พอดีกลางดึกประมาณ 4 ทุ่ม พาน้องสาวไปเอารถจักรยานยนตร์ที่จอดทิ่้งไว้ตอนเย็น บริเวณนั้นมืดค่ะ มีสุนัขอยู่ด้วยหลายตัว พอสมควร เห่าเสียงดัง เราไปกันสองคนค่ะ น้องลงไปเอารถจักรยานยนต์ที่จอดทิ้งไว้ ส่วนเราก็ขับรถยนต์ตาม สุนัขตัวใหญ่ก็เห่า เรากลัวค่ะ กลัวว่าจะวิ่งไปกัดน้อง เลยลดกระจก หยิบขวดน้ำเปล่าธรรมดา แล้วสาดใส่ไป เผื่อสุนัขจะไม่วิ่งมากัดน้อง พอกลับมาถึงบ้าน รู้สึกไม่สบายใจจริงๆ ค่ะ เลยอยากทราบว่าที่ดิฉัน สาดน้ำเปล่าใส่สุนัขไปจะบาปมั้ยคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การที่จะตัดสินว่าบาป หรือ ไม่บาป สำคัญที่สภาพจิตในขณะนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว
ขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้น ขณะนั้น ไม่ดี เป็นอกุศล เป็นบาป ซึ่งก็มีหลายระดับจนถึงขั้น
ล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียดผู้อื่นให้เดือดร้อน ความเป็นจริงของสภาพธรรม
เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น จากเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ยากไม่พ้นจากอกุศลจิต
แน่นอน แต่ไม่มีกำลังกล้าจนถึงขั้นที่จะประทุษร้ายทำร้ายเลย เพราะเพียงแค่ไม่ต้องการ
ให้มากัดคนอื่น ด้วยการสาดน้ำไล่ไป ไม่ได้มีเจตนาประทุษร้ายเลย สภาพธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เหตุการณ์ต่างๆ ที่
เกิดขึ้น ก็เป็นเครื่องวัดกำลังแห่งความเข้าใจถูกเห็นถูกว่ามีมากน้อยแค่ไหน ที่จะสามารถ
ถอยกลับจากอกุศลได้ แม้มีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้น เพราะแท้ที่จริงแล้ว อกุศล ไม่มี
ประโยชน์เลยแม้แต่น้อย เกิดขึ้นก็ทำร้ายตนเองก่อน และถ้ามีกำลังกล้าก็สามารถ
ประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่นได้ ซึ่งจะประมาทกำลังของอกุศลไม่ได้เลย ที่ผ่านไปแล้ว
ก็ผ่านไป ก็ขอให้ตั้งต้นใหม่ ด้วยกุศลธรรม ต่อไป ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บาป อกุศล มีหลายระดับ คือ บาปที่สามารถให้ผล เกิดวิบาก ทำให้เกิดในอบายภูมิได้
และ บาปที่ไม่ให้ผลเกิดในอบายภูมิ และ บาปที่ไม่ได้ให้ผล แต่สะสมเป็นอุปนิสัยต่อไป
ที่จะเป็นอุปนิสัยที่ไม่ไดี ครับ
ซึ่ง ในกรณีนี้ ขณะที่มีเจตนาที่จะสาดน้ำเพื่อเจตนาไล่ ขณะนั้น จิตไม่ได้เป็นไปในทาน
ศีล ภาวนา คือ ไม่ได้เป็นไปในุศล ดังนั้น จิตขณะนั้นก็เป็นบาป คือ เป็นอกุศลจิตที่มีเจตนา
สาดน้ำเพื่อไล่สุนัข แต่ บาป กุศลที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นบาปที่มีกำลัง ที่จะทำให้สุนัขตาย
แต่ เป็นเพียงการสาดน้ำที่มีเจตนาไล่ จึงเป็นบาปที่ไม่ส่งผลที่จะต้องได้รับวิบาก ได้รับผล
ของกรรม ที่จะต้องเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี มี นรก เป็นต้น แต่ ก็เป็นบาปที่มีเจตนาเบียดเบียน
หากว่าสุนัขถูกสาดน้ำจริง คือ โดนน้ำที่สาด ก็มีโอกาสที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดผลหลังจาก
เกิดแล้วได้ เช่น อาจจะถูกสาดน้ำบ้าง เป็นต้น หรือ เป็นวิบากอย่างอื่น แต่ไม่ได้รุนแรงอะไร
ครับ และ ย่อมสะสมเป็นอุปนิสัยที่จะคิดเบียดเบียนสัตว์อื่นได้อีกเช่นกันในอนาคต เพราะ
มีการสะสม การทำไว้แล้ว จึงสามารถทำได้อีก ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงไว้ว่าการกระทำ
อะไรสมควร การกระทำอะไรไม่สมควรก็พิจารณาดังนี้ ดั่งพระพุทธพจน์ที่ว่า
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367
ข้อความบางตอนจาก....เขมสูตร
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อม เดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรม นั้นทำแล้วไม่ดีเลย บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีหัวใจแช่มชื่น เบิกบานเสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้น ทำแล้วเป็นการดี บุคคลรู้กรรมใดว่าเป็น ประโยชน์แก่ตน ควรลงมือกระทำกรรม นั้นก่อนทีเดียว
จะเห็นนะครับว่า กรรมใดก็ตามที่ทำแล้ว เดือดร้อนในภายหลัง ย่อมไม่ควรทำ เพราะ
เป็นอกุศลธรรม ควรทำแต่คุณความดี และ ไม่ควรรีรอในการเจริญกุศล ครับ
อย่างไรก็ดี ทุกอย่างก็ผ่านไปแล้ว ไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ ดังนั้น ควรที่จะเข้าใจ
ว่า ต้นเหตุที่แท้จริง คือ อะไรที่ทำให้ทุกข์ที่ทำให้ทำอกุศล เจตนาเบียดเบียน เพราะ กิเลส
คือ ความติดข้อง ผูกพัน และ อวิชชา ความไม่รู้ เพราะ ถ้ามีความรู้ย่อมไม่เกิดอกุศลใน
ขณะนั้นแน่นอน เพราะฉะนั้น กิเลส เป็นต้นเหตุของการทำไม่ดี และทุกข์ทั้งปวง
ควรที่จะแสวงหาหนทางที่จะละกิเลส ละที่ต้นเหตุ เพราะ หากว่าได้คำตอบไปแล้วว่า
ใช่ หรือ ไม่ใช่ แต่นั่นก็จะทำให้ไม่ได้คำตอบที่แท้จริง ที่ตอบโจทย์ของชีวิต คือ การรู้
ความจริงด้วยการอบรมปัญญา เพราะ การได้คำตอบว่าใช่ หรือ ไม่ใช่แต่ไม่ได้ศึกษาธรรม
ก็ย่อมไม่ได้ปัญญาที่จะรู้ว่าอะไรควร ไม่ควร ก็ทำในสิ่งที่ไม่ควรเป็นปกติได้อีก และ ก็ต้อง
เดือดร้อนอย่างนี้ร่ำไป ควรที่จะแก้ปัญหาระยะยาว แต่ถูกทางด้วยการศึกษาพระธรรมเป็น
สำคัญ ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ