อธิ (ยิ่ง ละเอียด) + สีล (ปกติ การงดเว้นจากายวาจาที่ชั่ว) + สิกฺขา (สภาพที่พึงศึกษา)
สภาพที่พึงศึกษาคือศีลอันยิ่งใหญ่ หมายถึง ความสำรวมอินทรีย์ในทวารทั้ง ๖ ในขณะที่สติปัฏฐานหรือวิปัสสนาญาณเกิด เป็นความรู้สึกตัวและสังวรอันยิ่งอย่างละเอียดก่อนที่อกุศลจิตจะมีกำลังจนทำให้ก้าวล่วงออกมาทางกายหรือทางวาจา และขณะนั้นไม่ได้มีความยึดถือว่า ศีลของเราหรือเป็นเราที่มีศีล ศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๒๒๗ ไม่เป็นอธิศีล เพราะเป็นที่ตั้งของตัณหาและทิฏฐิได้ว่า เรามีศีลหรือศีลของเราแต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้นขณะนั้นเป็นอินทริยสังวรศีลเป็นอธิศีล เพราะเป็นการสำรวมระวังอย่างยิ่ง โดยมีนามธรรมหรือรูปธรรมเป็นอารมณ์ในขณะเดียวกันก็มีอธิจิตและอธิปัญญาเกิดร่วมด้วยเป็นการศึกษาคืออบรมจนกว่าอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญาจะถึงพร้อมเมื่อมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณค่ะขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อธิศีล แสดงโดยนัยต่างๆ จากเบื้องต้นจนถึงสูงสุด
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา [อรรถกถามานกามสูตร]
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
Anumotana ka.
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
สาธุๆ ๆ อนุโมทามิ ขอบคุณสำหรับคำอธิบายที่สั้นๆ เข้าใจง่ายชัดเจนดี
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ