ได้อ่านเอกสารว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด มีอยู่ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า ก็ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอนอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวัน ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง เวลากลางคืน ตอนยามต้น ก็ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ดิฉันสงสัยว่าใน สมัยพระพุทธกาล ก็มีการจงกรม การนั่ง ไม่ทราบเหมือนกับในยุคปัจจุบันหรือไม่ ที่คนไปปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งสมาธิ
บุคคลในสมัยพระพุทธกาล ก็มีการเดินจงกรม การนั่ง การยืน และ การนอน บุคคลในสมัยนี้ ก็มีการเดินจงกรม การนั่ง การยืน และ การนอน เหมือนกัน เพราะเป็นการบริหารอิริยาบถของร่างกายที่จะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไป แต่ปัญญา ความเข้าใจธัมมะ ต่างกันราวฟ้ากับดินทีเดียว เรื่องอิริยาบถคงไม่เป็นประมาณเพราะเป็นปกติของ สัตว์ทั้งหลาย แต่ความรู้ความเข้าใจสำคัญที่สุด ถ้าเข้าใจผิดแล้ว ทำอะไรก็ผิดไปหมดดังนั้นที่ต่างกันคือปัญญาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ถ้าเข้าใจผิดแล้ว ทำอะไรก็ผิดไปหมด
สาธุ
กิเลสไม่ได้หมดไปเพระการเดินจงกรม การนั่งนานๆ กิเลสจะดับได้คือมีความเข้าใจถูก ในเรื่องของสภาพธรรม หากเข้าใจถูก ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดินก็สามารถรู้ความจริงในขณะนั้น เพราะมีความจริงให้รู้ แต่ผู้เข้าใจผิด ไปหาธรรม ไปอยากรู้ความจริงด้วยการนั่ง การจงกรม ไม่ต้องไปหา มีอยู่แล้ว ขณะนี้ ขาดเพียงปัญญาเท่านั้น
ขออนุโมทนาค่ะ
พูดถึงเรื่องการจงกรม และการนั่ง เพื่อนดิฉันจะปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน จะตื่นตอนตี 4 มาปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งสมาธิ ทำมาเป็น 10 ปีกว่าแล้ว และทุกวันนี้ เขาก็ยังไป ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อปฏิบัติ ดิฉันชวนให้มาฟังธรรมที่มูลนิธิ เขาก็บอกไม่ว่าง งานเยอะ วันหยุดต้องทำงาน ไม่มีเวลา ก็เลยต้องปล่อย แล้วแต่เขา เหมือนที่ อจ.สุจินต์บอก แต่ละคนสะสมเหตุ ปัจจัยมาไม่เหมือนกัน จึงมีความคิดเห็นที่ต่างกัน เพื่อนดิฉันจะชอบนั่งสมาธิมาก ส่วนดิฉันชอบฟังธรรม ปัจจุบันไม่เคยนั่งสมาธิเลย แต่อดีตที่ผ่านมา เคยไปปฏิบัติตามสถานที่ต่างๆ มาเป็นเวลา 10 กว่าปี จึงรู้ว่าหลง ทางมานาน เพราะไม่เข้าใจ ได้แต่ทำตามที่แต่ละสำนักสอน พอมาฟังอจ.สุจินต์ที่ มูลนิธิอย่างต่อเนื่องเกือบ 1 ปี ทำให้เข้าใจเรื่องของการปฏิบัติที่ถูกต้องจริงๆ ว่าเป็น อย่างไร ดีใจที่ยังไม่สายเกินไป ทำให้พบหนทางที่ถูกต้อง แต่ก็อดเป็นห่วงเพื่อนไม่ได้ อยากให้เขาเข้าใจเรื่องปฏิบัติให้ถูก จะทำอย่างไรดีค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ