ข้อความบางตอนจาการสนทนาธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์..
สราคจิตคือจิตที่มีราคะ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในจิตตานุปัสสนา สราคจิตมีอยู่เป็นประจำตลอดทั้งวัน แต่ไม่ระลึกรู้ ก็หลงเข้าใจผิดว่าเป๋นสัตว์ บุคคล ถ้าสติระลึกรู้ก็ค่อยๆ รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล เป็นแต่เพียงนามธรรมชนิดหนึ่ง แล้วถ้าสติระลึกจะรู้จิตนี้ แต่ถ้าระลึกแล้วไม่รู้จิตนี้ เป็นอันว่ายังไม่ได้ระลึก ลักษณะของสภาพธรรมคือ โลภมูลจิต เป็นจิตที่ติดข้อง ต้องการ ยินดีพอใจ ประกอบกับความเห็นผิด หรือไม่ประกอบกับความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง หรือจิตที่ไม่มีกำลังอบรมสติระลึกสราคจิต เพราะมีอยู่เป็นส่วนมากตลอดวัน เพียงเข้าใจและใส่ใจระลึกเนืองๆ บ่อยๆ จนรู้ สราคจิต ต่อไปก็จะรู้จิตอื่นที่ต่างกับโลภมูลจิต ด้วยเพียรอบรมไปเรื่อยๆ พร้อมด้วยความเข้าใจ
สราคจิตคือจิตที่มีราคะ เป็นจิตที่ติดข้องในกาม เป็นเวมัตตตาของโลภะ ถึงแม้ว่าจิตที่ติดข้องในกามจะมีอยู่เป็นส่วนมากตลอดวัน ก็ไม่ใช่ว่าสติจะระลึกได้บ่อยๆ เนืองๆ ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรม โดยมีสัมมัปประธานเป็นส่วนนำ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยที่เดียว จึงมีผัสสะ เวทนา ตัณหา ฯลฯท่านคิดว่า สราคจิต เกิดที่อายตนะใดเป็นส่วนมากครับ?
(ผมคิดว่าสราคจิตเกิดที่จักขายตนะเป็นส่วนมาก เพราะความมีรูปที่เห็นได้และกระทบได้เป็นอารมณ์ และเพราะเหตุนี้จึงทรงแสดงจักขายตนะก่อน)
อายตนะทั้งหก เป็นทวารให้จิตเกิด ทั้งกุศลและอกุศล ไม่มีอายตนะใดเป็นส่วนมากหรือส่วนน้อย เช่นคนตาบอด อารมณ์ที่จะเกิดกับจักขายตนะจะไม่มีเลย
คนตาบอดเป็นผู้ตาบอด แม้ในแสนโกฏิกัปป์ที่ผ่านมา และในแสนอีกโกฏิกัปป์ หรือท่านธรรมที่เห็นได้ กระทบได้มีอยู่ ธรรมที่เห็นไม่ได้ กระทบได้ มีอยู่รูปที่ชอบ แลดูอีกได้ เสียงที่เพราะ ไม่อาจฟังอีกได้ ฯลฯ มิใช่หรือ?
สราคจิตนั้นเป็น จิตที่มีโลภะเกิดร่วมด้วย โลภะหรือตัณหานั้นเป็นตัณหาประเภทใดครับ ภวตัณหา, วิภวตัณหา หรือกามตัณหาครับ หรือทั้งหมดครับ
ขอขอบพระคุณครับ
เรียนความเห็นที่ ๕
สราคจิต จิตที่มีโลภะเกิดร่วมด้วย โลถะเจตสิกเป็นตัณหาทั้ง ๓ ประเภท แต่วิภวตัณหาท่านจะหมายถึงโลภะที่เกิดพร้อมกับความเห็นผิดครับ
ขออนุโมทนาครับ