวยข้าวสุก แห่งข้าวสารหนึ่งทะนานด้วยสูปะ (แกง) และพยัญชนะ (กับอื่นๆ นอกเหนือจากแกง) อันสมควรแก่ข้าวสุกนั้น) หมายความว่า ตอนแรก พระราชา เสวยข้าวสุก ที่ได้จากการหุงจากข้าวสารตวงได้หนึ่งทะนาน ......ฯลฯ.....
โส อปเรน สมเยน นาฬิโกทนปรมตาย สณฺฐหิตฺวา สุขปฺปตฺโต ตนุสรีโร อโหสิ ฯ (โดยสมัยอื่นอีก พระราชานั้น ทรงดำรงอยู่แล้ว ในความเป็นผู้มีข้าวสุกหนึ่งทะนานเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงซึ่งความสุข เป็นผู้มีพระสรีระเบา) หมายความว่า ตอนหลัง พระองค์ เสวยข้าวสุกหนึ่งทะนาน หมายถึงข้าวที่หุงแล้วได้ปริมาณหนึ่งทะนาน ถ้าพิจารณาจริงๆ ปริมาณย่อมลดลงจากแต่ก่อน เนื่องจากสำนวนการแปล อาจจะทำให้เข้าใจได้ยาก แต่เมื่อพิจารณาบ่อยๆ ก็จะเข้าใจได้ ครับ
สำหรับที่กล่าวว่า เข้าสู่ห้องบ่อยๆ คือ เมื่อง่วงนอน ย่อมเข้าไปนอนในห้องบ่อยๆ คำว่า ห้อง ในที่นี้ ท่านแปลมาจากคำว่า คพฺภ ตามที่คุณสุวิทย์ได้ยกมา ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
สาธุ