[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 363
อรหันตวรรคที่ ๗
ว่าด้วยภิกษุอรหันต์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 363
คาถาธรรมบท
อรหันตวรรคที่ ๗ (๑)
ว่าด้วยภิกษุอรหันต์
[๑๗] ๑. ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วในที่ทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว.
๒. ท่านผู้มีสติย่อมออก ท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนฝูงหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น.
๓. คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสมมิได้ ผู้กำหนดรู้โภชนะ มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์เป็นอารมณ์ ไปตามยาก เหมือนทางไปของฝูงนกในอากาศฉะนั้น.
๔. อาสวะทั้งหลายของบุคคลใดสิ้นแล้ว บุคคลใดไม่อาศัยแล้วในอาหารและสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจรของบุคคลใด ร่องรอยของบุคคลนั้นๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยของนกทั้งหลายในอากาศฉะนั้น.
๕. อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใด ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น แม้เหล่าเทพเจ้าย่อมกระหยิ่มต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ผู้หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่.
(๑) ในวรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 364
๖. ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสาเขื่อนคงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือกตม ย่อมไม่ (ยินดี) ยินร้าย สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้คงที่.
๗. ใจของท่านพ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ ผู้สงบระงับ คงที่ เป็นผู้มีใจสงบแล้ว วาจาก็สงบแล้ว การงานก็สงบแล้ว.
๘. นระใดไม่เชื่อง่าย มีปกติรู้พระนิพพานอันปัจจัยทำไม่ได้ ตัดที่ต่อ มีโอกาสอันกำจัดแล้ว มีความหวังอันคายแล้ว นระนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด
๙. พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด เป็นบ้านก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์.
๑๐. ป่าทั้งหลาย เป็นที่น่ารื่นรมย์ ท่านผู้มีราคะ ไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าอันไม่เป็นที่ยินดีของชน เพราะท่านผู้มีราคะไปปราศแล้วเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติไม่แสวงหากาม.
จบอรหันตวรรคที่ ๗