หลักการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปกับพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนกัน คือ พระโพธิสัตว์
ท่านมีอัธยาศัยใหญ่ มีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญบารมี เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า การกระทำ
ของท่านจึงยิ่งกว่าคนทั่วไป คือ ทั้งบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี แต่เมื่อพระองค์
ตรัสรู้แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ให้ดำเนินชีวิตอีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ต้องมีหน้าที่
ที่ต้องรับผิดชอบ เงินที่หามาได้ต้องมีการแบ่งเป็นส่วนๆ คือ ใช้ส่วนหนึ่ง เก็บไว้ส่วน
หนึ่ง นำไปลงทุนประกอบการงานสองส่วน พระองค์ไม่ได้สอนให้ทุกคนบวชทั้งหมด
หรือสอนให้ทุกคน ให้ทานจนไม่มีเหลือ แต่พระองค์ทรงสอนธรรมแก่ผู้ที่มาฟังธรรม
ตามอัธยาศัยของผู้นั้น ถ้าเป็นบรรพชิตทรงสอนให้สละ และละทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ให้
รับหรือยินดีในสิ่งของที่ไม่เหมาะกับเพศบรรพชิต มีเงินทอง เป็นต้น ไม่ให้เก็บหรือ
สะสมสิ่งของ แม้แต่อาหารก็ไม่ให้เก็บไว้ข้ามคืน จีวรก็ทรงอนุญาตเพียงแค่ชุดเดียว
เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำสอนของพระพุทธองค์จึงไม่ขัดกันแต่อย่างได
พระโพธิสัตว์ที่เป็นคฤหัสถ์ก็มี ดังนั้นจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ในชีวิตประจำ
วัน เราก็ไม่รู้ว่าใครเป็นพระโพธิสัตว์ ดังนั้นเราควรประพฤติกับบุคคลที่ให้จนหมด
อย่างไรเพราะถ้าไปห้ามเขา เกิดเขาบำเพ็ญบารมีอยู่ไม่ซวยหรือคะ
เราสามารถแนะนำในการให้ทานที่พอสมควรกับการดำเนินชีวิต ที่จะไม่ทำให้
บุคคลรอบข้างเดือดร้อน เป็นการพูดด้วยเจตนาที่ดี ไม่ชื่อว่าเป็นการห้ามการให้ทาน
ขอนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์ ผู้มีกรุณา รื้อสัตว์โลกโดยมิได้สนใจความลำบาก
ของตนหรือคำติเตียนจากบุคคลอื่น อันมาจากการกระทำของท่านอันประกอบด้วย
เจตนาที่ประพฤติเพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ที่เต็มไปด้วยกิเลส และบุคคลที่คิดได้อย่าง
นี้คือ คิดถึงความทุกข์ของคนอื่นก่อน หรือคิดถึงความสุขของคนอื่นก่อนเสมอ โดย
ตัวเองยอมลำบากทุกอย่างเพื่อให้บุคคลอื่นมีความสุข และพ้นจากทุกข์ก็หาได้ยาก
เหลือเกิน ดังนั้น คนที่มีอัธยาศัยอย่างนี้หาได้ยาก พระพุทธเจ้าจึงเกิดได้ยากครับ
นึกถึงคนอื่นก่อนเสมอในเรื่องของความสุขที่จะได้รับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขึ้นชื่อว่าโพธิสัตว์ การกระทำทุกอย่างของท่าน เป็นไปเพื่อบารมี ไม่เฉพาะ
แต่ในเรื่องทานเท่านั้น โพธิสัตว์แปลว่าผู้ข้องอยู่ในธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้ ซึ่งเป็น
เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิตของท่านในแต่ละชาติ ท่านสละได้แม้แต่ชีวิต จะ
กล่าวไปใยกับการให้ทรัพย์จนหมดไม่เหลือ ท่านไม่ปรารถนาสิ่งใดๆ ในโลก เพราะพระ
โพธิญานเท่านั้นเป็นที่รักของท่าน
ขอนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีใจเด็ดเดียวมั่นคงในการสร้างบารมี
เพื่อขจัดธุลีในดวงตาของสัตว์โลกให้พ้นจากวัฏฏะทุกข์
หลักการใช้จ่ายทรัพย์ 4 อย่าง
ส่วนหนึ่ง ใช้เลี้ยงตนเอง และเลี้ยงบุคคลที่ควรเลี้ยง ให้เป็นสุข , สองส่วน
ใช้สำหรับประกอบการงาน และอีกส่วนหนึ่ง เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น จึงรวมเป็น 4
ส่วนพอดีค่ะ
เราจะเปรียบเทียบกับอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ไม่ได้ แม้แต่ผู้ที่เป็นพระโสดาบัน
ถึงท่านจะละความตระหนี่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าท่านจะให้จนหมดสิ้น เช่น ท่านอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี และ นางวิสาขาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ