อยากเรียนถามว่าสัมมาทิฏฐิเกิดก่อนสัมมาสติใช่หรือเปล่าครับ ทั้งในระดับโลกียธรรม และโลกุตตรธรรม (ในสติปัฎฐาน 4)
ขอบพระคุณอย่างยิ่ง
เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ระลึกชอบ (สัมมาสติ) สภาพธรรมทั้งสองประเภทนี้เกิดขึ้นกระทำกิจพร้อมกัน คือ เกิดร่วมในขณะจิตเดียวกันทั้งโลกียะและโลกุตระ แต่บางขณะที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน อาจมีเพียงสติเกิดขึ้นแต่สัมมาทิฏฐิไม่เกิดร่วมก็ได้ ถ้าขณะที่เป็นสติปัฏฐาน ธรรมะทั้งสองและรวมถึงสัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสมาธิเกิดในขณะเดียวกัน
อยากเรียนถามว่าสัมมาทิฏฐิเกิดก่อนสัมมาสติใช่หรือเปล่าครับ ทั้งในระดับโลกียธรรมและโลกุตตรธรรม? สัมมาสติ องค์ธรรมคือ สติเจตสิก สัมมาทิฏฐิ องค์ธรรมคือ อโมหเจตสิก (ปัญญา)
สติ เกิดกับกุศลทุกระดับ ถ้ากุศลเกิดต้องมีสติเกิดร่วมด้วยปัญญา กุศลบางอย่างเกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติจะใช้กับกุศลระดับภาวนา คือ สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ขั้นทานและศีลไม่ได้ใช้ครับ ดังนั้น ถ้าในระดับภาวนาแล้ว (สมถและวิปัสสนา) จะต้องมีปัญญาเสมอ (สัมมาทิฏฐิ) และสัมมาสติด้วยซึ่งเกิดพร้อมกันครับ ทั้งโลกีย (สติ ปัฏฐาน) และโลกุตตร (มรรค) ดังนั้น จะเคยได้ยินคำว่า สติสัมปชัญญะ คู่กันเสมอ คำนี้ ก็หมายถึง สัมมาสติและสัมมาทิฏฐิ (สัมปชัญญะ) นั่นเอง แต่ใช้กับกุศลระดับภาวนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขณะที่สติปัฏฐานเกิดมีมรรค ๕ องค์ อย่างน้อย สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสติ เกิดพร้อมกัน
โลกียธรรมและโลกุตรธรรมแบ่งแยกกันอย่างไร
โลกุตรธรรม ได้แก่ ธรรม ๙ ประการ ได้แก่ มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ พระนิพพาน ๑ ธรรมที่เหลือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ เป็นโลกียธรรม สัมมาสติที่เกิดร่วมในขณะมรรคจิตและผลจิตเป็นสติขั้นโลกุตรธรรม
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ