พรหมอาราธนาให้แสดงธรรม [อายาจนสูตร]
โดย JANYAPINPARD  7 พ.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 12280

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

พรหมสังยุต ๑

อายาจนสูตร

พรหมอาราธนาให้แสดงธรรม

[๕๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธแถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าที่สลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาคคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกันเกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัยเบิกบานแล้วในอาลัย จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรมแต่ชนเหล่าอื่น จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความลำบากของเรา. อนึ่ง ได้ยินว่า คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระ-ภาคเจ้า ไม่เคยได้ทรงสดับมาแต่ก่อน เกิดแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บัดนี้ เราไม่ควรจะประกาศธรรม ที่เราตรัสรู้แล้วโดยยาก ธรรมนี้ เหล่าสัตว์ ผู้ถูกราคะ โทสะ ครอบงำแล้ว จะตรัสรู้ไม่ ได้ง่าย เหล่าสัตว์ผู้ยินดีแล้วด้วยความ กำหนัด ถูกคลองแห่งความมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นดังนี้ พระหฤทัยก็ทรงน้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

[๕๕๖] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจแล้ว ได้มีความดำริว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายโลกจะฉิบหายหนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม. ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฎอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้อยู่ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดอยู่ ฉะนั้น. ครั้นแล้ว สหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกชาณุ-มณฑลเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ประนมอัญชลีในพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า



ความคิดเห็น 1    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 7 พ.ค. 2552

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

จงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นปกติก็มีอยู่ เพราะมิได้สดับย่อมเสื่อมจากธรรมสัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี. สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กราบทูลเป็นนิคมคาถาอีกว่า เมื่อก่อนธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ซึ่งศาสดา ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดแล้ว ปรากฏขึ้นใน หมู่ชนชาวมคธ ขอพระองค์จงทรงเปิด- ประตูอมตะเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟัง ธรรมซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากมลทิน ตรัสรู้แล้วเถิด ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญา ดี มีพระจักษุโดยรอบ ปราศจากความ โศกแล้ว จงเสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จ ด้วยธรรม จงพิจารณาชุมชนผู้จมอยู่ใน ความโศก ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว อุปมาเหมือนบุคคลผู้อยู่บนยอดภูเขา อัน ล้วนด้วยศิลา จะพึงเห็นชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ทรง ชนะสงความแล้ว ผู้ทรงนำพวก ผู้ไม่มีหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จงเสด็จ เที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงธรรมเถิด ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

[๕๕๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการเชื้อเชิญของพรหมและทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ก็ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่. ในกออุบลก็ดี กอปทุมก็ดี กอบุณฑริกก็ดี กอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดีดอกบุณฑริกก็ดี บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ อาศัยอยู่ในน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงอยู่ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้วแม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุก็ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่ ฉันนั้นครั้นทรงเห็นแล้ว จึงได้ตรัสตอบสหัมบดีพรหมด้วยพระคาถาว่า ประตูอมตะ เราเปิดแล้วเพราะท่าน ชนผู้ฟังจงหลั่งศรัทธามาเถิด ดูก่อนพรหม เราจะไม่มีความสำคัญในความลำบากแสดง ธรรมอันประณีตที่ชำนาญในหมู่มนุษย์. [๕๕๘] ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมดำริว่า เราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำโอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.


ความคิดเห็น 2    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 7 พ.ค. 2552

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

อรรถกถาอายาจนสูตร

ปฐมวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า ความปริวิตกทางใจที่พระ-พุทธเจ้าทุกพระองค์เคยสั่งสมอบรมมาเกิดขึ้นดังนี้. ถามว่า เกิดขึ้นเมื่อไร ตอบว่า เกิดในสัปดาห์ที่ ๘ ที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ทรงเคี้ยวไม้ชำระฟันและชิ้นสมอเป็นโอสถที่ท้าวสักกะจอมเทพนำมาถวายที่โคนไม้เกต ทรงบ้วนพระโอฐแล้ว เสวยปิณฑบาตของตปุสสะและภัลลิกะ ในบาตรหินที่ล้ำค่าอันท้าวโลกบาลทั้ง ๔ น้อมถวาย แล้วเสด็จกลับมาประทับนั่งที่ต้นอชปาลนิโครธ

บทว่า อธิคโต แปลว่า บรรลุแล้ว

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือสัจจะ ๔

บทว่า คมฺภีโร นี้เป็นบทห้ามความตื้น

บทว่า ทุทฺทโส ความว่า ชื่อว่าเห็นได้ยาก คือเห็นได้โดยลำบากอันใครๆ ไม่อาจเห็นได้สะดวกเพราะลึกซึ้ง ชื่อว่ารู้ตามได้ยาก คือพึงหยั่งรู้ได้โดยลำบาก เพราะเห็นได้โดยยากใครๆ ไม่อาจจะหยั่งรู้ได้สะดวก

บทว่า สนฺโต ได้แก่ ดับสนิท

บทว่า ปณีโต ได้แก่ ไม่รู้จักอิ่ม สองบทนี้ท่านกล่าวหมายโลกุตระเท่านั้น

บทว่า อตกฺกาวจโร ความว่า จะพึงค้นพึงหยั่งลงโดยการตรึกไม่ได้ พึงค้นได้ด้วยญาณเท่านั้น

บทว่า นิปุโณ ได้แก่ ละเอียด

บทว่า ปณฺฑิตเวทนีโย ทั้งหลาย ติดอยู่ในกามคุณ ๕ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่าอัลลยา ตัณหาวิปริต ๑๐๘ ก็ติดอยู่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าอัลลยา สัตว์ทั้งหลายชื่อว่า อาลยรามา เพราะยินดีด้วยอาลัยเหล่านั้น. ชื่อว่า อาลยรตา เพราะยินดีในอาลัยทั้งหลาย ชื่อว่า อาลยสมุทิตา เพราะเบิกบานในอาลัยทั้งหลาย ฯลฯ


ความคิดเห็น 3    โดย suwit02  วันที่ 10 พ.ค. 2552

ประตูอมตะเราเปิดแล้วเพราะท่าน ชนผู้จะฟังจงหลั่งศรัทธามาเถิด ดูก่อนพรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรมอันประณีตที่เราชำนาญในหมู่มนุษย์

สาธุ

ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสละนิพพานสุข อันมีในที่ใกล้พระหัตถ์ เมื่อครั้งยังเป็นพระสุเมธโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญบารมีอันกระทำได้ยาก ทรงยอมเวียนว่ายในสังสารวัฎฎ์ ตลอดกาลนาน แสนนาน เพียงเพื่อช่วยให้สัตว์ทั้งหลายได้บรรลุธรรมพ้นจากทุกข์


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 21 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น