[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 54
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๒
๒. โชติทาสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโชติทาสเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 54
๒. โชติทาสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโชติทาสเถระ
[๒๖๙] ได้ยินว่า พระโชติทาสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ชนเหล่าใดแล พยายามในทางร้ายกาจ ย่อมเบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการกระทำอันเจือด้วยความผลุนผลันก็ดี ด้วยการกระทำมีความประสงค์ต่างๆ ก็ดี ชนเหล่านั้นกระทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นฉันใด แม้ผู้อื่นก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ชนเหล่านั้น ฉันนั้น เพราะนรชนกระทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำไว้นั้น โดยแท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 55
อรรถกถาโชติทาสเถรคาถา
คาถาของท่านพระโชติทาสเถระ เริ่มต้นว่า โย โข เต. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็น พระศาสดาเสด็จไปบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะลื่น.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในปาทิยัตถชนบท ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า โชติทาสะ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ครอบครองเรือน วันหนึ่ง เห็นพระมหากัสสปเถระ เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านของตน มีจิตเลื่อมใส ให้พระเถระฉันแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระเถระ ให้สร้างวิหารหลังใหญ่ บนภูเขาใกล้บ้านตน นิมนต์ให้พระเถระอยู่ในวิหารนั้น บำรุงด้วยปัจจัย ๔ ได้ความสลดใจเพราะพระธรรมเทศนาของพระเถระ บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน โชติช่วง เหมือนต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ ณ ซอกภูเขา เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ประนมกรอัญชลี เหนือเศียรเกล้า แล้วเอาผลมะลื่นถวายแด่พระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 56
ผู้ประเสริฐสุด ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เรียนพระไตรปิฎก ถึงความเป็นผู้ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชาญในพระวินัยปิฎกเป็นพิเศษ เป็นผู้มีพรรษา ๑๐ และ เป็นผู้สงเคราะห์บริษัท บริวาร เดินทางไปพระนครสาวัตถี เพื่อถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เข้าไปสู่อารามของพวกเดียรถีย์ในระหว่างทาง เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เห็นพราหมณ์คนหนึ่งกำลังเผาตบะ ๕ อยู่ จึงกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่ออย่างหนึ่งถูกเผา อีกอย่างหนึ่งจะร้อนไปด้วยหรือ?
พราหมณ์ฟังดังนั้นก็โกรธ พูดว่า ดูก่อนสมณะโล้นผู้เจริญ อย่างอื่นที่จะต้องเผาคืออะไร? พระเถระแสดงธรรมสอนพราหมณ์ ด้วยคาถาว่า
สิ่งที่ควรเผาเหล่านั้น คือ ความโกรธ ความริษยา การเบียดเบียนผู้อื่น ความถือตัว ความแข่งดี ความมัวเมา ความประมาท ตัณหา อวิชชา และความข้องอยู่ในภพ ไม่ใช่รูปขันธ์.
พราหมณ์นั้นและอัญญเดียรถีย์ทั้งปวง ในอารามแห่งเดียรถีย์นั้น ฟังโอวาทนั้นแล้ว พากันบวชในสำนักของพระเถระ. พระเถระไปสู่พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พักอยู่ในพระนครสาวัตถี สิ้นนเล็กน้อยแล้วย้อนกลับไปสู่ชาติภูมิของตนทันที
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 57
เมื่อญาติไปหา เมื่อท่านจะกล่าวสอนญาติต่างลัทธิผู้ที่ถือว่า จะบริสุทธิ์ได้เพราะยัญ (คือการบวงสรวง) ซึ่งมีลัทธิต่างๆ กันในหมู่ญาติ ที่เข้าไปหาท่านเพื่อเยี่ยมเยียน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ชนเหล่าใดแล พยายามในทางร้ายกาจ ย่อมเบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการกระทำอันเจือด้วยความผลุนผลันก็ดี ด้วยการกระทำมีความประสงค์ต่างๆ ก็ดี ชนเหล่านั้นกระทำทุกข์ให้ผู้อื่น ฉันใด แม้ผู้อื่นก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ชนเหล่านั้น ฉันนั้น เพราะนรชนทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำไว้นั้น โดยแท้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นคำแสดงความไม่เจาะจงแน่นอน. บทว่า เต เป็นปฏินิทเทส คือคำรับสมอ้างแสดงโดยไม่เจาะจงแน่นอนเหมือนกัน. แม้บท ทั้งสองก็สัมพันธ์เข้ากับบทว่า ชนา.
บทว่า โข เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า เวฐมิสฺเสน ความว่า ด้วยการขันชะเนาะที่อวัยวะ มีศรีษะ เป็นต้น โดยการมัดด้วยเชือกหนังเป็นต้น บาลีเป็น เวธมิสฺเสน ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างเดียวกันนั้น.
บทว่า นานตฺเตน จ กมฺมุนา ความว่า ด้วยการฆ่า การประหาร การตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้น และด้วยกรรมคือการเข้าไปฆ่าผู้อื่นมีอย่าง ต่างๆ มีการแทงด้วยหอกทีละน้อย จนกว่าจะตายเป็นต้น.
บทว่า มนุสฺเส เป็นเพียงตัวอย่าง เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ได้แก่ ในสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อุปรุนฺธนฺติ แปลว่า ย่อมเบียดเบียน.
บทว่า ผรสูปกฺกมา ได้แก่ ความพยายามที่ทารุณ อธิบายว่า เป็นการ กระทำของผู้ที่โหดร้าย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 58
บทว่า ชนา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า เตปิ ตตฺเถว กีรนฺติ ความว่า บุคคลผู้มีประการดังกล่าว แล้วเหล่านั้น เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการทรมานเหล่าใด ย่อมถูกกระทำ คือ สนองตอบอย่างนั้นเหมือนกัน คือ ได้รับการทรมานอย่างนั้นแหละ อธิบายว่า ย่อมเสวยทุกข์เห็นปานนั้นเหมือนกัน. ปาฐะว่า ตเถว กีรนฺติ ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า ตนเองทำทุกข์ให้แก่คนเหล่าอื่น ฉันใด ย่อมถูกคนเหล่าอื่นกระทำ คือให้ถึงทุกข์อย่างนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุไร? เพราะกรรมจะไม่สาบสูญไปเลย. อธิบายว่า เพราะว่ากรรมที่ตนก่อไว้ โดยส่วนเดียวยังไม่ให้ผล จะไม่จากไป คือจะให้ผลเมื่อประจวบกับปัจจัยที่ยังเหลืออยู่.
บัดนี้ พระเถระครั้นจำแนกข้อความที่กล่าวไว้โดยสังเขปว่า แม้ผู้อื่นก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ชนเหล่านั้น ฉันนั้น ดังนี้แล้ว เพื่อจะประกาศความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน จึงได้กล่าวคาถาว่า ยํ กโรติ ดังนี้.
คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า สัตว์กระทำกรรมใดที่ดี คือเป็นกุศล หรือว่า ที่ชั่ว คือเป็นอกุศล และในกรรม ๒ อย่างนั้น เมื่อกระทำกรรมใด ย่อมชื่อว่า กระทำคือสั่งสม โดยกรรมนั้นสามารถจะให้ผล.
บทว่า ตสฺส ตสฺเสว ทายาโท ความว่า เมื่อสัตว์ถือเอาผลแห่งกรรมนั้นๆ แล ชื่อว่าย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งผลอันกรรมนั้นพึงให้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นทายาทดังนี้ เป็นต้น. ญาติทั้งหลายของพระเถระฟังคาถาเหล่านี้ แล้ว ตั้งอยู่แล้วในความเชื่อที่ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน.
จบอรรถกถาโชติทาสเถรคาถา