นี้เป็นพระพุทธพจน์ใช่ไหมครับ ช่วยนำมาแสดงด้วยครับ
ขอขอบพระคุณ
คำว่า "ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา" คำนี้เป็นพระพุทธพจน์ คือ ทรงแสดงแก่อาฬวกยักษ์ ที่ถามปัญหา ในอาฬวกสูตร ซึ่งมีมาในขุททกนิกายสุตตนิบาต โปรดอ่านข้อความบางตอนจาก ..
อาฬวกสูตร
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕
ถาม บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร ย่อมหา ทรัพย์ได้อย่างไร ย่อมได้ชื่อเสียงอย่างไร ย่อมผูกมิตรทั้งหลายไว้ได้อย่างไร บุคคล ละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่ เศร้าโศกอย่างไร.
ตอบ บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ ทั้งหลายเพื่อบรรลุนิพพานเป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควร มีความหมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อม ได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้
อาฬวกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยเรื่องอาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา
ข้อความบางตอน ...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 469
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงการได้ปัญญา ด้วยการณ์ ๔ อย่าง แก่อาฬวกยักษ์นั้น จึงตรัสว่า สทฺทหาโน เป็นต้น.
คาถานั้นมีอธิบายว่า พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ผู้อรหันต์บรรลุนิพพาน ด้วยธรรมใด ในบุพภาคอันต่างด้วยกายสุจริตเป็นต้น ในอปรภาคอันต่างด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ บุคคลเชื่อธรรมนั้น คือ ธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมได้ปัญญา อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ เพื่อบรรลุพระนิพพาน ก็แล ย่อมได้ปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วย เหตุสักว่าศรัทธาเท่านั้น หามิได้ ก็เพราะบุคคลเกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 470
หา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสต เงี่ยโสตแล้ว ย่อม ฟังธรรม เพราะฉะนั้น ฟังอยู่ด้วยดี จำเดิมแต่เข้าไปหา จนถึงการฟังธรรม ย่อมได้ปัญญา.
มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า แม้เชื่อธรรมนั้นแล้ว เข้าไปหาพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ตามกาล เข้าไปนั่งใกล้ด้วยการทำวัตร ในกาลใด พระอาจารย์และอุปัชฌาย์มีจิตอันการเข้าไปนั่งใกล้ให้ยินดีแล้ว ประสงค์จะกล่าว คำไรๆ ในกาลนั้น ก็เงี่ยโสต ด้วยความเป็นผู้ใคร่จะฟังอันถึงแล้วฟังอยู่ ย่อมได้ปัญญา ก็แม้ฟังอยู่ด้วยดีอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท ด้วยการไม่อยู่ ปราศจากสติ และมีปัญญาเครื่องสอดส่อง ด้วยความเป็นผู้รู้สุภาษิตและทุภาษิตนั่นแล ย่อมได้ปัญญา บุคคลนอกนี้ ย่อมไม่ได้ปัญญา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง เพราะบุคคลปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ด้วยศรัทธาอย่างนี้แล้ว ฟัง อุบายอันเป็นเครื่องบรรลุปัญญา ด้วยการฟังด้วยดี คือ โดยเคารพ ไม่หลง ลืมสิ่งถือเอาแล้ว ด้วยความไม่ประมาท และถือเอาสิ่งไม่หย่อน ไม่เกินและ ไม่ผิด ด้วยความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ย่อมกระทำให้กว้างขวาง หรือ เงี่ยโสตลง ด้วยการฟังด้วยดี ย่อมฟังธรรมอันเป็นเหตุได้เฉพาะซึ่ง ปัญญา ครั้นฟังด้วยความไม่ประมาทแล้วย่อมทรงธรรม ย่อมใคร่ครวญอรรถ แห่งธรรมทั้งหลายที่ทรงจำด้วยความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ใน ลำดับนั้น ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถ์ โดยลำดับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกอาฬวกยักษ์ทูลถามว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร เมื่อจะทรง แสดงการณ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ จึงตรัสคาถานี้ว่า สทฺทหาโน ฯลฯ วิจกฺขโณ.
การฟังเป็นความดี ความประพฤติมักน้อยเป็นความดี การอยู่โดยไม่มีห่วงใย เป็นความดีทุกเมื่อ การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี การทำตามโอวาท เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้เป็นเครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล ดังนี้
จากอรรถกถา อาฬวกสูตร ได้แสดงว่า ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญาอย่างไร ฟังด้วยดี ฟังอะไร ก็ต้องฟังพระธรรมที่ถูกต้องด้วย จึงจะได้ปัญญา เมื่อผู้เป็นอาจารย์หรือบุคคลใดกล่าวธรรม ก็ตั้งใจฟังโดยเคารพฟังด้วยการมีสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นจิตเป็นกุศล ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าตั้งใจฟังแล้วจะเข้าใจ แต่ต้องมีสติ ระลึกในสิ่งที่กำลังฟังด้วย คือ เข้าใจนั่นเอง มีปัญญาเครื่องสอดส่อง คือเป็นผู้มีปัญญาที่จะเข้าใจธรรมได้ (รู้คำสุภาษิตทุภาษิต) ถึงจะฟังธัมมะเข้าใจ (ได้ปัญญา) แต่ถ้าเป็นคนไม่ฉลาดถึงอย่างไรก็ฟังไม่เข้าใจ ขณะที่ฟังก็ทรงจำสิ่งที่ฟังไว้ได้ เมื่อทรงจำไว้ได้ก็พิจารณาธรรมที่ได้ฟังย่อมได้ปัญญาธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ยินดีในกุศลจิตค่ะ
กราบอนุโมทนาขอบพระคุณค่ะ
ยินดีในกุศลจิตครับ