[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 80
สุตตนิบาต
จูฬวรรคที่ ๒
อามคันธสูตรที่ ๒
ว่าด้วยมีกลิ่นดิบ ไม่มีกลิ่นดิบ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 80
อามคันธสูตรที่ ๒
ว่าด้วยมีกลิ่นดิบไม่มีกลิ่นดิบ
ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถา ความว่า
[๓๑๕] สัตบุรุษทั้งหลายบริโภค ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบไม้ เหง้ามัน และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนากาม กล่าวคำเหลาะแหละไม่.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้อื่นทำสำเร็จดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อมไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี กับเนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 81
พระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การจองจำ การลัก การพูดเท็จ การกระทำด้วยความหวัง การหลอกลวง การเรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยาผู้อื่น นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปนด้วยของไม่สะอาด มีความเห็นว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร ไม่มีความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และไม่ให้อะไรๆ แก่ใครๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 82
ของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า กลิ่นดิบเลย.
ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็นคนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา ความยกตน ความถือตัว ความดูหมิ่น และ ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่า กลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปรกติประพฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทราม กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในประสัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการเบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 83
สัตว์เหล่าใดกำหนัดแล้วในสัตว์เหล่านี้ โกรธเคือง ฆ่าสัตว์ ขวนขวายในอกุศลเป็นนิตย์ ตายไปแล้วย่อมถึงที่มืด มีหัวลง ตกไปสู่นรก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ เลย.
การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็นคนประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น การเกล้าชฎา ความเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ การบำเรอไฟ หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไปด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การย่างกิเลสเป็นอันมากในโลก มนต์และการ เซ่นสรวง ยัญและการซ่องเสพฤดู ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัยให้หมดจดได้.
ผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหกเหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์แล้ว ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อนโยน ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรมที่เห็นแล้ว และฟังแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 84
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกความข้อนี้บ่อยๆ ด้วยประการฉะนี้ ติสสดาบส ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ได้ทราบความข้อนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี ทรงประกาศด้วยพระคาถาทั้งหลาย อันวิจิตรว่า บุคคลผู้ที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ตามรู้ได้ยาก.
ติสสดาบสฟังบทสุภาษิตซึ่งไม่มีกลิ่นดิบ อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นผู้มีใจนอบน้อม ถวายบังคมพระบาทของตถาคต ได้ทูลขอบรรพชา ณ ที่นั่งนั่นแล.
จบอามคันธสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 85
อรรถกถาอามคันธสูตรที่ ๒
อามคันธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ เป็นต้น
ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?
ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์ชื่อว่า อามคันธะ บรรพชาเป็นดาบสพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน ให้สร้างอาศรมอยู่ในระหว่าง ภูเขา (หุบเขา) มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ที่หุบเขาแห่งนั้น ดาบสไม่บริโภคปลาและเนื้อเลย. ครั้งนั้นโรคผอมเหลืองก็เกิดขึ้นแก่ดาบส เหล่านั้น ผู้ไม่บริโภคของเค็ม ของเปรี้ยวเป็นต้น. ต่อแต่นั้น ดาบสเหล่านั้นก็ พูดกันว่า เราจะไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว ดังนี้แล้ว จึงได้เดินทางไปถึงปัจจันตคาม ในปัจจันตคามนั้นมนุษย์ทั้งหลายเห็นดาบสเหล่านั้น แล้วก็เลื่อมใสในดาบสเหล่านั้น นิมนต์ให้ฉันอาหาร มนุษย์ทั้งหลายได้น้อม เตียง ตั่ง ภาชนะสำหรับบริโภคและน้ำมันทาเท้าเป็นต้น แก่ดาบสเหล่านั้น ผู้ทำภัตกิจเสร็จแล้ว แสดงที่เป็นที่อยู่ด้วยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงอยู่ในที่นี้. ขอพวกท่านอย่าได้กระสันต์ ดังนี้แล้วก็พากันหลีกไป แม้ในวันที่สอง พวกมนุษย์ได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้น แล้วได้ถวายทานวันละ ๑ บ้านตามลำดับเรือนอีก ดาบสทั้งหลายอยู่ในที่นั้นสิ้น ๔ เดือน มีร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะได้เสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงได้บอกแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย (อาวุโสทั้งหลาย) พวกเราจะไปละ. มนุษย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 86
ได้ถวายน้ำมันและข้าวสารเป็นต้น แก่ดาบสเหล่านั้น. ดาบสเหล่านั้นถือเอาน้ำมันและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น ได้ไปยังอาศรมของตนนั้นเอง (ตามเดิม) ก็ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้นทุกๆ ปีเหมือนอย่างเคยปฏิบัติมา แม้พวกมนุษย์ ทราบว่าดาบสเหล่านั้นพากันมา จึงได้ตระเตรียมข้าวสารเป็นต้น ต้องการเพื่อจะถวายทาน และได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้นผู้มาแล้ว เหมือนเช่นทุกครั้ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงธรรมจักรอันบวรแล้ว เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี นั้น ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของดาบสเหล่านั้น เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีนั้น มีหมู่ภิกษุแวดล้อม เสด็จจาริกไปอยู่ เสด็จถึงบ้านนั้นตามลำดับ มนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ถวายมหาทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ธรรมแก่มนุษย์เหล่านั้น ด้วยพระธรรมเทศนานั้น มนุษย์เหล่านั้นบางพวก สำเร็จเป็นพระโสดาบัน บางพวกสำเร็จเป็นพระสกทาคามี และพระอนาคามี บางพวกบรรพชาแล้วบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จกลับมายังกรุงสาวัตถีเช่นเดิมอีก. ครั้งนั้น ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลาย เห็นพวกดาบสแล้ว ก็ไม่ได้ทำการโกลาหลเช่นกับในคราวก่อน ดาบสทั้งหลาย ถามพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย เพราะเหตุไรมนุษย์เหล่านี้จึงไม่เป็นเช่นกับคราวก่อน หมู่บ้านแห่งนี้ ถูกลงราชอาชญาหรือหนอแล หรือว่าถูกประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัย หรือว่ามีบรรพชิตบางรูปซึ่งสมบูรณ์ด้วยคุณมีศีล เป็นต้นมากกว่าพวกเรา ได้มาถึงหมู่บ้านแห่งนี้.
มนุษย์เหล่านั้นเรียนว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บ้านนี้จะถูกลงราชอาชญาก็หาไม่ ทั้งจะถูกประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัยก็หาไม่ ก็แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 87
อุบัติขึ้นแล้วในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จมา ณ หมู่บ้านแห่งนี้. อามคันธดาบส ฟังคำนั้นแล้วจึงพูดว่า คหบดีทั้งหลาย พวกท่านพูดว่า พุทฺโธ ดังนี้หรือ?
มนุษย์ทั้งหลายกล่าวขึ้นสิ้น ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าย่อมกล่าวว่า พุทฺโธ ดังนี้. อามคันธดาบสยินดีแล้วเปล่งวาจาแสดงความยินดีว่า แม้เสียงว่า พุทฺโธ นี้แล เป็นเสียงที่หาได้ยากในโลก ดังนี้ จึงได้ถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบหรือหนอแล หรือว่าไม่เสวยกลิ่นดิบ.
พวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไรคือกลิ่นดิบ อามคันธดาบส กล่าวว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ. มนุษย์ทั้งหลาย กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลาและเนื้อ. ดาบสฟังคำ นั้นแล้วก็เกิดวิปฏิสาร (เดือดร้อนใจ) ว่า บุคคลผู้นั้นจะพึงเป็นพระพุทธเจ้าหรือ หรือว่าไม่พึงเป็นพระพุทธเจ้า. ดาบสนั้นคิดอีกว่า ชื่อว่าการปรากฏขึ้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย บุคคลได้โดยยาก เราไปเฝ้าพระองค์แล้วถาม จักทราบได้.
ต่อจากนั้น ดาบสนั้นจึงได้ไปยังที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ถามหนทางนั้นกะมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รีบร้อนประดุจแม่โคที่หวงลูก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถี โดยการพักคืนหนึ่งในที่ทุกแห่ง เข้าไปยังพระเชตวันนั้นแล พร้อมกับบริษัทของตน. แม้พระผู้มีพระภาคเข้าทรงประทับนั่งบนอาสนะเพื่อแสดงธรรมใน สมัยนั้น ดาบสทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้นิ่งไม่ถวายบังคม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 88
ได้นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปราศรัยแสดงความชื่นชมกับดาบสเหล่านั้น โดยนัยว่า ท่านฤาษีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพออดทนได้ ละหรือ ดังนี้เป็นต้น. แม้ดาบสเหล่านั้นก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายพออดทนได้ ดังนี้เป็นต้น. ลำดับนั้นอามคันธฤาษี ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่เสวย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ ชื่อว่ากลิ่นดิบนั้นคือ อะไร? ดาบสนั้นทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ ก็แลกิเลสทั้งปวงที่เป็นบาป เป็นอกุศลธรรม ชื่อว่ากลิ่นดิบ แล้วตรัสว่า ดูก่อน พราหมณ์ ตัวท่านเองได้ถามถึงกลิ่นดิบในกาลบัดนี้ก็หามิได้ แม้ในอดีต พราหมณ์ชื่อว่าติสสะก็ได้ถามถึงกลิ่นดิบกะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะแล้ว ก็ติสสพราหมณ์ได้ทูลถามแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์แล้วอย่างนี้ ดังนี้ แล้วได้ทรงนำมาซึ่งพระคาถาที่ติสสพราหมณ์ และพระผู้มี พระภาคเจ้ากัสสปะตรัสแล้วนั้นแล เมื่อจะให้อามคันธพราหรมณ์ทราบด้วยคาถาเหล่านี้ จะตรัสว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ ดังนี้เป็นต้น. นี่คือเหตุเกิดขึ้นแห่งพระสูตรนี้ ในที่นี้เพียงเท่านี้ก่อน แต่ในอดีตกาลมีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์พระนามว่ากัสสปะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย กับแสนกัป ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีชื่อว่า ธนวดี ปชาบดีของ พรหมทัตตพราหมณ์ในเมืองพาราณสี แม้อัครสาวกก็เคลื่อนจากเทวโลกในวันนั้นเหมือนกัน อุบัติในครรภ์ของปชาบดีของพราหมณ์ผู้เป็นอนุปุโรหิต การถือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 89
ปฏิสนธิและการคลอดจากครรภ์ของพระโพธิสัตว์ และอัครสาวกทั้งสองนั้น ได้มีแล้วในวันเดียวกันนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งว่า กัสสปะ บุตรของพราหมณ์คนหนึ่งว่า ติสสะ ในวันเดียวกันนั้นเอง. เด็กทั้งสองเหล่านั้นเป็นสหายเล่นฝุ่นกันมา ได้ถึงความเจริญวัย โดยลำดับ. บิดาของติสสะได้สั่งลูกชายว่า ดูก่อนพ่อ สหายกัสสปะนี้ออกบวชแล้ว จะเป็นพระพุทธเจ้า แม้เจ้าเองบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะนั้นแล้ว ก็จะพึงทำการสลัดออกจากภพเสียได้. ติสสะนั้นรับว่า ดีละ แล้วก็ไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย แม้เราทั้งสองจักบรรพชาด้วยกัน. พระโพธิสัตว์รับว่า ดีละ. ต่อจากนั้นในกาลที่สหายทั้งสองเจริญวัยโดยลำดับ ติสสะพูดกับพระโพธิสัตว์ว่า สหาย มาเถิดเราจะบรรพชาด้วยกัน. พระโพธิสัตว์มิได้ออกบรรพชา. ติสสะคิดว่า ญาณของสหายนั้น ยังไม่ถึงกาลแก่รอบก่อน ดังนี้แล้ว ตนเองจึงได้ออกบวชเป็นฤาษี ให้สร้างอาศรมอยู่ที่เชิงภูเขาในป่า. ในสมัยต่อมา แม้พระโพธิสัตว์ ทั้งๆ ที่ดำรงอยู่ ในเรือนนั้นเอง ก็กำหนดอานาปานสติ ทำฌาน ๔ และอภิญญาให้บังเกิดขึ้น แล้วเสด็จไปที่ใกล้โคนต้นโพธิด้วยปราสาท (ด้วยฤทธิ์) แล้วอธิษฐานอีกว่า ขอปราสาทจงดำรงอยู่ในที่ตามเดิมนั้นแล. ปราสาทนั้นก็ไปประดิษฐานอยู่ในที่ของตนตามเดิม. ได้ยินว่าพระโพธิสัตว์ที่มิใช่บรรพชิต ไม่อาจจะเข้าถึงโคนต้นโพธิได้ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์บรรพชาแล้วจึงไปถึงโคนต้นโพธิ นั่งทำความเพียรอยู่ ๗ วัน ทำให้แจ้งแล้วซึ่งสัมโพธิญาณโดยใช้เวลา ๗ วัน.
ณ กาลครั้งนั้น ที่ป่าอิสิปตนะมีบรรพชิตอยู่ถึง ๒ หมื่นรูป ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ตรัสเรียกบรรพชิตเหล่านั้นมาแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 90
ทรงแสดงธรรมจักร ในเวลาจบพระสูตรนั้นเอง บรรพชิตทุกรูปก็เป็นพระอรหันต์ ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็น บริวาร ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนะนั้นนั่นเอง และพระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกี ทรงอุปัฏฐากพระองค์ด้วยปัจจัย ๔.
ต่อมาวันหนึ่ง บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง แสวงหาวัตถุทั้งหลาย มีแก่นจันทน์เป็นต้นที่ภูเขา ลุถึงอาศรมของติสสดาบส อภิวาทดาบสนั้นแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง. ดาบสเห็นบุรุษนั้นแล้วถามว่า ท่านมาจากที่ไหน บุรุษนั้นตอบว่า ผมมาจากเมืองพาราณสีขอรับ. ดาบสถามว่า ความเป็นไปที่เมืองพาราณสีนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. บุรุษนั้นตอบว่า ท่านผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ. บังเกิดขึ้นแล้วที่เมืองพาราณสีนั้น. ดาบส ได้สดับคำที่ฟังได้โดยยากก็เกิดปีติโสมนัส แล้วถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยกลิ่นดิบหรือไม่เสวย. บุรุษนั้นถามว่า กลิ่นดิบคืออะไรขอรับ.
ดาบสตอบว่า กลิ่นดิบคือปลาและเนื้อสิคุณ.
บุรุษนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลา และเนื้อ. ดาบสฟังคำนั้น แล้วก็เกิดวิปฏิสาร ดำริอีกว่า เราจะไปทูลถามพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ถ้าหากว่าพระองค์จักตรัสว่า เราบริโภคกลิ่นดิบ ต่อแต่นั้น เราก็จะห้ามพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่เหมาะสม แก่ชาติและสกุลของพระองค์ ดังนี้แล้วคิดว่า เราบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักกระทำการสลัดออกจากภพได้ ดังนี้แล้วจึงได้ถือเอาอุปกรณ์ (บริขาร) ที่เบาๆ ไปถึงเมืองพาราณสีในเวลาเย็น โดยการพักราตรีเดียวในที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 91
ทั้งปวง เข้าไปแล้วสู่ป่าอิสิปตนะนั้นเอง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในสมัยนั้นนั่นเอง. ดาบสเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ถวายบังคม เป็นผู้นิ่งได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว ตรัสปฏิสันถารโดยนัยที่ข้าพเจ้า กล่าวแล้ว ในตอนต้นนั้นแล. แม้ดาบสนั้นกล่าวคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะผู้เจริญ พระองค์ทรงพออดทนได้อยู่หรือ." ดังนี้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระกัสสปะผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ เราหาได้เสวยกลิ่นดิบไม่. ดาบสทูลว่า ข้าแต่พระกัสสปะผู้เจริญ สาธุ สาธุ พระองค์เมื่อไม่เสวยซากศพของสัตว์อื่น ได้ทรงกระทำกรรมดีแล้ว ข้อนั้นสมควรแล้วแก่ชาติ สกุล และโคตรของพระกัสสปะผู้เจริญ.
ต่อแต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงดำริว่า เราพูดว่าเราไม่บริโภคกลิ่นดิบ ดังนี้หมายถึง (กลิ่นดิบ) คือกิเลสทั้งหลาย พราหมณ์เจาะจงเอาปลาและเนื้อ ทำอย่างไรหนอ เราจะไม่เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตพรุ่งนี้ จะพึงบริโภคบิณฑบาตที่เขานำมาจากวังของพระเจ้ากิกิ คาถาปรารภกลิ่นดิบจักเป็น ไปอย่างนี้ ต่อแต่นั้นเราจะให้พราหมณ์เข้าใจได้ ด้วยพระธรรมเทศนาด้งนี้แล้ว ทรงทำบริกรรมสรีระแต่เช้าตรู่ในวันที่สอง เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายเห็นพระคันธกุฎีปิด จึงรู้ได้ว่าวันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ประสงค์จะเสด็จเข้าไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงได้กระทำปทักษิณพระ คันธกุฎี แล้วเข้าไปเพื่อบิณฑบาต แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากพระคันธกุฎี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 92
แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายดาบสแลต้มกิ่งใบไม้ แล้วเคี้ยวกิน แล้วนั่งอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้ากาสิกราชพระนามว่า กิกิ เห็นภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตจึงตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปไหน และได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหาร มหาบพิตร. แล้วจึงได้ทรงสั่งโภชนะที่ถึงพร้อมด้วยกับและรสต่างๆ สมบูรณ์ด้วยชนิดของเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
อำมาตย์ทั้งหลายไปสู่วิหาร กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายน้ำทักษิโณทก เมื่อจะอังคาสก็ได้ถวายข้าวยาคู อันถึงพร้อมด้วยเนื้อนานาชนิด เป็นครั้งแรก ดาบสเห็นแล้วจึงได้ยืนคิดอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสวยหรือไม่หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อดาบสนั้นดูอยู่นั้นแล จึงทรงดื่มข้าวยาคู ทรงใส่ชิ้นเนื้อเข้าไปในพระโอษฐ์ ดาบสเห็นแล้วก็โกรธ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่มข้าวยาคูเสร็จแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายก็ได้ถวายโภชนะอันประกอบด้วยกับข้าว อันมีรสต่างๆ อีก ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโภชนะ แม้นั้นเสวยอยู่ ก็โกรธยิ่งขึ้น กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ฉันปลาและเนื้อ.
ครั้งนั้น ดาบสได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จ แล้ว ทรงล้างมือและเท้าประทับนั่งอยู่ ทูลว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะผู้เจริญ ท่านตรัส คำเท็จ ข้อนั้นไม่ใช่กิจของบัณฑิต ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรง ติเตียนมุสาวาทไว้แล้ว แม้พวกฤาษีเหล่านั้นเหล่าใดยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย มูลผลาผลในป่า อยู่ ณ เชิงเขา ฤาษีแม้เหล่านั้นก็ไม่ยอมพูดเท็จ เมื่อจะพรรณนาคุณทั้งหลายของฤาษีทั้งหลายด้วยพระคาถา จึงกล่าวว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 93
ติญชาติและธัญชาติที่เข้าถึงซึ่งความเป็นสิ่งอันบุคคลขจัด (เปลือกออกเสียแล้ว) หรือว่าเลือกเอาแต่รวงทั้งหลายแล้วถือเอา ชื่อว่า ข้าวฟ่าง ในคาถานั้น อนึ่ง ลูกเดือย (จิงฺคูลกา) มีรวงซึ่งมีสัณฐานเหมือนดอกกณวีระ.
ถั่วเขียว (จีนกานิ) ซึ่งเขาปลูกแล้ว เกิดขึ้นที่เชิงเขาในดง ชื่อว่า จีนกานิ.
ใบไม้ (สีเขียว) อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปตฺตปฺผลํ.
เผือกมันอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มูลปฺผลํ.
ผลไม้และผลเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ควิปฺผลํ.
อีกประการหนึ่ง เผือกมัน ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า มูล.
ผลไม้และผลแห่งเถาวัลย์ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ผล.
ผลแห่งกระจับและแห้วเป็นต้น ซึ่งเกิดในน้ำ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ควิปฺผล.
สองบทว่า ธมฺเมน ลทฺธํ ความว่า ละมิจฉาชีพ มีการเป็นทูตรับใช้ และการไปสื่อข่าว แล้วได้มาด้วยการท่องเที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ.
พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้สงบ ชื่อว่า สตํ.
บทว่า อสมานา ได้แก่ บริโภคอยู่.
ด้วยบาทพระคาถาว่า น กามกามา อลิกํ ภณนฺติ ฤๅษีย่อมแสดงถึงการติเตียนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการสรรเสริญฤๅษีทั้งหลายว่า ฤๅษีทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ยึดถือของของตน บริโภคอยู่ซึ่งข้าวฟ่างเป็นต้นเหล่านั้น อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พูดคำเหลาะแหละเพราะปรารถนากาม คือว่าปรารถนากาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 94
อยู่ก็ไม่พูดคำเท็จ อย่างที่พระองค์ปรารถนากามทั้งหลายอันมีรสอร่อยเป็นต้น เสวยกลิ่นดิบอยู่นั้นแล ก็ยังตรัสว่า พราหมณ์ เราหาบริโภคกลิ่นดิบไม่ ชื่อว่าตรัสคำไม่จริง (เหลาะแหละ) ดังนี้. พราหมณ์ครั้นติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการอ้างคำสรรเสริญฤๅษีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดง เรื่องการติเตียนตามที่ตนประสงค์ จะติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยนิปปริยาย จึงได้กล่าวว่า ยทสมาโน เป็นต้น.
ท อักษรในคาถานั้นเป็นการเชื่อมบท แต่เนื้อความมีดังต่อไปนี้ :- เนื้อนกมูลไถหรือเนื้อนกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระทำดีแล้วด้วยการ บริกรรมในเบื้องต้น มีการล้างและการหั่นเป็นต้น สำเร็จดีแล้วด้วยการบริกรรมในภายหลัง มีการปรุงและการย่างเป็นต้น อันชนเหล่าอื่นผู้ใคร่ธรรมซึ่งสำคัญ อยู่ว่า ท่านผู้นี้ไม่ใช่มารดา ไม่ใช่บิดา (ของเรา) แต่อีกอย่างหนึ่งแล ท่านผู้นี้เป็นทักขิเณยยบุคคล ดังนี้ ได้ถวายไป ชื่อว่าตกแต่งดีแล้วในการกระทำสักการะ.
ชื่อว่า ประณีต คือตกแต่งเรียบร้อย คือว่าประณีต เพราะเป็นโภชนะมีรสเลิศ เพราะเป็นโภชนะมีโอชะ เพราะเป็นโภชนะที่สามารถจะนำมา ซึ่งกำลังและไขมัน พระองค์เสวยอยู่ คือให้นำมาอยู่ คือว่าพระองค์เสวยเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้แล พระองค์เสวยข้าวสาลีแม้นี้ ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีซึ่งได้เลือกกากออกแล้ว ดาบสเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอ้างพระโคตรว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบ. พระองค์เสวยอยู่ซึ่งเนื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง และเสวยอยู่ซึ่งข้าวสาลีนี้ ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระองค์ชื่อว่าเสวยกลิ่นดิบ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 95
ดาบสครั้นติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอาหารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะยกเรื่องมุสาวาทขึ้นติเตียน จึงกล่าวว่า น อามคนฺโธ ฯเปฯ สุสงฺขเตหิ
เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ดาบสเมื่อกล่าวบริภาษอยู่ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม ผู้เว้นจากคุณของพราหมณ์ ข้า แต่ท่านผู้เป็นพราหมณ์ผู้สมมติแต่เพียงชาติ พระองค์เป็นผู้ที่ข้าพระองค์ทูลถามในกาลก่อนแล้ว พระองค์ก็ตรัสอย่างนี้ว่า คือว่าพระองค์ตรัสโดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า ดังนี้.
บทว่า สาลีนมนฺนํ ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี.
บทว่า ปริภุญฺชมาโน ได้แก่ บริโภคอยู่.
บาทคาถาว่า สกุนฺตมํเสหิ สุสงฺขเตหิ ความว่า ดาบสกล่าวถึงเนื้อนกซึ่งพระราชานำมาถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น ก็ดาบสเมื่อจะ กล่าวอย่างนี้นั้นเอง จึงได้แหงนมองดูพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเบื้องล่างตั้งแต่ฝ่าพระบาทจนถึงปลายพระเกศาในเบื้องบน จึงได้เห็นความสมบูรณ์แห่งพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ รวมทั้งได้เห็นการแวดล้อมแห่งพระรัศมีที่ขยายออกไปวาหนึ่ง จึงคิดว่า ผู้ที่มีกายประดับด้วยมหาปุริสลักษณะเป็นต้นเห็นปานนี้ ไม่ควรที่จะพูดเท็จ ก็พระอุณาโลมนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างคิ้ว สีขาวอ่อนนุ่มคล้ายนุ่น และขนที่ขุมขนทั้งหลาย เป็นอเนกเกิดขึ้นแก่ท่านผู้นี้. เพราะผลอันไหลออกแห่งสัจวาจา แม้ในระหว่างภพนั้นเอง ก็บุคคลเช่นนี้นั้นจะพูดเท็จในบัดนี้ได้อย่างไร กลิ่นดิบของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องเป็นอย่างอื่นแน่แท้ พระองค์ตรัสคำนี้หมายถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 96
กลิ่นอันใดว่า พราหมณ์เราหาได้บริโภคกลิ่นดิบไม่ ดังนี้ ไฉนหนอเราจะพึง ถามถึงกลิ่นนั้น เป็นผู้มีมานะมากับเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจะเจรจาด้วยอำนาจโคตรนั้นเอง จึงกล่าวคาถาที่เหลือนี้ว่า :-
ข้าแต่ท่านกัสสปะ ข้าพระองค์ขอถามเนื้อความนี้กะพระองค์ว่า กลิ่นดับของพระองค์มีประการเป็นอย่างไร ดังนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ถึงกลิ่นดิบแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ปาณาติปาโต ดังนี้.
การฆ่าสัตว์ชื่อว่า ปาณาติบาต ในคาถานั้น. ในคำว่า วธจฺเฉทพนฺธนํ นี้ มีอธิบายว่า การทุบตีทำร้ายสัตว์ทั้งหลายด้วยท่อนไม้เป็นต้น ชื่อว่า วธะ การทุบตี การตัดมือและเท้าเป็นต้น ชื่อว่า เฉทะ การตัด การจองจำด้วยเชือกเป็นต้น ชื่อว่า พันธนะ การจองจำ.
การลักและการพูดเท็จ ชื่อว่า เถยยะและมุสาวาท.
การให้ความหวังเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักให้ เราจักกระทำ แล้วก็ทำให้หมดหวังเสีย ชื่อว่า นิกติ การกระทำให้มีความหวัง.
การให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ทองว่าเป็นทองเป็นต้น ชื่อว่า วัญจนา การหลอกลวง.
การเล่าเรียนคัมภีร์เป็นอเนกที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า อัชเฌนกุตติ การเรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์.
ความประพฤติผิดในภรรยาที่ผู้อื่นหวงแหน ชื่อว่า ปรทารเสวนา การคบหาภรรยาผู้อื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 97
บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า ความประพฤติด้วยอำนาจอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นนี้ ชื่อว่า อามคันธะ กลิ่นดิบ คือ เป็นกลิ่นที่มีพิษ เป็นกลิ่นดุจซากศพ. ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะไม่เป็นที่พอใจ เพราะคลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาดคือ กิเลส เพราะเป็นของที่สัปบุรุษทั้งหลายเกลียด และเพราะนำมาซึ่งความเป็นกลิ่นที่เหม็นอย่างยิ่ง.
สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งมีกิเลสอันบังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่าใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งกว่ากลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น แม้ร่างที่ตายแล้วของคนที่หมดกิเลสทั้งหลาย ก็ยังไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็น เพราะฉะนั้น กลิ่นนี้ (คือการฆ่าสัตว์เป็นต้น) จึงเป็นกลิ่นดิบ ส่วนเนื้อและโภชนะที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้ เพราะฉะนั้น เนื้อและโภชนะจึงไม่ใช่กลิ่นดิบเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยนัยหนึ่ง ด้วยเทศนา ที่เป็นธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นๆ ประกอบด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้นๆ สัตว์ผู้หนึ่งเท่านั้น จะประกอบด้วยกลิ่นดิบทุกอย่างก็หามิได้ และกลิ่นดิบทุกอย่าง จะประกอบกับสัตว์ผู้เดียวเท่านั้น ก็หามิได้ ฉะนั้นเมื่อจะทรงประกาศกลิ่นดิบเหล่านั้นๆ แก่สัตว์เหล่านั้น เมื่อจะทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคคลธิษฐานก่อนโดยนัยว่า ชนทั้งหลาย เหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมแล้วในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น จึงได้ทรงภาษิต พระคาถา ๒ พระคาถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 98
ในบาทพระคาถานั้น คาถาว่า เย อิธ กาเมสุ อสญฺตา ชนา ความว่า ปุถุชนจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่สำรวม เพราะทำลายความสำรวมเสียแล้ว ในกามทั้งหลายกล่าวคือการเสพกาม โดยการเว้นเขตแดนในชนทั้งหลายมีมารดาและน้าสาวเป็นต้น.
สองบทว่า รเสสุ คิทฺธา ความว่า เกิดแล้ว คือเยื่อใยแล้ว สยบแล้ว คือได้ประสบแล้ว ในรสทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณเป็นผู้มีปกติ เห็นว่าไม่มีโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภครสทั้งหลายอยู่.
บทว่า อสุจีกมิสฺสิตา ความว่า คลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาด กล่าวคือมิจฉาทิฏฐิมีประการต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่การได้รส เพราะความติดในรสนั้น.
บทว่า นติถีกทิฏฺิ ความว่า ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง เช่น มิจฉาทิฏฐิข้อที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น.
บทว่า วิสมา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่สม่ำเสมอ.
บทว่า ทุรนฺนยา ความว่า เป็นผู้อันบุคคลอื่นแนะนำได้โดยยาก ได้แก่ ผู้ที่ประกอบด้วยการไม่สละคืน การยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ผิดๆ.
บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า พึงทราบกลิ่นดิบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงเฉพาะในบุคคล ด้วยคาถานี้ว่ามี ๖ ชนิด ด้วยอรรถที่พระองค์ตรัสไว้ในตอนต้น แม้อื่นอีกว่า ความไม่สำรวมในกาม ๑ การติดในรส ๑ อาชีววิบัติ ๑ นัตถิกทิฏฐิ ๑ ความเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอในทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น ๑ ความเป็นผู้แนะนำได้ยาก ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 99
คำว่า น หิ มํสโภชนํ ความว่า ก็เนื้อและโภชนะหาใช่กลิ่นดิบไม่ ด้วยอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้นั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
สองบทว่า เย ลูขสา ความว่า ชนเหล่าใด เศร้าหมอง ไม่มีรส อธิบายว่า ประกอบตนไว้ในอัตตกิลมถานุโยค.
บทว่า ทารุณา ได้แก่ หยาบช้า กักขละ คือประกอบด้วยความเป็นผู้ว่ายาก.
บทว่า (ปร) ปิฏฺิมํสิกา ความว่า ต่อหน้า ก็พูดไพเราะ แล้วก็พูดติเตียนในที่ลับหลัง จริงอยู่ ชนทั้งหลายเหล่านี้ ไม่อาจจะแลดูซึ่งหน้าได้ เป็นราวกะว่าแทะเนื้อหลังของชนทั้งหลายลับหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า หน้าไว้หลังหลอก.
บทว่า มิตฺตทุพฺภิโน คือ ผู้ประทุษร้ายมิตร มีคำอธิบายว่า ปฏิบัติผิดต่อมิตรทั้งหลายผู้ให้ความคุ้นเคย ในเรื่องภรรยา ทรัพย์ และชีวิต ในที่นั้นๆ.
บทว่า นิกฺกรุณา ความว่า ปราศจากความเอ็นดู คือต้องการให้สัตว์ทั้งหลายพินาศ.
บทว่า อติมาโน ได้แก่ ประกอบด้วยการถือตัวจัด ดังที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยกระทบถึงชาติกำเนิด ฯลฯ หรือด้วยอ้างถึงวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ความถือตัวเห็นปานนี้ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตเหมือนกับธง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 100
บทว่า อทานสีลา คือ มีปกติไม่ให้ ได้แก่ มีจิตใจน้อมไปเพื่อไม่ให้ อธิบายว่า ไม่ยินดีในการจ่ายแจก.
หลายบทว่า น จ เทนฺติ กสฺสจิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่มีปกติไม่ให้นั้น แม้จะเป็นผู้ถูกขอก็ไม่ยอมให้อะไรแก่ใครๆ คือว่าเป็นเช่นกับด้วยมนุษย์ในสกุลอทินนปุพพกะพราหมณ์ ย่อมจะเกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ในสัมปรายภพ.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาทานสีลา ดังนี้ก็มี ความว่า เป็นผู้มีปกติรับอย่างเดียว แต่ก็ไม่ยอมให้อะไรๆ แก่ใครๆ.
บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบว่ากลิ่นดิบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจาะจงบุคคลทั้งหลายด้วยคาถา นี้มี ๘ ชนิด ด้วยอรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในตอนต้นอื่นอีกคือ ความเป็นผู้มีรสที่เศร้าหมอง ๑ ความทารุณ ๑ หน้าไหว้หลังหลอก ๑ ความเป็นผู้คบมิตรชั่ว ๑ การไร้ความเอ็นดู ๑ การถือตัวจัดหนึ่ง ๑ การมีปกติไม่ให้ ๑ และการไม่สละ ๑ เนื้อและโภชนะให้ใช้กลิ่นดิบเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัส ๒ พระคาถาด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐานอย่างนี้แล้ว ก็ได้ทรงทราบถึงการอนุวัตรตามอัธยาศัยของดาบสนั้นอีก จึงได้ตรัสพระคาถา ๑ (คาถา) ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน.
ความโกรธในพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในอุรคสูตร ความมัวเมาแห่งจิต มีประเภทดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในวิภังค์โดยนัยว่า ความเมาในคติ ความเมาในโคตร ความเมาในความไม่มีโรค เป็นต้น ชื่อว่า มโท ความเมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 101
ความเป็นผู้แข็งกระด้าง ชื่อว่า ถมฺโภ ความเป็นคนหัวดื้อ.
การตั้งตนไว้ในทางที่ผิด ได้แก่การตั้งตนไว้ผิดจากพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ปจฺจุปฺปฏฺานา การตั้งตนไว้ผิด.
การปกปิดบาปที่ตนกระทำไว้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ โดยนัยเป็นต้นว่า คนบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต ชื่อว่า มายา หลอกลวง.
การริษยาในลาภสักการะของบุคคลอื่นเป็นต้นชื่อว่า อุสฺสุยา ริษยา.
คำที่บุคคลยกขึ้น มีการอธิบายว่า การยกตนขึ้น ชื่อว่า ภสฺสสมุสฺโสโย การยกตน.
ความถือตัวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า คนบางคนในโลกนี้ถือตัวว่าเสมอกับผู้อื่นในกาลก่อน ด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มาภายหลังยกตนว่าเสมอ ไม่ยอมรับว่าตนเองเลวกว่าคนอื่น มานะเห็นปานนี้ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตดุจธง ชื่อว่า มานาติมาโน การถือตัว.
การสมาคมกับอสัปบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสพฺภิสนฺถโว การสมาคมกับอสัตบุรุษ.
บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า อกุศล ราศี ๙ อย่างมีความโกรธเป็นต้นนี้ พึงทราบว่า เป็นกลิ่นดิบ โดยอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 102
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงกลิ่นดิบ ๙ อย่าง ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคลาธิษฐานที่นัยตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแลแม้อีก จึงได้ทรงภาษิต ๓ พระคาถา.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ปาปสีลา ความว่า ชนเหล่าใด ปรากฏในโลกว่ามีปกติประพฤติชั่ว เพราะเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว.
การยืมหนี้แล้วฆ่าเจ้าหนี้เสียเพราะไม่ใช้หนี้นั้น และการพูดเสียดแทง เพราะคำส่อเสียด ตามนัยที่กล่าวไว้ในวสลสูตร ชื่อว่า อิณฆาตสูจกา ผู้ฆ่าเจ้าหนี้และพูดเสียดแทงเจ้าหนี้.
บาทคาถาว่า โวหารกูฏา อิธ ปาฏิรูปิกา ความว่า ชนทั้งหลายดำรงอยู่แล้ว ในฐานะที่ตั้งอยู่ในธรรม (เป็นผู้ตัดสินความ) รับค่าจ้างแล้ว ทำเจ้าของให้พ่ายแพ้ ชื่อว่าผู้พูดโกง เพราะประกอบด้วยโวหารที่โกง ชื่อว่า ปาฏิรูปิกา คนผู้หลอกลวง เพราะเอาเปรียบผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
อีกประการหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนา.
บทว่า ปาฏิรูปิกา ได้แก่ พวกคนทุศีล.
จริงอยู่. เพราะเหตุคนทุศีลเหล่านั้น มีการสำรวมอิริยาบถให้งดงาม เรียบร้อย เป็นต้น ซึ่งจะเปรียบได้กับท่านผู้มีศีล ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นคนผู้หลอกลวง
บาทคาถาว่า นราธมา เยธ กโรนฺติ กิพฺพิสํ ความว่า ชนเหล่า ใด เป็นคนต่ำทรามในโลกนี้ ย่อมกระทำกรรมหยาบช้า กล่าวคือการปฏิบัติผิดในมารดาและบิดาทั้งหลาย และในพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 103
บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า กลิ่นชนิดนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยคาถานี้ อันตั้งอยู่แล้วในบุคคล เป็นบุคลาธิษฐาน ผู้ศึกษาพึงทราบกลิ่นแม้อื่นอีก ๖ ชนิด โดยอรรถที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในกาลก่อนว่า ความเป็นผู้มีปกติประพฤติชั่ว ๑ การกู้หนี้มาแล้ว ไม่ใช้ ๑ การพูดเสียดสี ๑ การเป็นผู้พิพากษาโกง ๑ การเป็นคนหลอกลวง ๑ การกระทำที่หยาบช้า ๑ เนื้อและโภชนะไม่ใช่กลิ่นดิบเลย ดังนี้.
บาทคาถาว่า เย อิธ ปาเณสุ อสํยตา ชนา ความว่า ชนเหล่าใดในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง เพราะประพฤติตามความอยาก ชื่อว่าไม่สำรวมแล้ว เพราะไม่กระทำแม้สักว่าความเอ็นดูในสัตว์.
บาทคาถาว่า ปเร สมาทาย วิเหสมุยฺยุตา ความว่า ถือเอา ทรัพย์หรือชีวิตอันเป็นของที่มีอยู่ของบุคคลอื่น ต่อแต่นั้นก็ประกอบการเบียดเบียน โดยการใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้ต่อชนทั้งหลายผู้อ้อนวอนหรือห้ามอยู่ว่า "ท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนี้" ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง จับสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นได้แล้ว ก็ยึดถือไว้อย่างนี้ว่า เราจะฆ่าสัตว์ ๑๐ ตัวในวันนี้ จะฆ่า ๒๐ ตัวในวันนี้ ดังนี้ แล้วก็ทำการเบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น ด้วยการฆ่าและการจองจำเป็นต้น.
บทว่า ทุสฺสีลลุทฺทา ความว่า ผู้ทุศีล เพราะประพฤติชั่ว และชื่อว่าผู้ดุร้าย เป็นผู้มีการงานหยาบช้า เพราะเป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชนทั้งหลายผู้มีกรรมอันเป็นบาป มีชาวประมง นายพรานเนื้อและนายพรานนก เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในพระคาถานี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 104
บทว่า ผรุสา ได้แก่ มีวาจาหยาบคาย.
บทว่า อนาทรา ได้แก่ผู้เว้นจากความเอื้อเฟื้ออย่างนี้ว่า พวกเราจักไม่กระทำในบัดนี้ พวกเราเห็นบาปนี้ จักงดเว้น ดังนี้.
บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า กลิ่นนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยคาถานี้ ซึ่งตั้งอยู่แล้วในบุคคลทั้งที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว และยังไม่ได้กล่าวโดยกาลก่อน เป็นต้นว่า การฆ่า การตัด และการจองจำ ชื่อว่า ปาณาติบาต ดังนี้.
บัณฑิตพึงทราบ กลิ่นดิบ ๖ ชนิด คือ ความไม่สำรวมในสัตว์ ทั้งหลาย ๑ การเบียดเบียนสัตว์เหล่าอื่น ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ ความเป็นผู้ร้ายกาจ ๑ ความเป็นผู้หยาบคาย ๑ ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในตอนต้นว่า ข้อนั้น ท่านหาได้กล่าวไว้อีกด้วยเหตุทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า เพื่อปรารถนาจะฟัง เพื่อการกำหนด เพื่อกระทำให้มั่นคง ไม่.
ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสถึงเนื้อความนี้ไว้ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ ได้ตรัสบอกเนื้อความนี้อย่างนี้บ่อยๆ ชื่อว่าให้ผู้อื่นทราบเนื้อความนั้น.
บาทคาถาว่า เอเตสุ คิทฺธา วิรุทฺธาติปาติโน ความว่า กำหนัดแล้ว ด้วยความกำหนัดในสัตว์เหล่านั้น โกรธแล้วด้วยโทสะ ไม่เห็นโทษด้วยโมหะ และฆ่าสัตว์ด้วยการประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลายบ่อยๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 105
อีกอย่างหนึ่ง ราคะ โทสะ และโมหะ กล่าวคือ ความกำหนัด ความโกรธ และการฆ่าสัตว์เหล่าใด ชนทั้งหลายกำหนัด โกรธ และฆ่าสัตว์ด้วยราคะ โทสะ และโมหะเหล่านั้น ตามที่มันเกิดขึ้นในบาปกรรมทั้งหลาย ซึ่งท่านกล่าวแล้วโดยนัยว่า การฆ่า การตัด และการจองจำในสัตว์เหล่านี้ ชื่อว่า ปาณาติบาต.
บทว่า นิจฺจุยฺยุตา ความว่า ประกอบในอกุศลกรรมอยู่เป็นนิตย์ คือบางคราวพิจารณาแล้วก็ไม่งดเว้น.
บทว่า เปจฺจ ได้แก่ ไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น.
บาทคาถาว่า ตมํ วชนฺติ เย ปตนฺคติ สตฺตา นิรยํ อวํสิรา ความว่า ชนเหล่าใดไปสู่ที่มืด กล่าวคือ โลกันตริกนรกอันมืดมนอนธกาล หรืออันต่างด้วยสกุลมีสกุลต่ำเป็นต้น และสัตว์เหล่าใด ผู้มีหัวตกลง ได้แก่ มีศีรษะตกลงไปเบื้องล่าง เพราะย่อมตกลงไปยังนรก อันต่างด้วยอเวจีนรก เป็นต้น.
บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า กลิ่นดิบ ๓ ประเภทโดยอรรถตาม ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว อันเป็นเค้ามูลแห่งกลิ่นดิบทั้งปวง อันต่างโดยความกำหนัด. ความโกรธ และการฆ่าสัตว์ เพราะเป็นเหตุให้สัตว์เหล่านั้นไปสู่ที่มืด และตกนรก นี้ ชื่อว่า กลิ่นดิบ.
บทว่า น หิ มํสโภชนํ ความว่า แต่เนื้อและโภชนะ ไม่ชื่อว่า กลิ่นดิบเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 106
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยปรมัตถ์ และทรงประกาศความที่กลิ่นดิบเป็นทางแห่งทุคติอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ดาบสมีความสำคัญในปลาเนื้อและโภชนะใดว่าเป็นกลิ่นดิบ และมีความสำคัญว่าเป็นทางแห่งทุคติ เป็นผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยการไม่บริโภคปลาและเนื้อนั้น จึงไม่ยอมบริโภคโภชนะ คือปลาและเนื้อนั้น เมื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่เนื้อและโภชนะนั้นและโภชนะอื่นๆ เห็นปานนั้น ไม่สามารถจะชำระตนให้บริสุทธิ์ได้ จึงตรัสคาถาที่ ๖ นี้ว่า น มจฺฉมํสํ เป็นต้น.
ในคาถานั้น พึงเชื่อมบททั้งปวง (คือ บทว่า โสเธติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้ให้บริสุทธิ์ได้) ด้วยบทสุดท้ายอย่างนี้ว่า การไม่กินปลาและเนื้อ มิได้ทำสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้ให้บริสุทธิ์ได้ การบวงสรวง การบูชายัญ และการซ่องเสพฤดู หาได้ยังสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ให้บริสุทธิ์ได้ ก็ในข้อนี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า คำว่า น มจฺฉมํสํ ได้แก่ ปลาและเนื้อ มิได้ทำบุคคลผู้ไม่บริโภคให้บริสุทธิ์ได้ การไม่บริโภคปลาและเนื้อก็ไม่อาจจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้เหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น. ด้วยว่าการกล่าว อย่างนี้จะพึงดีกว่า (คือเข้าใจได้ง่ายกว่า) แม้พระบาลีก็มีอยู่ว่า การไม่กินปลากินเนื้อ ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ คือว่า ความเป็นผู้ไม่บริโภคต่างๆ ซึ่งปลาและเนื้อย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่บริโภคปลาและเนื้อ ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 107
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็ทิ้งความเป็นผู้ไม่บริโภคเสีย?
ตอบว่า ข้อนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่าการทรมานตน ที่เหลือที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วแม้ทั้งหมด ย่อมถึงการสงเคราะห์ในคำนี้ว่า เย วาปิ โลเก อมรา พหู ตปา เพราะเหตุที่ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยการย่างกิเลส เพื่อปรารถนาความเป็นเทวดา.
ความเป็นคนเปลือยกาย ชื่อว่า นคฺคิยํ.
ความเป็นคนโล้น ชื่อว่า มุณฺฑิยํ.
การเกล้าชฎาและการเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี ชื่อว่า ชฎาชลฺลํ.
เล็บและหนังเสือ ชื่อว่า ขราชินานิ.
การบำเรอไฟ ชื่อว่า อคฺคิโหตสฺสุปเสวนา.
ความเศร้าหมองทางกายอันเป็นไปแล้ว เพื่อปรารถนาความเป็นเทวดา ชื่อว่า อมรา.
บทว่า พหู ได้แก่ เป็นอเนก โดยต่างด้วยการนั่งกระโหย่ง เป็นต้น
การย่างกิเลสทางกาย ชื่อว่า ตปา.
เวททั้งหลาย ชื่อว่า มนฺตา.
กรรม คือการบูชาไฟ ชื่อว่า อาหุติ.
ยัญ ที่ชื่อว่า อัสวเมธ เป็นต้น และการซ่องเสพฤดู ชื่อว่า ยญฺมุตูปเสวนา.
การซ่องเสพสถานที่ร้อน ในฤดูร้อน การซ่องเสพรุกขมูล ในฤดูฝน การซ่องเสพคือการเข้าไปสู่ชลาลัย ในฤดูหนาว ชื่อว่า การซ่องเสพฤดู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 108
บาทพระคาถาว่า น โสเธติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ ได้แก่ ย่อมไม่ทำสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ ด้วยความบริสุทธิ์จากกิเลส หรือด้วยความบริสุทธิ์จากภพ เพราะเมื่อยังมีมลทิน คือความสงสัย สัตว์ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ และตัวท่านเองก็ชื่อว่า ยังมีความสงสัยอยู่นั่นเอง.
ก็ในคาถานี้ มีอธิบายว่า คำว่า อวิติณฺณกงฺขํ นี้ พึงเป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในเมื่อเกิดความสงสัยขึ้นแก่ดาบสว่า ทางแห่งความบริสุทธิ์จะไม่พึงมี ด้วยเหตุมีการไม่บริโภคปลาและเนื้อเป็นต้น หรือหนอแล ดังนี้ เพราะได้ฟัง ซึ่งคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า นมจฺฉมํสํ ดังนี้ ก็ความสงสัย ในพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใด เกิดขึ้นแก่ดาบสนั้น เพราะฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เสวยปลาและเนื้อดังนี้ คำนี้บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายถึงความสงสัยนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบทแสดงความที่บุคคลไม่สามารถจะทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่บริโภคปลาเนื้อเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงพระธรรมที่สามารถจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า โสเตสุ คุตฺโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสเตสุ ได้แก่ ในอินทรีย์ ๖.
บทว่า คุตฺโต ได้แก่ประกอบด้วยการคุ้มครองคือการสำรวมอินทรีย์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงศีล ซึ่งมีอินทรีย์สังวรเป็นบริวาร ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 109
สองบทว่า วิทิตินฺทฺริโย จเร ความว่า ทราบอินทรีย์ทั้ง ๖ ด้วยญาตปริญญา พึงประพฤติให้ปรากฏ อธิบายว่าพึงมี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการกำหนดนามรูปแห่งบุคคลผู้มีศีลอันบริสุทธิ์แล้ว ด้วยเหตุ มีประมาณเท่านี้.
สองบทว่า ธมฺเน ิโต ได้แก่ ดำรงอยู่ในธรรมคืออริยสัจ ๔ อันจะพึงบรรลุได้ด้วยอริยมรรค.
ด้วยคำว่า ธมฺเม ิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงภูมิแห่งพระโสดาบัน.
สองบทว่า อชฺชวมทฺทเว รโต ได้แก่ ยินดีแล้วในความเป็นคนตรง และในความเป็นคนอ่อนโยน. ด้วยคำว่า อชฺชวมทฺทเว รโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงภูมิของพระสกทาคามี ด้วยว่าพระสกทาคามี ยินดีแล้วในความซื่อตรงและในความอ่อนโยน เพราะความที่ท่าน ทำให้เบาบางซึ่งกิเลสทั้งหลาย มีอันกระทำความคดกายเป็นต้น และทำราคะและโทสะ อันกระทำความแข็งกระด้างแห่งจิต ให้เบาบางลง.
บทว่า สงฺคาติโค ได้แก่ ข้ามพ้นเครื่องข้องคือ ราคะและโทสะเสียได้. ด้วยบทว่า สงฺคาติโค นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงภูมิแห่งพระอนาคามี.
บทว่า สพฺพทุกฺขปฺปหีโน ความว่า ชื่อว่าละทุกข์ทั้งปวงเสียได้ เพราะละเหตุแห่งทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นเสียได้. ด้วยคำว่า สพฺพทุกฺขปฺปหีโน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอรหัตภูมิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 110
บาทพระคาถาว่า น ลิมฺปติ ทิฏฺสุเตสุ ธีโร ความว่า ผู้นั้นบรรลุแล้วซึ่งพระอรหัต โดยลำดับอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วยความเพียร ย่อมไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งหลาย ที่ตนเห็นแล้วและฟังแล้วด้วยการติดอย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เทศนาจบลงด้วยธรรมเทศนา ที่เป็นบุคลาธิษฐาน อย่างเดียวก็หามิได้ แต่ให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัตทีเดียวว่า บุคคลนั้นย่อมไม่คิดในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เห็น ทั้งที่ได้ฟัง และในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่ตนทราบและได้รู้ จึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง โดยแท้.
ต่อจากนี้ไปพระธรรมสังคีติกาจารย์ ได้กล่าว ๒ พระคาถาว่า อิจฺเจตมตฺถํ ดังนี้เป็นต้น.
ผู้ศึกษาพึงทราบ เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ ได้ตรัสบอก คือตรัสเนื้อความนี้ให้พิสดาร ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน และที่เป็นบุคลาธิษฐานด้วยคาถาเป็นอเนกบ่อยๆ จนกระทั่งดาบสนั้น ได้ทราบชัดดังพรรณนามาฉะนี้.
สามบทว่า นํ เวทยิ มนฺตปารคู ความว่า ก็ติสสพราหมณ์ แม้นั้น ผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งมนต์ คือผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ได้ทราบคือได้รู้ ซึ่งเนื้อความนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 111
ตอบว่า เพราะพระมุนี ทรงประกาศด้วยคาถาทั้งหลายที่ไพเราะ ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยบท ทั้งโดยกระแสแห่งเทศนา.
ถามว่า เป็นเช่นไร?
ตอบว่า บุคคลที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ตามรู้ได้ยาก ที่ชื่อว่าผู้ไม่มีกลิ่นดิบ ก็เพราะไม่มีกิเลสอันเป็นกลิ่นดิบ ที่ชื่อว่า อสิตะ ก็เพราะไม่มีตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัย, ชื่อว่าเป็นผู้ตามรู้ได้ยาก ก็เพราะใครๆ ไม่อาจเพื่อจะแนะนำได้ด้วยสามารถแห่งทิฎฐิในภายนอกว่า สิ่งนี้ประเสริฐกว่า สิ่งนี้ประเสริฐ ดังนี้เป็นต้น
ก็ติสสพราหมณ์ฟังบทสุภาษิต ได้แก่ฟังพระธรรมเทศนา ที่ตรัสดีแล้ว ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงประกาศแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มีใจนอบน้อม ได้แก่เป็นผู้มีจิตนอบน้อม ถวายบังคม พระผู้พระภาคเจ้า ผู้ไม่มีกลิ่นดิบ คือผู้ไม่มีเครื่องข้องคือกิเลส ผู้บรรเทาความทุกข์ทั้งปวงเสียได้ ได้แก่ผู้บรรเทาความทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวงเสียได้ แล้ว ถวายบังคมพระบาท ของพระตถาคตเจ้าด้วยเบญจางคประดิษฐ์.
บาทคาถาว่า ตเถว ปพฺพชฺชมโรจยิตฺถ มีคำอธิบายว่า ติสสดาบสได้ทูลขอ คือได้ทูลอ้อนวอนขอ ซึ่งบรรพชา กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะพระองค์นั้น ผู้ประทับนั่งบนอาสนะนั้นนั่นเอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะติสสดาบสนั้นว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด" ดังนี้ ดาบสนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยบริขาร ๘ ในทันใดนั้นเอง เป็นดุจพระเถระมีพรรษาตั้งร้อยมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 112
โดยการล่วงไป เพียง ๒ - ๓ วันเท่านั้น ก็ได้บรรลุสาวกบารมีญาณ ได้เป็นอัครสาวก ชื่อว่า ติสสะ. (สาวกที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น) ชื่อว่า ภารทวาชะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า (กัสสปะ) พระองค์นั้น จึงมีคู่แห่งพระสาวกมีชื่อว่า ติสสะ และ ภารทราชะ ด้วยประการฉะนี้
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า แห่งเราทั้งหลาย ทรงนำพระคาถา ๑๔ พระคาถาแม้ทั้งสิ้น ที่ติสสพราหมณ์กล่าว ในตอนต้น ๓ คาถา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ตรัส ในท่ามกลาง ๙ คาถา และที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย กล่าวในที่สุด ๒ คาถา ในกาลครั้งนั้น (พระองค์) ทรงกระทำให้บริบูรณ์แล้ว ทรงพยากรณ์กลิ่นดิบแก่ดาบส ๕๐๐ มีอาจารย์เป็นประธาน อันชื่อว่า อามคันธสูตร นี้.
พราหมณ์อามคันธะนั้น ครั้นสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็มีใจอ่อนน้อมเหมือนอย่างที่กล่าวแล้วนั้นแหละ ถวายบังคมที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า (โคตมะ) ทูลขอบวชพร้อมกับ ด้วยบริษัท (ของตน) พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ดาบสเหล่านั้น ถึงความเป็น เอหิภิกขุ เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เป็นดุจพระเถระมีพรรษาตั้งร้อยมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยเวลา ๒ - ๓ วัน เท่านั้น ทุกท่านก็ได้ประดิษฐานอยู่ในพระอรหัต อันเป็นผู้ที่เลิศ ดังนี้แล.
การพรรณนาอามคันธสูตร แห่งอรรถถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา จบ