ช่วยโยงใยให้ดูหน่อยครับ ว่ามันตัวเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อุปาทาน โดยศัพท์ หมายถึง การยึดมั่น ถือมั่น ซึ่ง อุปาทาน มี ๔ อย่าง
๑.กามุปาทาน (ความติดข้อง)
๒.ทิฏฐุปาทาน (ความเห็นผิด)
๓.สีลัพพตุปาทาน (ข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด)
๔.อัตตวาทุปาทาน (ความยึดถือว่าเป็นตัวตน)
กามุปาทาน (ความติดข้อง) คือ โลภะที่ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ยินดีพอใจในรูปที่สวยมากๆ ขณะนั้นก็เป็นการยึดมั่นด้วยโลภะ คือ กามุปาทานแล้วครับ หรือ ขณะที่ชอบอาหารประเภทนี้มากๆ ก็มีความยึดมั่นด้วยโลภะ ที่พอใจในรสอาหารประเภทนั้น แต่ไม่ได้มีความเห็นผิด
ทิฏฐุปาทาน (ความเห็นผิด) คือ ขณะที่มีความเห็นผิดเกิดขึ้นประการต่างๆ เช่น มีความเห็นผิดว่า กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี หรือ ตายแล้วไม่เกิดอีก หรือ ตายแล้วก็เที่ยงแน่นอน ไปอยู่ในสถานที่เที่ยงแน่นอน เป็นต้น ขณะนั้นก็เป็นการยึดถือด้วยความเห็นผิดที่เป็นทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน คือ ข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิดอันเกิดจากความเห็นผิด อันสำคัญว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้บรรลุ ยกตัวอย่างเช่น การเดินกระโหย่งดังเช่นฤาษี คิดว่าเป็นหนทางบรรลุ การนอนบนตะปู ทรมานตน สำคัญว่าเป็นหนทางบรรลุ การอาบน้ำ ล้างบาปเป็นต้น ครับ
อัตตวาทุปาทาน คือ ความเห็นผิดที่สำคัญว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตนจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดความคิดขึ้นมาว่ามีเราจริงๆ ในขณะนี้ ขณะนั้นก็ยึดถือด้วยความเป็นเรา ด้วยความเห็นผิด ครับ ที่เป็นการยึดมั่นด้วยความเป็นเรา คือ อัตตวาทุปาทาน ครับ
ดังนั้น อุปาทาน ๔ จึงเป็นสภาพธรรมที่เป็นโลภะ ความยินดีติดข้อง และทิฏฐิที่เป็นความเห็นผิด ๒ อย่างนี้ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก คือ โลภเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก
---------------------------------
อุปาทาน ๕ หรือ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็เป็นอีกนัยหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ คือ สภาพธรรมที่เป็นขันธ์ ๕ เช่นกัน แต่เป็นที่ตั้งที่ยึดถือของโลภะ เป็นต้น จึงเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด เว้นแต่โลกุตตรธรรมครับ ซึ่งโลภะไม่สามารถติดข้องได้ ไม่สามารถยึดถือได้ จึงไม่เป็นอุปาทานขันธ์ ๕
ดังนั้น อุปาทานขันธ์ ๕ จึงหมายถึง ที่ตั้งที่เป็นยึดถือของโลภะ ก็หมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด ยกเว้น โลกุตตรธรรม ๙ ที่เป็นมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ และนิพพาน
ส่วนสภาพธรรมที่เหลือ ที่เป็นอุปาทานขันธ์ ๕ คือ จิตและเจตสิกที่เหลือ และรูปทั้งหมด คือ สภาพธรรมที่เป็นขันธ์ ๕ นั่นเอง ที่ยกเว้น โลกุตตรธรรม ๙
เพราะฉะนั้น อุปาทานขันธ์ ๕ จึงกว้างกว่า อุปาทาน ๔ เพราะอุปาทาน ๔ คือ โลภเจตสิก
และทิฏฐิเจตสิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุปาทานขันธ์ ๕ คือ เป็นส่วนของสังขารขันธ์ ครับ
จึงกล่าวโดนสรุปได้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นสภาพธรรมที่เป็นที่ตั้งของการยึดถือ ส่วนอุปาทาน ๔ เป็นสภาพธรรมที่เป็นตัวยึดถือ ยึดมั่นด้วยกิเลส คือ โลภะและทิฏฐิ ครับ
ขออนุโมทนา
กราบอนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อุปาทาน เป็นความยึดมั่นถือมั่น ส่วนอุปาทานขันธ์ คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งที่ยึดถือของอุปาทาน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
อุปาทาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นความยึดมั่นถือมั่น สภาพธรรมที่ยึดมั่นถือมั่นย่อมไม่พ้นไปจากโลภะ (โลภเจตสิก) และ ทิฏฐิ (ทิฏฐิเจตสิก) ซึ่งเป็นความเห็นผิด
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว อุปาทานเป็นกิเลสที่มีกำลังยึดมั่นถือมั่น ดังนั้นอุปาทานจึงไม่มีเฉพาะตัณหาหรือโลภะเท่านั้น ยังมีความเห็นผิดที่เป็นสภาพธรรมที่ยึดมั่นถือมั่นด้วย ธรรมเป็นจริงอย่างไร ก็ต้องเป็นจริงอย่างนั้น ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นี้คือ ปรมัตถธรรม สภาพธรรมที่จริงที่สุด
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ทั้งหมดทั้งปวง เพื่อให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษา ได้เข้าใจตามความเป็นจริง ได้เห็นโทษของอกุศล และ เห็นคุณของกุศลตามความเป็นจริง เมื่อเห็นโทษของอกุศลและเห็นคุณของกุศลตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะไม่เข้าใกล้อกุศล แต่จะถอยกลับจากอกุศลให้เร็วที่สุด แล้วตั้งใจมั่นในการที่จะอบรมเจริญกุศลต่อไป ซึ่งเป็นเครื่องเตือนที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะศึกษาจากพระธรรมในส่วนใดเรื่องใดก็ตาม ถ้าเข้าใจถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์โดยแท้ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
อุปาทาน ๔ ต่างจาก อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
อุปทาน ๔ คือ ความยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหา หรือ ด้วยทิฏฐิ
ส่วนอุปาทานขันธ์ ๕ คือ ขันธ์ ๕ อันเป็นที่ตั้งแห่งการยึดมั่นถือมั่นของโลภะ ค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
อุปาทานขันธ์ห้า คือ การยึดมั่นถือมั่นติดอยู่ในขันธ์ห้าว่ามีตัวมีตนมีสาระเป็นตัวเราของเรา
ขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูปขันธ์และนามขันธ์อีกสี่ประการ คือ วิญญาณ (รับรู้) ,เวทนา (รู้สึก) ,สัญญา (ความทรงจำ) , สังขาร (ปรุงแต่งตอบโต้)
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณครับ ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาสาธุคับ