๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์
โดย บ้านธัมมะ  15 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42076

[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒

๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์

สุตตนตภาชนีย์ หน้า 515

ประเภทวาระ ๕ หน้า 515

๑. สัจจวาระ หน้า 515

๒. เหตุวาระ หน้า 516

๓. ธรรมวาระ หน้า 516

๔. ปัจจยาการวาระ หน้า 517

๕. ปริยัตติธรรมวาระ หน้า 518

อภิธรรมภาชนีย์ หน้า 518

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ หน้า 519

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยรูปาวจรกุศลจิต หน้า 520

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอรูปาวจรกุศลจิต หน้า 521

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยโลกุตตรกุศลจิต หน้า 522

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอกุศลจิต ๑๒ หน้า 523

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ หน้า 524

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกามาวจรวิบากจิต ๘ หน้า 528

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยรูปาวจรวิบากจิต หน้า 529

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอรูปาวจรวิบากจิต หน้า 530

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยโลกุตตรวิบาก หน้า 531

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอกุศลวิบากจิต ๗ หน้า 532

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกิริยาจิต ๓ หน้า 533

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกิริยาจิต ๓ ประเภท หน้า 535

ปัญหาปุจฉกะ หน้า 537

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา หน้า 537

ติกมาติกาวิสัชนา หน้า 537

ทุกมาติกาวิสัชนา หน้า 539

๑ - ๒. เหตุโคจฉกวิสัชนาและจูฬันตรทุกวิสัชนา หน้า 539

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา หน้า 540

๔ - ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา หน้า 540

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา หน้า 540

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์ หน้า 541

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ หน้า 541

อธิบายคําว่า อัตถะ หน้า 542

อธิบายคําว่า ธัมมะ หน้า 543

อธิบายคําว่า ธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ) หน้า 544

ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตว์โลก หน้า 545

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ หน้า 552

ปฏิสัมภิทา ๓ (เว้นธัมมะ) หน้า 552

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ หน้า 557


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 515

๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๗๗๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปเภทวาระ ๕

๑. สัจจวาระ

[๗๗๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสีมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกขสมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธ ชื่อว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 516

อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

๒. เหตุวาระ

[๗๗๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในผลของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณสัมภิทา.

๓. ธรรมวาระ

[๗๘๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ธรรม


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 517

เหล่านั้น เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้วปรากฏแล้ว ด้วยธรรมเหล่าใด ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

๔. ปัจจยาการวาระ

[๗๘๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในชรามรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในเหตุเกิดแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในความดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

[๗๘๒] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 518

ความรู้แตกฉานในชาติ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในภพ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้แตกฉานในตัณหา ฯลฯ ความรู้แตกฉานในเวทนา ฯลฯ ความรู้แตกฉานในผัสสะ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในนามรูป ฯลฯ ความรู้แตกฉานในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในเหตุเกิดแห่งสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในความดับแห่งสังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งสังขารชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

๕. ปริยัตติธรรมวาระ

[๗๘๓] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมรู้แตกฉานซึ่งธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นย่อมรู้แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

สุตตันตภาชนีย์ จบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 519

อภิธรรมภาชนีย์

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘

[๗๘๔] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 520

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยรูปาวจรกุศลจิต

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 521

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉาน ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอรูปาวจรกุศลจิต

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา และเพราะละสุขเสียได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่า นั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 522

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยโลกุตตรกุศลจิต

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรม เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานใน อันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉาน ในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 523

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอกุศลจิต ๑๒

[๗๘๕] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้ แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบาก แห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้น ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 524

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิตสหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิตสหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกุศลวิบากจิต ๘

[๗๘๖] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 525

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรม เหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 526

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนธาตุ (๑) อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.


๑. สัมปฏิจฉันนกุศลวิบากจิต ๑


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 527

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ (๑) อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้ส่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ (๒) อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเขกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะ


(๑) โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากจิต ๑ (๒) อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต ๑


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 528

กามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกามาวจรวิบากจิต ๘

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนวิญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 529

เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยรูปาวจรวิบากจิต

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจร


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 530

กุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอรูปาวจรวิบากจิต

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข และเพราะละทุกข์และสุขเสียได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ในสมัยนั้น


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 531

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยโลกุตตรวิบาก

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมณาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ใน สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ. ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ควานรู้แตกฉานในอันกล่าว


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 532

ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอกุศลวิบากจิต ๗

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 533

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนธาตุ (๑) อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ (๒) อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญานใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกิริยาจิต ๓

[๗๘๗] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


(๑) สัมปฏิจฉันนอกศลวิบากจิต ๑ (๒) อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากจิต ๑.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 534

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนธาตุ (๑) อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าว ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ ทั้งหลายนั้นชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ (๒) อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ (๓) อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา


(๑) ปัญจทวาราวัชชนจิต

(๒) หสิตุปปาทจิต

(๓) มโนทวาราวัชชนะจิต


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 535

แห่งจิต วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือ นามมรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้น แม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกิริยาจิต ๓ (๑) ประเภท

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเขกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต ด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ ย่อมเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ ย่อมเจริญ


(๑) มหากิริยาจิต ๘, รูปาวจรกิริยาจิต ๕, อรูปาวจลกิริยาจิต ๔.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 536

อรูปาวจรฌาน อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรม เหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

[๗๘๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทา ๓ ย่อมเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกิริยา ๔ ดวง อัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเกิดในจิตตุปบาทเหล่านั้นด้วยย่อมเกิดในมรรค ๔ ผล ๔ ด้วย.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 537

ปัญหาปุจฉกะ

[๗๘๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ติกมาติกาปุจฉา - ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๗๙๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 538

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสวิตักกสวิจาระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นเนวเสกขานาเสกขะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริตตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นปริตตารัมมณะ, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นมัชฌิมะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนิยตะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ, อัตถปฏิสัมภิทา ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะก็มี แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี, ปฏิสัมภิทา ๒ เป็นมัคคารัมมณะ แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 539

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ, ปฏิสัมภิทา ๒ เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นพหิทธารัมมณะ, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑,๒. เหตุโคจฉกวิสัชนาและจูฬันตรทุกวิสัชนา

[๗๙๑] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุ เป็นสเหตุกะ เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ เป็นอรูป, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกิยะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็น โลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี, ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 540

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๗๙๒] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนอาสวะ, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสาสวะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอาสววิปปยุต, ปฏิสัมภิทา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็นสาสวโนอาสวะ, อัตถปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็นสาสวโนอาสวะก็มี, กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

[๗๙๓] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นสารัมมณะ เป็นโนจิตตะ เป็นเจตสิกะ เป็นจิตตสัมปยุต เป็นจิตตสังสัฏฐะ เป็นจิตตสมุฏฐานะ เป็นจิตตสหภู เป็นจิตตานุปริวัตติ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นพาหิระ เป็นโนอุปาทา เป็นอนุปาทินนะ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๗๙๔] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสวิตักกะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี,


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 541

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสวิจาระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี, ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นกามาวจร, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริยาปันนะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนิยยานิกะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนิยตะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสอุตตระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี, ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป

คำว่า จตฺตาโร (๔) เป็นคำกำหนดจำนวน.

คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน. อธิบายว่า ก็เพราะข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ าณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลยนอกจากเป็นการแตก


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 542

ฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์ เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ ๔ นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ดังนี้ ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา) อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้. จริงอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติ ต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ (คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลันทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลายตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ าณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ (ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา).

อธิบายคำว่า อัตถะ

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของเหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ). จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือ ปราศจากกิเลส) พึงถึง พึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อัตถะ. เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านั้น คือ


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 543

๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย

๒. พระนิพพาน

๓. อรรถแห่งภาษิต

๔. วิบาก

๕. กิริยา

เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้นๆ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

อธิบายคำว่า ธัมมะ

คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย. จริงอยู่ เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้นๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่าได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ

๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น

๒. อริยมรรค

๓. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)

๔. กุศล

๕. อกุศล

เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 544

อธิบายคำว่า ธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ)

พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.

สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นใน เพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า มีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่. จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ดังนี้ ก็ย่อมรู้ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้. แม้ใน เวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ.

ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้นย่อมรู้ หรือย่อมไม่รู้ซึ่งเสียงแห่งพยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่นๆ

ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้นดังนี้. แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า นี้ไม่ใช่กิจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้ว ได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า

ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่า ติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่งทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือ หมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาต ให้ภิกษุขอฟังภาษาต่างๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า ในบรรดาภาษา ๑๘ อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน ดังนี้ ก็คำปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ใน-


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 545

ปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา. ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้วๆ ท่านก็เรียนเอาภาษานั้นๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่านจึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.

ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตว์โลก

ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนกาษา ดังนี้ จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อยนอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้นๆ เด็กทั้งหลายย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไปๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็นชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจักพูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว (พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตามธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.

ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง คือ

๑. ในนิรยะ (นรก)

๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน

๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)

๔. ในมนุษย์โลก

๕. ในเทวโลก


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 546

ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่าง นอกจากภาษาของชนชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือ เป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะ ตามความเป็นจริง ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.

จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิศดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้วนั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชนเพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้นแม้มาก ย่อมไม่มี. พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.

คำว่า าเณสุ ฌาณํ (ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่ เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้แตกฉาน ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง.


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 547

ถามว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ ๒ เป็นไฉน?

ตอบว่า ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิ และอเสกขภูมิ.

ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึง ประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของ พระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระ เป็นต้น. ปฏิสัมภิทาของผู้ถึงเสกขภูมิ คือ ของพระอานันทเถระ ของจิตตคหบดี ของธัมมิกอุบาสก ของอุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกา เป็นต้น ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ เป็นไฉน?

ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วยปุพพโยคะ.

ในเหตุ ๕ เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่า อธิคมะ จริงอยู่ เมื่อ บรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. พระพุทธพจน์ ชื่อว่า ปริยัติ จริงอยู่เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. การฟังพระธรรม ชื่อว่า สวนะ จริงอยู่ เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. อรรถกถา ชื่อว่า ปริปุจฉา จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตนเรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. ความเป็นพระ โยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่า


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 548

ปุพพโยคะ. จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทาทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.

บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น พึงทราบปฏิสัมภิทาทั้งหลายของพระติสสเถระ ผู้เป็นบุตรแห่งกุฎุมภีชื่อปุนัพพสุ ได้เป็นธรรมบริสุทธิ์แล้วด้วยการบรรลุพระอรหัต ดังนี้.

ได้ยินว่า พระติสสเถระนั้นเรียนพระพุทธพจน์ในตัมพปัณณิทวีป (คือในเกาะของชนผู้มีฝ่ามือแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลังกาทวีป) แล้วไปสู่ฝั่งอื่นเรียนเอาพระพุทธพจน์ในสำนักของพระธัมมรักขิตเถระชาวโยนก เสร็จจากการเรียนก็เดินทางมาถึงท่าเป็นที่ขึ้นเรือ เกิดความสงสัยในพระพุทธพจน์บทหนึ่ง จึงเดินทางกลับมาสู่ทางเดิมอีกประมาณ ๑๐๐ โยชน์ เมื่อไปสู่สำนักของอาจารย์ ในระหว่างทางได้แก้ปัญหาแก่กุฎุมภีคนหนึ่ง กุฎุมภีผู้นั้นมีความเลื่อมใสได้ถวายผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่ง พระติสสเถระนั้นนำผ้ามาถวายอาจารย์ อาจารย์ของพระเถระนั้นทำลายผ้าซึ่งมีราคาถึงแสนหนึ่งนั้นด้วยมีด แล้วให้ทำเป็นของใช้ในที่เป็นที่สำหรับนั่ง.

ถามว่า การที่อาจารย์ทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร?

ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนผู้เกิดมาในภายหลัง. ได้ยินว่า อาจารย์นั้นมีปริวิตกว่า ในอนาคตกาล เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจักสำคัญถึงการปฏิบัติอันตนให้บริบูรณ์แล้ว โดยการพิจารณาถึงมรรคอันพวกเราบรรลุแล้ว (หาใช่มีความกังวลอย่างอื่นไม่). แม้พระติสสเถระก็ตัดความสงสัยได้ในสำนักของอาจารย์แล้วจึงไป ท่านก้าวลงที่ท่าแห่งเมืองชื่อ ชัมพุโกล ถึงวิหารชื่อว่า วาลิกะ ในเวลาเป็นที่ปัดกวาดลานพระเจดีย์ ท่านก็ปัดกวาดลานพระเจดีย์. พระเถระทั้งหลายเห็นที่เป็นที่อันพระติสสเถระนั้นปัดกวาดแล้ว จึงคิดว่า


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 549

ที่นี้เป็นที่ปัดกวาดอันภิกษุผู้มีราคะไปปราศแล้วทำการปัดกวาด แต่เพื่อต้องการทดลอง จึงถามปัญหาต่างๆ พระติสสเถระนั้นก็กล่าวแก้ปัญหาอันภิกษุเหล่านั้นถามแล้วทุกข้อ เพราะความที่ตนเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้.

ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระ และของพระนาคเสนเถระ ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยปริยัติ. ปฏิสัมภิทาของสามเณรชื่อ สุธรรม ได้บริสุทธิ์ แล้วด้วยการฟังธรรมโดยเคารพ.

ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระธัมมทินนเถระผู้อยู่ในตฬังครวาสี ในขณะที่ปลงผมเสร็จก็บรรลุพระอรหัต เมื่อท่านกำลังนั่งฟังธรรมในโรงวินิจฉัยธรรมของพระเถระผู้เป็นลุงนั่นแหละ ได้เป็นผู้ชำนาญพระไตรปิฎกแล้ว.

ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระผู้กล่าวอรรถ (ปริปุจฉา) ด้วยพระบาลีอันตนเรียนมา ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว. อนึ่ง พระโยคาวจรในปางก่อน บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร (วัตรคือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา) แล้วขวนขวายกรรมฐานอันเหมาะสม มีปฏิสัมภิทาอันถึงความบริสุทธิ์แล้วมิได้สิ้นสุด (มีมากมาย).

ก็บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ สวนะ ปริปุจฉา เป็นเหตุ (เครื่องกระทำ) ที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน. ปุพพโยคะเป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง) แก่อธิคม (การบรรลุพระอรหัต).

ถามว่า ปุพพโยคะ เป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน หรือไม่?


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 550

ตอบว่า เป็น แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะปริยัติคือพระพุทธพจน์ สวนะคือการฟังธรรม ปริปุจฉาคือการสอบถามอรรถธรรมในกาลก่อน จะมีหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยปุพพโยคะแล้ว เว้นจากการพิจารณาสังขารทั้งหลายในกาลก่อนด้วย ในกาลปัจจุบันด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลายชื่อว่า หามีได้ไม่ อนึ่ง ปุพพโยคะในกาลก่อนและในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อรวมกันเข้า มาสนับสนุนแล้ว ย่อมทำปฏิสัมภิทาให้บริสุทธิ์.

วรรณนาสังคหวาระ (๑) จบ

บัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดยนัยแห่งการแสดงประเภทแห่งการสงเคราะห์ อรรถและธรรมทั้ง ๕ วาระเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในสังคหวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มปเภทวาระ (คือวาระที่มีชนิดต่างกัน) โดยนัยเป็นต้นว่า จตสฺโส (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๔) ดังนี้อีก. วาระนั้นมี ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่งสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ ปริยัตติวาระ.

ในวาระเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สัจจวาระ ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่พระนิพพานเป็นธรรมที่บรรลุได้ด้วยปัจจัยแห่งทุกข์ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นว่าเป็น อัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่อริยมรรค อันนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นเหตุ อันยังผลให้เกิดขึ้นว่า เป็น ธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา).

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เหตุวาระ (๒) ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่เหตุทั้งหลายอันยังผลให้เกิดอันใดอันหนึ่งว่าเป็น ธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) และเพื่อ


(๑) สังคหวาระ หมายถึงวาระที่กล่าวรวมกัน

(๒) เหตุวาระ ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถ.. ธัมม.. นิรุตติ.. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระภาคเจ้าอธิบายธัมมะ (เหตุ) ก่อน อัตถะ.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 551

แสดงถึงความที่ผลของเหตุว่าเป็น อัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา). ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงก่อน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบอันว่าด้วยลำดับแห่งเหตุและผลที่ทรงตั้งไว้.

อนึ่ง ธรรมเหล่าใดอันต่างด้วยรูปและอรูปธรรม (ขันธ์ ๕) อันเกิดขึ้นแล้วมีแล้วจากเหตุนั้นๆ เพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่าเป็น อัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงซึ่งความที่เหตุอันเกิดขึ้นแห่งรูปและอรูปธรรมนั้นๆ ว่าเป็น ธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ธัมมวาระ ไว้.

ก็เพื่อแสดงซึ่งธรรมมีชราและมรณะเป็นต้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และซึ่งความที่ธรรม คือ ชาติ (การเกิด) กล่าวคือเหตุเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ปัจจยาการวาระ.

ลำดับนั้น เพื่อแสดงซึ่งภาษิตนั้นๆ กล่าวคือพระปริยัติ และซึ่งความที่อรรถแห่งภาษิตที่พึงบรรลุได้ด้วยปัจจัยกล่าวคือภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปริยัตติวาระ ในข้อนี้ อรรถแห่งภาษิตนั้นที่จะรู้ได้ย่อมรู้ได้ด้วยภาษิต ฉะนั้น พระองค์จึงทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงแสดงก่อนอัตถปฏิสัมภิทา โดยมิได้แสดงไปตามลำดับแห่งเนื้อความภาษิตที่พระองค์ตรัสไว้.

อนึ่ง เพื่อแสดงประเภทแห่งพระปริยัติธรรมว่า ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้นธัมมปฏิสัมภิทาเป็นไฉน. จึงตรัส ปฏิสัมภิทา (คือ วาระที่วกกลับมาชี้แจง) เป็นคำถามเป็นประธาน. ในวาระที่วกกลับมาชี้แจงนั้น ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดโดยไม่เหลือ ด้วยองค์ ๙ (๑) ซึ่งมีคำว่า สุตตะเป็นต้นว่า เป็นธัมมปฏิสัมภิทา ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดสิ้นเชิง โดยการแสดง


(๑) องค์ ๙ คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 552

มิให้เหลือ ด้วยสามารถแห่งภาษิตในที่แม้นี้ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ ดังนี้ว่า เป็นอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้แล.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ปฏิสัมภทา ๓ คือ ธัมมะ นิรุตติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นโลกียะ. อัตถปฏิสัมภิทาเป็นมิสสกะ คือเป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี. จริงอยู่ อัตถปฏิสัมภิทานั้นเป็นโลกุตตระด้วยสามารถแห่งญาณในมรรคและผลอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

ในอภิธรรมภาชนีย์ พระองค์ทรงจำแนกปฏิสัมภิทาเหล่านั้นโดยวาระทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ในวาระเหล่านั้น กุศลจิตมีประมาณเท่าไร พระองค์ทรงจำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาอย่างละ ๔ ในจิตตนิทเทสหนึ่งๆ พระองค์ทรงจำแนกไว้แล้วด้วยสามารถแห่งกุศลจิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมดมีประมาณเท่านั้น. แม้ในอกุศลจิตทั้งหลาย ก็นัยนี้แหละ.

ปฏิสัมภิทา ๓ (เว้นธัมมปฏิสัมภิทา) (๑)

ในวาระว่าด้วยวิบากและกิริยา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเว้นธัมมปฏิสัมภิทาเสีย เพราะความที่วิบากและกิริยาทั้งหลายทรงสงเคราะห์ด้วยอัตถปฏิสัมภิทา (๒).ในวิปากจิตก็ดี ในกิริยาจิตก็ดี แต่ละอย่างทรงจำแนกปฏิสัมภิทาไว้อย่างละ ๓ เท่านั้น.


(๑) ธัมมะ ได้แก่ กามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต โลกุตตรจิต และอกุศลจิต

(๒) อัตถะ ได้แก่ อเหตุกกุศลวิปากจิต กามาวจรวิปากจิต รูปาวจรวิปากจิต อรูปาวจรวิปากจิต โลกุตตรวิปากจิต และอกุศลวิปากจิต.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 553

พระบาลีพระองค์ทรงแสดงย่อไว้เพียงแต่หัวข้อเท่านั้น. ปฏิสัมภิทา ๓ เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งความพิสดารอันมาแล้วในหนหลังแล

ถามว่า ก็ในวาระว่าด้วยกุศลและอกุศลทั้งหลาย พระองค์ตรัสว่า "ญาณ (ความรู้แตกฉาน) ในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา" ในวาระว่าด้วยวิบากและกิริยานี้ ไม่ตรัสอย่างนี้ว่า "ญาณ (ความรู้แตกฉาน) ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา" เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะพระองค์ตรัสไว้แล้วในหนหลัง (๑)

หากจะมีผู้ท้วงว่า แม้อัตถปฏิสัมภิทานี้ก็ไม่พึงกล่าวในที่นี้ เพราะพระองค์ตรัสไว้ในหนหลังแล้วว่า ญาณ (ความรู้แตกฉาน) ในวิบากของธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้.

ควรตอบว่า ที่จริงไม่ควรกล่าวเสียเลยก็หาไม่.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะความที่อัตถปฏิสัมภิทานี้ พระองค์ไม่ตรัสด้วยสามารถแห่งจิตตุปปาทของวิบากและกิริยา. ส่วนในวาระว่าด้วยกิริยา พระองค์ทรงจำแนกปฏิสัมภิทาไว้อย่างละ ๓ เท่านั้น ในวาระแม้ทั้งสองเหล่านี้ คำว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกิริยาของธรรมเหล่าใด ดังนี้ ไม่สมควร. บรรดาคำเหล่านั้น บัญญัติอย่างนี้ว่า ผัสสะนี้ เวทนานี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยนัยว่า ยาย นิรุตฺติยา เตสํ ธมฺมานํ ปญฺตฺติ โหติ เป็นต้น (บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด). ในคำเหล่านั้น คำว่า ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป าณํ (ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตติ) ได้แก่ ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตติ คือสภาวบัญญัตินั้น อันเป็นไปในอรรถและในธรรมนั้น. แม้ในข้อนี้ พระองค์ก็ตรัสว่าญาณอันเกิดขึ้นแล้วกระทำอภิลาปสัททะ (เสียงในการ


(๑ ตรัสไว้แล้วในวาระว่าด้วยกุศลและอกุศลคือ ตรัสว่า ความรู้แตกฉานในกุศลหรืออกุศลอันให้เกิดวิบาก ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ในวาระนี้จึงตรัสเฉพาะตัววิบากอันเป็น อัตถปฏิสัมภิทา)


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 554

กล่าว) ให้เป็นอารมณ์. คำว่า เยน าเฌน ได้แก่ ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทาใด. คำว่า ตานิ าณานิ ชานาติ ได้แก่ ย่อมรู้ซึ่งญาณใน ปฏิสัมภิทา ๓ นอกจากนี้.

บัดนี้ เพื่อแสดงซึ่งความเป็นไปในญาณทั้งหลายที่รู้ซึ่งญาณใด โดยประการใดเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิมานิ าณานิ อิทมตฺถโชตกานิ ดังนี้ (ญาณเหล่านี้ ส่องเนื้อความนี้). บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิทมตฺถโชตกานิ (ส่องเนื้อความนี้) ได้แก่ ส่อง คือประกาศ ซึ่งเนื้อความนี้. อธิบายว่า ญาณ ๓ เหล่านี้ ย่อมส่อง ย่อมประกาศ ย่อมกำหนดซึ่งเนื้อความชื่อนี้. คำว่า อิติ าเณสุ าณํ (ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย โดยอาการอย่างนี้) ได้แก่ ความรู้ในญาณทั้ง ๓ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ย่อมรู้ซึ่งกิจของปฏิสัมภิทาทั้งหลายเหล่านี้ว่า นี้เป็นกิจของปฏิสัมภิทานี้ และนี้เป็นกิจของปฏิสัมภิทานี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ตัวเองก็ย่อมไม่อาจเพื่อกระทำกิจ (คือทำหน้าที่) ของปฏิสัมภิทาเหล่านั้นได้ เปรียบเหมือน พระธรรมกถึกผู้เป็นพหูสูต ย่อมไม่อาจเพื่อกระทำกิจของพระธรรมกถึกผู้เป็นอัปปสูต (ผู้มีสุตะน้อย) ได้.

ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่งเป็นพหูสูต รูปหนึ่งเป็นอัปปสูต. ภิกษุทั้งสองรูปนั้นเรียนการบอกธรรมอย่างหนึ่งด้วยกัน. ในสองรูปนั้นผู้มีสุตะน้อยได้เป็นผู้มีเสียงไพเราะ ส่วนรูปที่เป็นพหูสูตมีเสียงเบา (ไม่ไพเราะ) ในสองรูปนั้น ภิกษุผู้อัปปสูตยังบริษัททั้งสิ้นให้หวั่นไหว (คือให้ติดใจ) ด้วยสมบัติคือ


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 555

เสียงของตนในสถานที่ตนไปแล้วๆ แล้วจึงแสดงธรรม. มหาชนฟังธรรมของท่านอยู่ต่างก็มีจิตร่าเริงยินดีกล่าวว่า รูปนั้นกล่าวธรรม เห็นจะเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกรูปหนึ่ง. แต่ภิกษุพหูสูตกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจักทราบได้ในเวลาฟังธรรมว่า ภิกษุรูปนี้ทรงพระไตรปิฎกหรือไม่. ภิกษุผู้พหูสูตนั้นถึงจะกล่าวอย่างนี้ แต่เธอก็ไม่สามารถยังบริษัททั้งสิ้นให้หวั่นไหวแล้วแสดงธรรมเช่นนั้นได้ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะความที่ภิกษุพหูสูตไม่มีความสามารถในการแสดง. บัณฑิตพึงทราบว่า ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ย่อมรู้ซึ่งกิจของปฏิสัมภิทา ๓ นอกจากนี้ เหมือนภิกษุพหูสูตรู้อยู่ซึ่งกิจการงานของภิกษุผู้เป็นอัปปสูต แต่ตัวเอง (ปฏิภาณปฏิสัมภิทา) ไม่สามารถเพื่อกระทำกิจนั้นได้ ดังนี้.

ในกาลบัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นของกุศลจิตเป็นต้นแล้วแสดงเขตอันเป็นฐานแห่งการเกิดขึ้นของปฏิสัมภิทาเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า จตสฺโส ปฏิสมฺภิทา (ปฏิสัมภิทา ๔) เป็นต้นอีก. บรรดาปฏิสัมภิทาเหล่านั้น คำว่า ติสฺโส ปฏิสมฺภิทา กามาวจรกุสลโต จตูสุ าณสมฺปยุตฺตจิตฺเตสุ (ปฏิสัมภิทา ๓ เกิดในจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกามาวจรกุศล) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยสามารถแห่งพระเสกขะทั้งหลาย.

จริงอยู่ ธัมมปฏิสัมภิทา กระทำธรรมมีประการ ๕ อย่าง (มีสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ และปริยัตติวาระ) ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังในเวลาพิจารณาธรรม (คือ เหตุ) แม้แห่งธรรมเหล่านั้นให้เป็นอารมณ์ แล้วเกิดขึ้นในกุศลจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ๔. โดยทำนองเดียวกัน นิรุตติปฏิสัมภิทากระทำเสียงในเวลาพิจารณานิรุตติให้เป็นอารมณ์แล้วเกิดขึ้น. ปฏิภาณปฏิสัมภิทากระทำญาณ (ความรู้) ในญาณในที่ทั้งปวงในเวลาพิจารณาญาณ ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 556

ส่วนคำว่า กิริยโต จตูสุ (ฝ่ายกิริยา ๔ ดวง) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยสามารถแห่งพระอเสกขบุคคล. จริงอยู่ ธัมมปฏิสัมภิทา กระทำธรรม ๕ ประการ ตามที่กล่าวแล้วในหนหลังในเวลาพิจารณาธรรม (คือเหตุ) แห่งธรรมเหล่านั้น ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกิริยาจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ๔. โดยทำนองเดียวกัน นิรุตติปฏิสัมภิทา กระทำเสียงในเวลาพิจารณานิรุตติ ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้น. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา กระทำญาณในที่ทั้งปวง ในเวลาพิจารณาญาณ ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

แต่ข้อว่า "อตฺถปฏิสมฺภิทา เอเตสุ เจว อุปฺปชฺชติ" (อัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้ด้วย ย่อมเกิดในมรรค ๔ และ ผล ๔ ด้วย) นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่งพระเสกขะ และพระอเสกขะ.

จริงอย่างนั้น อัตถปฏิสัมภิทานี้ กระทำอรรถมีประเภทตามที่กล่าวแล้วในหนหลังในเวลาพิจารณาอรรถของพระเสกขะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์แล้ว เกิดในกุศลจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ๔ ทั้งเกิดในมรรคในผล ในเวลาแห่งมรรคและผลด้วย. ก็ปฏิสัมภิทานี้กระทำอรรถมีประเภทดังกล่าวแล้วในหนหลัง ในเวลาพิจารณาอรรถของพระอเสกขะให้เป็นอารมณ์ ย่อมเกิดขึ้นในกิริยาจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ๔.

อนึ่ง ปฏิสัมภิทาเหล่านี้ เมื่อเกิดแก่พระเสกขะและพระอเสกขะ ย่อมเกิดในภูมิเหล่านี้ (ภูมิ ๔) ในกาลแห่งผล คือในสามัญญผล อันตั้งอยู่ในเบื้องบน อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงนัยนี้ไว้เพื่อแสดงถึงภูมิ ดังพรรณนามาฉะนี้.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 557

วรรณนาปัญหาปุจฉะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบ ความที่ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นกุศล เป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั้นแหละ. ก็แต่ในอารัมมณติกะทั้งหลาย นิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ เพราะทำเสียงเท่านั้นให้เป็นอารมณ์.

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาซึ่งอรรถกล่าวคือ กามาวจรวิบากและกิริยา และสภาวะอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย. เมื่อพิจารณาอรรถแห่งรูปาวจรและอรูปาวจร มีประเภทตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์และอรรถคือโลกุตตรวิบาก ชื่อว่า เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาซึ่งกามาวจรกุศล อกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย. เมื่อพิจารณากุศลธรรมอันเป็นรูปาวจร อรูปาวจร และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นโลกุตตรกุศลและธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกามาวจรกุศล วิบากและกิริยา. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล วิบาก และกิริยาอันเป็นรูปาวจร อรูปาวจร รู้อยู่ซึ่งอารมณ์ทั้งหลายของธรรมเหล่านั้น เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล และวิบาก อันเป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรคมีวิริยะเป็นหัวหน้า. ไม่พึงกล่าวว่า เป็น


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 558

มัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรคอันมีฉันทะ จิตตะเป็นหัวหน้า. แม้ในกาลแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวนั่นแหละ.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณามรรค. เมื่อพิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุํ) เป็นมัคคาธิปติ ด้วยสามารถแห่งอารัมมณาธิปติ.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณในมรรค. เมื่อพิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุํ) เป็นมัคคาธิปติ. เป็นนวัตตัพพารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณที่เหลือ.

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เพราะทำเสียงอันเป็นปัจจุบันนั่นแหละให้เป็นอารมณ์.

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะ เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งอรรถแห่งวิบาก อรรถแห่งกิริยา และอรรถอันอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อันเป็นอดีต. เป็นอนาคตารัมมณะ เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งอรรถเหล่านั้นในอนาคต. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เมื่อพิจารณาอรรถอันเป็นปัจจุบัน. เป็นนวัตตัพพารัมมณะ เมื่อพิจารณาปรมัตถ์คือพระนิพพาน.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะ เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งกุศล อกุศล และปัจจัยธรรม อันเป็นอดีต. เป็นอนาคตารัมมณะ เมื่อพิจารณาธรรมเหล่านั้นในอนาคต. เป็นปัจจุปันนารัมมณะ เมื่อพิจารณาในปัจจุปบันอยู่.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะ เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งกุศลญาณ วิปากญาณ กิริยาญาณ อันเป็นอดีต. เป็นอนาคตารัมมณะ เมื่อพิจารณาในอนาคต. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เมื่อพิจารณาในปัจจุบัน.

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นพหิทธารัมมณะ เพราะมีเสียงเป็นอารมณ์.

ในปฏิสัมภิทา ๓ นอกนี้ คือ


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 559

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งอรรถแห่งวิบาก อรรถแห่งกิริยา และอรรถอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย. เป็นพหิทธารัมมณะ เมื่อพิจารณาในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เมื่อพิจารณาทั้งในภายในทั้งในภายนอก. เป็นพหิทธารัมมณะเท่านั้น เมื่อพิจารณาปรมัตถ์คือพระนิพพาน.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะ ในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศลและอกุศลในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะ ในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศล อกุศลในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศลและอกุศลทั้งในภายในทั้งในภายนอก.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณอันเป็นกุศล วิบาก กิริยาในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณในกุศล วิบาก กิริยาในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณในกุศล วิบาก กิริยาทั้งในภายในทั้งในภายนอก ดังนี้.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกียะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นโลกุตตระ. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสนัยแม้ทั้ง ๓ (คือ นัยแห่งสุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) ไว้เป็นปริจเฉทเดียวกัน เพราะความที่ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น เป็นมิสสกะ คือ เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. ในนัยแม้ทั้ง ๓ ทั้งหมดนี้ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกียะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นโลกุตตระ. แม้ปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนำออก จำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังคนิทเทส จบ