พระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 521
เอกาทสกนิบาต
นิสสายวรรคที่ ๑
๙. อเสขสูตร
การเพ่งของม้าอาชาไนย และม้ากระจอก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 521
๙. อเสขสูตร
การเพ่งของม้าอาชาไนย และม้ากระจอก
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อิญชกาวสถาคาร (๑) ในนาทิกคาม ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระสันธะว่า ดูก่อนสันธะ เธอจงเพ่งแบบการเพ่งของม้าอาชาไนย อย่าเพ่งแบบการเพ่งของม้ากระจอก ดูก่อนสันธะ ก็การเพ่งของม้ากระจอกย่อมมีอย่างไร ดูก่อนสันธะ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่าข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอกที่เขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้
(๑) โดยมากเป็น คิญชกาวสถาคาร.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 522
เราทำเหตุอะไรหนอแล เราจักทำอะไรตอบแก่เขา ดังนี้ ม้ากระจอกนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่าข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ฉันใด ดูก่อนสันธะ บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างเปล่าก็ดี มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุมแล้ว ถูกกามราคะครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุรุษกระจอกนั้น ทำกามราคะนั่นแหละในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้ว ฯลฯ มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว อันถีนมิทธะครอบงำแล้ว ฯลฯ มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำแล้ว ฯลฯ มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุรุษกระจอกนั้น ทำวิจิกิจฉานั่นแหละในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ บุรุษกระจอกนั้น ย่อมอาศัยปฐวีธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอาโปธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยเตโชธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวาโยธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกหน้าเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ เพ่งบ้าง ดูก่อนสันธะ การเพ่งของบุรุษกระจอกย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 523
ดูก่อนสันธะ ก็การเพ่งของม้าอาชาไนยย่อมมีอย่างไร ดูก่อนสันธะ ธรรมดาม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่าข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่เจริญถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้า จักให้เราทำเหตุอะไรหนอแล เราจะกระทำอะไรตอบเขา ดังนี้ ม้าอาชาไนยนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่าข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ดูก่อนสันธะ ด้วยว่าม้าอาชาไนยที่เจริญ ย่อมพิจารณาเห็นการถูกปฏักแทงว่า เหมือนคนเป็นหนี้ครุ่นคิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคนผู้เสื่อมนึกเห็นความเสื่อม เหมือนคนมีโทษเล็งเห็นโทษ ดูก่อนสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่ที่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมไม่มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้ว และย่อมรู้ทั่วถึงอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่มีจิตอันวิจิกิฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว และย่อมรู้ทั่วถึงอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุรุษอาชาไนยนั้น ย่อมไม่อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยวาโยธาตุเพ่ง ฯลฯ ย่อมไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ย่อมไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 524
ใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ดูก่อนสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า
"ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน."
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ท่านพระสันธะได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง ย่อมเพ่งอย่างไร บุรุษอาชาไนยนั้น จึงจะไม่อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ฯลฯ ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งอย่างไร แต่ที่ไกลเทียวว่า
"ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน."
พ. ดูก่อนสันธะ ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้ ความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 525
ความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งอยู่อย่างนี้แล จึงไม่อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ไม่อาศัยวาโยธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ดูก่อนสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า
"ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 526
น้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน."
จบอเสขสูตรที่ ๙
อรรถกถาอเสกขสูตรที่ ๙
อเสกขสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โทณิยา พนฺโธ ความว่า ม้ากระจอกที่เขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว. บทว่า อนนฺตรํ กริตฺวา ความว่า กระทำ (ราคะ) ไว้ในภายใน. บทว่า ฌายติ ความว่า ย่อมคิด. บทว่า ปชฺฌายติ ความว่า ย่อมเพ่งฌานมีประการต่างๆ ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง. บทว่า นิชฺฌายติ ความว่า ย่อมเพ่งฌานเป็นนิตย์ โดยไม่มีระหว่างคั่น. คำว่า ปวิมฺปิ นิสฺสาย ฌายติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถบุคคลผู้ยังยินดีอยู่ในสมาบัติ. เพราะว่าปฐวีธาตุนี้ชื่อว่าเป็นส่วนเล็กน้อย อันบุคคลกระทำแล้ว เพราะตนยังยินดีอยู่ในสมาบัติ แม้ในอาโปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
คำว่า กถญฺจ สนฺธ อาชานียฌายิตํ โหติ ความว่า ม้าสินธพ ผู้รู้เหตุอันสมควรและไม่สมควร คิดอย่างไร. ในคำเป็นอาทิว่า ยถา อิณํ พึงทราบอธิบายว่า ม้าอาชาไนยย่อมมองเห็นการตกต้อง กล่าวคือการลงแส้ตรงหน้าตน กระทำให้เป็นเสมือนหนี้ เสมือนถูกจองจำ เสมือนเสื่อมเสีย เสมือนความผิดมาก กล่าวคือโทษ.
บทว่า เนว ปวิํ นิสฺสาย ฌายติ ความว่า บุรุษนั้นไม่เพ่งด้วยสัญญาในฌานที่มีองค์ ๔ และฌานที่มีองค์ ๕ ซึ่งมีปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ เพราะไม่มีความยินดีในสุขที่เกิดขึ้นในสมาบัติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 527
จึงได้ชื่อว่า บุรุษอาชาไนย เพราะความไม่ยินดีนั่นเอง. ย่อมเพ่งด้วยผลสมาบัติที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า ปวิยํ ปวีสญฺา วิภูตา โหติ ความว่า ความสำคัญในฌานมีองค์ ๔ หรือฌานมีองค์ ๕ มีปฐวีธาตุเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติแจ่มแจ้ง คือปรากฏแล้ว. ก็ในพระสูตรนี้มีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปสัญญาปรากฏชัด อัฏฐิกสัญญาไม่ปรากฏชัดดังนี้ เป็นอันท่านพระสันธะ กล่าวถึงความที่ปฐวีธาตุปรากฏชัด เพราะยังมีการก้าวล่วง. ก็ในพระสูตรนี้ รูปสัญญานั้นชื่อว่าปรากฏชัด เพราะเป็นธรรมชาติที่เห็นได้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. แม้ในอาโปสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในพระสูตรนี้ ไม่ตรัสการก้าวล่วงด้วยอำนาจสมาบัติ แต่ตรัสการก้าวล่วงด้วยอำนาจวิปัสสนาวาระ เหมือนในหนหลังด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอวํ ฌายี ความว่า บุรุษอาชาไนยเพ่งอยู่ด้วยผลสมาบัติ อันเกิดมาตามลำดับแห่งวิปัสสนาอย่างนี้.
จบอรรถกถาอเสกขสูตรที่ ๙