กระผมเคยเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่จำนวนหนึ่ง เนื่องตอนนั้นมีเงินไม่พอจ่าย จนกระทั่งต้องขึ้นศาล และได้รับการประนอมหนี้ให้ลดหย่อนหนี้ก็ยังไม่มีเงินพอจ่าย จนกระทั่งออกจากงานจึงได้รับเงินมาก้อนหนึ่ง จึงจ่ายตามที่ได้รับการลดหย่อน จึงขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้
1.กระผมผิดศีลข้อ 2 ในแง่ของการโกงหรือไม่ครับ
2.อกุศลวิบากของศีลข้อ 2 มีอะไรบ้างครับ
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1.กระผมผิดศีลข้อ 2 ในแง่ของการโกงหรือไม่ครับ
สำหรับ ศีลข้อ 2 ที่เป็น ข้ออทินนาทาน ซึ่ง มีองค์ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190 ข้อความบางตอนจาก...วรรณาจุลศีล อทินนาทาน มีองค์ ๕ อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ
๑. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เจ้าของหวงแหน ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน
๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก ๔. อุปกฺกโม พยายามลัก ๕. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น
---------------------------------
ซึ่ง จากที่ผู้ถามยกเหตุการณ์มานั้น ก็เป็นข้อตกลงกันระหว่าง ธนาคาร กับผู้เป็นหนี้
ผู้เป้นเจ้าของบัตรแล้ว ในการประนอมหนี้กันว่าจะจ่ายในราคาเท่านี้ เช่น ประนอมหนี้
จ่ายใน วงเงิน ห้าหมื่นบาท จากที่เคยเป็นหนี้ หนึ่งแสนบาท เมื่อเป็นข้อตกลงพร้อม
ใจกันทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้ ก็ยินยอมที่ห้าหมื่น เมื่อจ่ายตามที่ตกลงในราคาที่
ประนอมหนี้แล้ว ก็ชื่อว่า ไม่ผิดศีลข้อ 2 เพราะ จ่ายตาม ที่เจ้าของได้ตกลงกันใน
ครั้งสุดท้าย ครับ ซึ่ง ตัวผู้ใช้หนี้ ก็ไม่มีเจตนาคดโกง จ่ายตามจำนวนที่ตกลงในการ
ประนอมหนี้ ตัวเจ้าหนี้ ก็ยินยอม ตามราคานั้นก็ไม่ผิดศีลข้อ 2 แต่อย่างใด หากแต่
ว่า ถ้าไม่จ่ายตามราคาที่ประนอมหนี้ เช่น ไม่จ่ายห้าหมื่น จ่ายแค่ สามหมื่น และ ก็
ไม่ยอมจ่ายอีกเลย เพราะ มีเจตนาที่จะไม่จ่าย อย่างนี้ผิดศีลข้อ 2 หรือว่า แม้
ธนาคารประนอมหนี้ในราคานี้แล้ว แต่ก็ไม่ยอมจ่าย เจตนาที่จะไม่จ่าย อันนี้ก็ผิด
ศีลข้อ 2 เพราะมีเจตนาลัก และ ไม่ยอมจ่ายเจ้าของ ครับ แต่ ตามที่ผู้ถามกล่าวมา
นั้น ไม่ผิดศีลข้อ 2แต่ประการใด และ ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
2.อกุศลวิบากของศีลข้อ 2 มีอะไรบ้างครับ
อกุศลวิบาก ของศีลข้อ 2 หากครบกรรมบถ ศีลขาด ผลโดยตรง คือ การเกิดใน
อบายภูมิ มี การเกิดในนรก เป็นต้น ส่วน เศษของกรรม เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์
ย่อมทำให้ ทรัพย์พินาศ หรือ โดนโกง เป็นต้น ครับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔- หน้าที่ 495
๑๐. สัพพลหุสสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ขออนุโมทนา
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
แต่เมื่อว่าสภาพธรรมที่เป็นจริง เป็นสัจจะแล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ขณะที่เป็นหนี้คือขณะที่ทำอกุศลกรรม ทำบาป เพราะต้องตามใช้หนี้ คือเกิดอีกและได้รับ
ทุกข์ ทุกข์ที่เดือดร้อนทางใจและทางกาย ทั้งเป็นปัจจัยให้ไปอบายภูมิ อันเป็นคุก
ที่น่ากลัว การจะไม่ให้มีหนี้คือ อกุศลกรรม คือ ดับเหตุให้เป็นหนี้ คือ กิเลส ทาน
ศีล สมถภาวนา ดับกิเลสไม่ได้ ต้องเป็นวิปัสสนาภาวนา (สติปัฏฐาน) การเจริญ
อบรมปัญญาเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เป็นหนทางเดียวที่จะชำระหนี้ เพราะ
เมื่อดับกิเลสหมดย่อมไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอีก จึงไม่เป็นปัจจัยให้หนี้คือ อกุศลกรรม
ที่ทำไว้ให้ผลได้เลย นี่คือหนทางเดียวของการชำระหนี้จริงๆ ขออนุโมทนา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 665 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มี
หิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรมไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาใน
กุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกายวาจา ใจ เรากล่าวการประพฤติทุจริตของ
เขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้งบุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ขออนุญาตนำคำพูดท่านอาจารย์สุจินต์ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องการชำระหนี้ครับ
เมื่อมีผู้ถามเรื่องการชำระหนี้ ท่านอาจารย์ตอบว่า
ถาม หนี้สินอื่นก็ได้ชำระหมดแล้ว แม้แต่หนี้ชีวิตก็ชำระกันไปบ้าง ในชาตินี้ผมเองก็ไม่ได้มีหนี้อะไรกับใคร สุ. จริงหรือคะ ถ้ามีกิเลส แล้วยังมีหนี้นะคะผู้ถาม กำลังจะถามอาจารย์ว่า มีเหลือแต่หนี้กิเลส ถ้าจะชำระกันแล้ว วันหนึ่งถ้าทำบัญชีรับจ่ายแล้ว ก็ขาดดุลทุกวัน มากมายเหลือเกิน แล้วจะชำระอย่างไรครับ สุ. จะเอาศรัทธาที่ไหนมามากๆ จะเอาสติที่ไหนมามากๆ จะเอาวิริยะที่ไหนมามากๆ จะเอาปัญญาที่ไหนมามากๆ ต้องค่อยๆ สะสมทีละเล็กทีละน้อย ทีหนี้ยังมีทีละเล็กทีละน้อย จนหนาแน่น เพราะฉะนั้น เวลาจะชำระหนี้ ก็ต้องหาทรัพย์ คือ อริยทรัพย์ ได้แก่ ศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา ที่เกิดในขณะที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ชำระหนี้ไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย โดยระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่
ปรากฏ แต่ดีค่ะ ที่จะรู้สึกตัวว่า ยังเป็นหนี้อยู่ เพื่อที่จะได้ชำระหนี้ ถ้าไม่รู้ตัวว่าเป็นหนี้
ก็จะไม่ชำระหนี้ ใช่ไหมคะ ก็พอกพูนไป แต่ว่าเรื่องการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม
เป็นเรื่องละเอียด และเป็นเรื่องที่ยาก แต่เป็นเรื่องที่รู้ได้จริงๆ เพราะเหตุว่าเป็นสัจธรรม
เป็นของจริงที่สามารถพิสูจน์ได้
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรมไม่พ้นจากชีวิตประจำวันเลย มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา แม้จะกล่าวถึง
ผิดศีล หรือ ไม่ผิดศีล ก็คือชีวิตประจำวันจริงๆ ขณะที่มีเจตนาที่จะวิรัติงดเว้นจาก
การกระทำที่เป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เช่น เว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
เป็นต้น อย่างนี้เป็นศีล แต่ถ้ามีเจตนาที่จะกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นที่เป็นการฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าเป็นการผิดศีลหรือล่วงศีล เป็นการสะสมเหตุที่ไม่ดีให้กับ
ตนเอง
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมทุกอย่าง เป็นเหตุ
เป็นผล ใครๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่นไปได้ การล่วงศีลในแต่ละข้อ
แสดงถึงกิเลสที่มีกำลัง จากประเด็นคำถาม ไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่จ่ายเงินที่ตนเอง
เป็นหนี้ จึงไม่เป็นการล่วงศีลข้อสอง ซึ่งจะแตกต่างจากขณะที่มีเจตนาหนีหนี้
ไม่จ่ายหนี้ ครับ
ผลของการล่วงศีลข้อสองคือนำเกิดในอบายภูมิได้ ตลอดจนถึงเป็นเหตุให้เสียทรัพย์
สมบัติเสียหาย ซึ่งไม่มีใครทำให้เลย นอกจากเหตุที่ไม่ดีที่ตนเองได้ทำไว้เท่านั้น
สาระสำคัญของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ที่การได้สะสมความดีและได้ฟังพระ
ธรรมศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ความเข้าใจพระธรรมจะเป็นเครื่อง
นำทางชีวิตที่ดีให้ทำแต่สิ่งที่ดี ไม่ทำทุจริตกรรม ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ไม่ผิดศีลข้อ 2 เพราะการประนอมหนี้คือการเจรจาขอส่วนลด เจ้าหนี้ยินยอมก็ไม่ผิดศีล
ศีล ค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ