๗. ปีฐชาดก ว่าด้วยธรรมในสกุล
โดย บ้านธัมมะ  23 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35788

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 626

๗. ปีฐชาดก

ว่าด้วยธรรมในสกุล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 626

๗. ปีฐชาดก

ว่าด้วยธรรมในสกุล

[๖๘๖] ข้าพเจ้าไม่ได้ให้ตั้ง น้ำดื่ม และโภชนา-หารแก่ท่าน ขอท่านผู้เป็นพรหมจารีจงอดโทษให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นโทษอยู่อย่างนี้.

[๖๔๗] อาตมภาพไม่ได้ข้องเกี่ยว และไม่ได้นักโกรธเคืองเลยแม้ความไม่ชอบใจอะไรๆ ของอาตมภาพก็ไม่มีเลย แม้ที่จริงอาตมภาพยังมีความวิตกอยู่ในใจว่า ธรรมของสกุลนี้จักเป็นเช่นนี้แน่.

[๖๔๘] ที่นั่ง น้ำล้างเท้า น้ำมันทาเท้า ข้าพเจ้าให้อยู่เป็นนิจทุกอย่าง นี้เป็นธรรมในสกุลเนื่องมาจากปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้าทุกเมื่อ.

[๖๔๙] ข้าพเจ้าบํารุงสมณพราหมณ์โดยเคารพดุจญาติที่สูงสุด นี้เป็นธรรมในสกุล เนื่อง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 627

มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้าทุกเมื่อ.

จบ ปีฐชาดกที่ ๗

อรรถกถาปีฐชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า น เตปิมทายิมฺหา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นจากชนบทไปยังพระเชตวัน เก็บบาตรจีวรถวายบังคมพระศาสดาแล้วถามสามเณรหนุ่มๆ ว่า อาวุโส ในนครสาวัตถี ใครอุปการะภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย พวกสามเณรหนุ่มกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านเหล่านี้ คือ อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีและวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นผู้อุปการะภิกษุสงฆ์ ดํารงอยู่ในฐานะ.เป็นบิดามารดา. ภิกษุนั้นรับคําว่าดีแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ได้ไปยังประตูบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี แต่เช้าตรู่ ในเวลาที่ภิกษุแม้รูปเดียวยังมิได้เข้าไป. เพราะภิกษุนั้นไปยังไม่ถึงเวลา ใครๆ จึงไม่แลเห็น. ภิกษุนั้นไม่ได้อะไรๆ จากที่นั้น จึงไปยังประตูเรือนของนางวิสาขามหาอุบาสิกา แม้ที่บ้านของนางวิสาขามหาอุบาสิกานั้นเธอก็ไม่ได้อะไรๆ เพราะไปเช้าเกินไป. ภิกษุนั้นจึงเที่ยวไปในบ้านนั้น แล้วกลับมาใหม่ ไปถึงเมื่อเขาเลี้ยงข้าวยาคูเสร็จแล้ว จึงเที่ยว


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 628

ไปในที่นั้นๆ แม้อีก เมื่อเขาเลี้ยงภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงได้ไปถึง.ภิกษุนั้นจึงกลับไปยังวิหาร เที่ยวกล่าวดูหมิ่นตระกูลเหล่านั้นว่าตระกูลทั้งสองไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสเลย แก่ภิกษุเหล่านี้บอกว่ามีศรัทธา มีความเลื่อมใส. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุชาวชนบทรูปโน้น ไปสู่ประตูของตระกูลก่อนกาลเวลา เมื่อไม่ได้ภิกษา จึงเที่ยวดูหมิ่นตระกูลทั้งหลาย. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทากันด้วยเรื่องอะไร?เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องนี้ พระเจ้าข้าจึงรับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามว่า เรื่องนี้ จริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุไร?เธอจึงโกรธ ในปางก่อนครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น แม้ดาบสทั้งหลายไปสู่ประตูสกุล ไม่ได้ภิกษาก็ยังไม่โกรธเลย แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้วได้เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างในนครตักกศิลา ในกาลต่อมาได้บวชเป็นดาบสอยู่ในหิมวันตประเทศช้านาน เพื่อต้องการจะบริโภครสเค็มและรสเปรี้ยว จึงไปถึงนครพาราณสี อยู่ในพระราชอุทยานนั่นเองวันรุ่งขึ้น จึงเข้าไปภิกษายังพระนคร. ในกาลนั้น พาราณสีเศรษฐี


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 629

เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส. พระโพธิสัตว์ถามว่า เรือนของตระกูลไหนมีศรัทธา ได้ฟังว่า เรือนของเศรษฐีจึงได้ไปยังประตูเรือนของเศรษฐี. ขณะนั้นเศรษฐีไปเฝ้าพระราชาแล้ว ฝ่ายคนทั้งหลายก็ไม่เห็นพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์จึงได้กลับไป. ลําดับนั้น เศรษฐีนั้นกําลังออกจากราชสกุลได้เห็นพระโพธิสัตว์นั้น จึงไหว้แล้วรับเอาภาชนะภิกษานําไปเรือน นิมนต์ให้นั่งแล้วให้อิ่มหนําสําราญด้วยการล้างเท้า การทาน้ำมัน ข้าวยาคู และของควรเคี้ยวเป็นต้น ในระหว่างภัต ไม่ถามเหตุอะไรๆ พอพระโพธิสัตว์กระทําภัตตกิจแล้วจึงไหว้ ไปนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยาจกหรือสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม ชื่อว่า ผู้มายิ่งประตูเรือนของข้าพเจ้าแล้ว ขึ้นชื่อว่าไม่เคยได้สักการะและสัมมานะแล้วไปเสียย่อมไม่มี แต่วันนี้ ท่านไม่ได้ที่นั่ง น้ำดื่ม การล้างเท้า หรือข้าวยาคูและภัตเลยไปแล้ว เพราะเด็กๆ ของข้าพเจ้าไม่เห็นท่าน นี้เป็นโทษของข้าพเจ้า ท่านควรอดโทษนั้นแก่ข้าพเจ้า. แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าพเจ้าไม่ได้ให้ตั้ง น้ำดื่ม และโภชนาหารแก่ท่าน ขอท่านผู้เป็นพรหมจารีจงอดโทษแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นโทษอยู่อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เต ปีมทายิมฺหาความว่าข้าพเจ้าไม่ได้ให้แม้ตั่งแก่ท่าน.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 630

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

อาตมภาพมิได้เกาะเกี่ยวอะไรเลย ไม่ได้นึกโกรธเคืองเลย แม้ความไม่ชอบใจอะไรๆ ของอาตมภาพก็ไม่มีเลย ที่จริงอาตมภาพยังมีความคาคคะเนอยู่ในใจว่าธรรมของสกุลนี้จักเป็นเช่นนี้แน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนวาภิสชฺชามิ ความว่า อาตมภาพมิได้ข้องใจเลย. บทว่า เอตาทิโส ความว่า อาตมภาพเกิดความวิตกในใจอย่างนี้ว่า สภาวะของสกุลนี้เป็นเช่นนี้แน่ คือ นี้จักเป็นวงศ์ของทายก.

เศรษฐีได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ที่นั่ง น้ำล้างเท้า น้ำมันทาเท้าทุกอย่างนี้ข้าพเจ้าให้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นธรรมในสกุล เนื่องมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้าทุกเมื่อ.

ข้าพเจ้าบํารุงสมณพราหมณ์โดยเคารพดุจญาติผู้สูงสุด นี้เป็นธรรมในสกุล เนื่องมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้าทุกเมื่อ.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 631

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ. บทว่าปิตุปิตามโห ความว่า เป็นของมีอยู่แห่งบิดามารดาและปู่ ย่า ตายาย. บทว่า อุทกํ ได้แก่ น้ำสําหรับล้างเท้า. บทว่า มชฺชํ ได้แก่น้ำมันสําหรับทาเท้า. บทว่า สพฺเพตํ แยกศัพท์ออกเป็น สพฺพํเอตํ. นิป อักษร ใน บทว่า นิปทามเส นี้ เป็นอุปสรรค.อธิบายว่า ทามเส แปลว่า ให้. ท่านอธิบายว่า ข้าพเจ้าย่อมให้.ด้วยบทว่า นิปทามเส นี้ ท่านแสดงความว่า วงศ์ของข้าพเจ้าเป็นวงศ์ของผู้ให้สืบมาชั่วเจ็ดสกุล. บทว่า อุตฺตมํ วิย าตกํ ความว่าข้าพเจ้าเห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม ย่อมบํารุงด้วยความเคารพคือด้วยมือของตน เหมือนบํารุงมารดาและบิดาฉะนั้น.

ก็พระโพธิสัตว์อยู่ในที่นั้นแสดงธรรมแก่พาราณสีเศรษฐีอยู่๒ - ๓ วัน แล้วกลับไปยังหิมวันตประเทศตามเดิม ได้ทําอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วประกาศสัจจะทรงประชุมชาดกว่า. ในเวลาจบสัจจะภิกษุนั้น ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. พาราณสีเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปีฐชาดกที่ ๗