[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 706
ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๑
๑. โสณสูตร
ว่าด้วยพิณ ๓ สาย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 706
ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๑
๑. โสณสูตร
ว่าด้วยพิณ ๓ สาย
[๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่า ชื่อ สีตวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระโสณะ หลีกออกเร้นอยู่ ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่ง ในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้น จากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์ และทำบุญได้ ผิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคทรัพย์ และพึงทำบุญเถิด.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ปริวิตกแห่งใจ ของท่านพระโสณะ ด้วยพระทัย แล้วทรงหายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏตรงหน้าท่านพระโสณะ ที่ป่าสีตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูแล้ว แม้ท่านพระโสณะถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระโสณะว่า ดูก่อนโสณะ เธอหลีกออกเร้นอยู่ ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจ อย่างนี้มิใช่หรือ ว่าสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 707
เหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้น จากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์ และทำบุญได้ ผิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคทรัพย์ และพึงทำบุญเถิด.
ท่านพระโสณะทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเมื่อก่อนยัง อยู่ครองเรือนเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณมิใช่หรือ?
โสณะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็สมัยใด สายพิณของเธอตึงเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะหรือ ย่อมควรแก่การใช้หรือไม่?
โสณะ. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนโสณะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใดสายพิณ ของเธอหย่อนเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอ ย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้ หรือไม่?
โสณะ. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนโสณะ ก็สมัยใด สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อน เกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้น พิณของเธอ ย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้ หรือไม่?
โสณะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมากเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ดูก่อนโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 708
ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น ท่านพระโสณะทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวสอน ท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทนี้ แล้วทรงหายจากป่าสีตวัน ไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระโสณะ ได้ตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ ได้ตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และได้ถือนิมิต ในความสม่ำเสมอนั้น ต่อมา ท่านพระโสณะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรตั้งใจแน่วแน่อยู่ ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ได้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ก็แลท่านพระโสณะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุอรหัตแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วพึงพยากรณ์อรหัตตผล ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ลำดับนั้น ท่านพระโสณะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นกิเลส เครื่องประกอบในภพ หลุดพ้น เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้น้อมไป ยังเหตุ ๖ ประการ คือ เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความสงัด ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล ๑.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 709
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ อาศัยคุณเพียงศรัทธาอย่างเดียว เป็นแน่ เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ แต่ข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตน จะต้องทำ หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ มุ่งหวังลาภสักการะ และการสรรเสริญ เป็นแน่ จึงน้อมไปยังความสงัด แต่ข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตน จะต้องทำ หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจ ที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อมไป ยังความสงัด เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพตปรามาส กลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้นอบน้อมไปยัง ความไม่เบียดเบียน แต่ข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ ฯลฯ เป็นผู้น้อมไปยัง ความไม่เบียดเบียน เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยัง ความสิ้นตัณหา เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยัง ความสิ้นอุปาทาน เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพตปรามาส กลับให้เป็นแก่นสาร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 710
เป็นแน่ จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นในกิจที่ตนจะต้องทำ หรือไม่พิจารณา เห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุ แม้ดีเยี่ยมมาสู่ครองจักษุของภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ อย่างนี้ไซร้ รูปนั้นไม่ครอบงำจิตของท่านได้ จิตของท่าน ย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว และท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ แม้ดีเยี่ยม มาสู่ครองจักษุแห่งภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ อย่างนี้ไซร้ ธรรมารมณ์นั้น ย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านได้ จิตของท่าน ย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว และท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น เปรียบเหมือน ภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่งทึบ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้า พึงพัดมา จากทิศบูรพาไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้น ให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้า พึงพัดมาจากทิศประจิม ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศอุดร ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้น ให้หวั่นไหว ให้สะเทือน สะท้านได้ ฉะนั้น.
ท่านพระโสณะครั้น กล่าวดังนี้แล้ว จึงได้กล่าว คาถาประพันธ์ดังต่อไป อีกว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 711
จิตของภิกษุ ผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ผู้น้อมไปยังความสงัดแห่งใจ ผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน และผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล แห่งใจ ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งอายตนะทั้งหลาย กิจที่ควรทำ และการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบ ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมยังจิตอันตั้งมั่น หลุดพ้นวิเศษแล้ว ของภิกษุผู้คงที่ ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น และภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น ดังนี้.
จบโสณสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 712
ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาโสณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในโสณสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โสโณ ได้แก่ พระโสณเถระผู้สุขุมาลชาติ. บทว่า สีตวเน ได้แก่ ในป่าช้าที่มีชื่ออย่างนี้ (สีตวัน).
เล่ากันว่า ในป่าช้านั้น เขาสร้างที่จงกรมไว้ ๕๐๐ แห่ง (เรียงรายกัน) ตามลำดับ. บรรดาที่จงกรม ๕๐๐ แห่งนั้น พระเถระเลือกเอาที่จงกรม (แห่งหนึ่ง) ซึ่งเป็นที่สัปปายะสำหรับตน แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. เมื่อพระเถระนั้น ปรารภความเพียรเดินจงกรมอยู่ พื้นเท้าก็แตก. เมื่อท่านคุกเข่าเดินจงกรม ทั้งเข่า ทั้งฝ่ามือ ก็แตกเป็นช่องๆ. พระเถระปรารภความเพียรอยู่อย่างนั้น ก็ไม่สามารถเห็นแม้แต่โอภาส หรือนิมิต. เพื่อแสดงถึงวิตกที่เกิดขึ้น แก่พระโสณะนั้น ผู้ลำบากกาย ด้วยความเพียรแล้วนั่ง (พัก) อยู่บนแผ่นหิน (ซึ่งตั้งอยู่) ในที่สุดที่จงกรม พระอานนทเถระจึงกล่าว คำว่า อถโข อายสฺมโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธวิริยา ได้แก่ ประคองความเพียรไว้เต็มที่. บทว่า น อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ความว่า พระโสณะปลงใจ เชื่อว่า ก็ถ้าว่า เราจะพึงเป็นอุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู หรือเนยยะไซร้ จิตของเราจะพึงหลุดพ้นได้อย่างแน่นอน แต่นี่เราเป็นปทปรมบุคคล แท้ทีเดียว จิตของเราจึงไม่หลุดพ้น ดังนี้ แล้วคิดถึงเหตุ มีอาทิว่า ก็โภคทรัพย์ แลมีอยู่ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภคา เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ในความหมาย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 713
แห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ วาระจิตของพระเถระแล้ว ทรงดำริว่า วันนี้ โสณะนี้ นั่งอยู่บนพื้นดิน ที่บำเพ็ญเพียร ในป่าสีตวัน ตรึกถึงวิตกเรื่องนี้อยู่ จำเราจักไปถือเอาวิตก ที่เบียดเบียนเธอ แล้วบอก กัมมัฏฐาน ที่อุปมาด้วยพิณให้ดังนี้ และได้มาปรากฏ อยู่เฉพาะหน้าพระเถระ. บทว่า ปญฺตฺเต อาสเน ความว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ปูลาดอาสนะ ตามที่หาได้ไว้ เพื่อเป็นที่ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จมา เพื่อตรัสสอน ถึงที่เป็นที่อยู่ของตนก่อนแล้ว จึงบำเพ็ญเพียร เมื่อหาอาสนะอย่างอื่นไม่ได้ ก็ปูลาดแม้ใบไม้เก่าๆ แล้วปูลาดสังฆาฏิทับข้างบน. ฝ่ายพระเถระ. ปูลาดอาสนะก่อนแล้ว จึงได้บำเพ็ญเพียร. พระสังคีติกาจารย์ หมายเอาอาสนะนั้น จึงกล่าวว่า ปญฺตฺเต อาสเน ดังนี้.
บทว่า ตํ กึ มญฺสิ ความว่า พระศาสดาทรงดำริว่า ภิกษุนี้ ไม่มีความต้องการ ด้วยกัมมัฏฐานที่เหลือ ภิกษุนี้ฉลาด เคยชำนาญมาแล้ว ในศิลปะของนักดนตรี เธอจักกำหนดอุปมา ที่เรากล่าว ในวิสัยของตนได้เร็วพลัน ดังนี้แล้ว เพื่อจะตรัสอุปมาด้วยพิณ พระองค์จึงตรัสคำว่า ตํ กึ มญฺสิ เป็นต้น. ความเป็นผู้ฉลาด ในการดีดพิณ ชื่อว่า ความเป็นผู้ฉลาดในเสียงสายพิณ. และพระโสณะนั้น ก็เป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณนั้น เป็นความจริง มารดาบิดาของพระโสณะนั้น คิดว่า ลูกชายของเราเมื่อจะศึกษาศิลปะอย่างอื่น ก็จักลำบากกาย แต่ว่าศิลปะดีดพิณนี้ ลูกของเรานั่งอยู่บนที่นอน ก็สามารถเรียนได้ จึงให้เรียนเฉพาะ ศิลปะของนักดนตรีเท่านั้น. ศิลปะของนักดนตรี (คนธรรพ์) มีอาทิคือ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 714
เสียงเหล่านี้ คือ เสียง ๗ เสียง หมู่เสียงผสม ๓ หมู่ ระดับเสียง ๒๑ ระดับ ฐานเสียง ๔๙ ฐาน จัดเป็นกลุ่มเสียง
เสียงทั้งหมด นั่นแหละ พระโสณะได้ชำนาญมาแล้ว ทั้งนั้น.
บทว่า อจฺจายตา ได้แก่ (พิณ) ที่ขึงตึงเกินไป คือ มีระดับเสียงแข็ง (ไม่นุ่มนวล). บทว่า สรวตี ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยเสียง. บทว่า กมฺมญฺา ได้แก่ เหมาะที่จะใช้งาน คือ ใช้งานได้. บทว่า อติสิถิลา ได้แก่ ระดับเสียงอ่อน (ยาน). บทว่า สเม คุเณ ปติฏฺิตา ได้แก่ อยู่ในระดับเสียงปานกลาง. บทว่า อจฺจารทฺธํ ได้แก่ ความเพียรที่ตึงเกินไป. บทว่า อุทฺธจฺจาย สํวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน. บทว่า อติลีนํ ได้แก่ หย่อนเกินไป. บทว่า โกสชฺชาย ได้แก่ เพื่อความเป็นผู้เกียจคร้าน. บทว่า วิริยสมตํ อธิฏฺาหิ ความว่า เธอจงดำรงสมถะ ที่สัมปยุตด้วยวิริยะไว้ให้มั่น หมายความว่า จงประกอบวิริยะเข้ากับสมถะ. บทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมตํ ปฏิวิชฺฌ ความว่า เธอจงดำรงความสม่ำเสมอ คือ ภาวะที่เสมอกัน แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธา เป็นต้น ไว้ให้มั่น.
ในข้อนั้น ภิกษุผู้ประกอบศรัทธาเข้ากับปัญญา ประกอบปัญญาเข้ากับศรัทธา ประกอบวิริยะเข้ากับสมาธิ และประกอบสมาธิเข้ากับวิริยะ ชื่อว่า เป็นผู้ดำรงภาวะที่เสมอกัน แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ไว้มั่น. ส่วนสติ มีประโยชน์ต่อธรรมทั้งปวง สตินั้นเฉพาะ ที่มีกำลัง ย่อมควรแม้ในกาลทุกเมื่อ. ก็วิธีประกอบอินทรีย์เหล่านั้น เข้าด้วยกันนั้น แถลงไว้ชัดเจนแล้วทีเดียว ในปกรณ์วิเสส วิสุทธิมรรค.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 715
บทว่า ตตฺถ จ นิมิตฺตํ คณฺหาหิ ความว่า ก็เมื่อภาวะที่เสมอกัน (แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย) นั้นมีอยู่ นิมิตใดจะพึงเกิดขึ้น เหมือนเงาหน้าในกระจก เธอจงกำหนดถือเอานิมิตนั้น จะเป็นสมถนิมิตก็ดี วิปัสสนานิมิตก็ดี มรรคนิมิตก็ดี ผลนิมิตก็ดี คือ จงทำให้นิมิตนั้น บังเกิด. พระศาสดาตรัสกัมมัฏฐาน แก่พระโสณะนั้น สรุปลงในพระอรหัตตผล ด้วยประการดังพรรณนา มานี้. บทว่า ตตฺถ จ นิมิตฺตํ อคฺคเหสิ ความว่า พระโสณะได้กำหนดถือเอา ทั้งสมถนิมิต ทั้งวิปัสสนานิมิต.
บทว่า ฉฏฺานานิ ได้แก่ เหตุ ๖ อย่าง. บทว่า อธิมุตฺโต โหติ ได้แก่ เป็นผู้แทงตลอด คือทำให้ประจักษ์ดำรงอยู่. บททั้งหมดมีอาทิว่า เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต พระโสณะกล่าวไว้ ด้วยอำนาจอรหัตตผล นั่นแล. จริงอยู่ อรหัตตผล ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะออกไปจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า ปวิเวกะ เพราะสงัดจากกิเลสเหล่านั้น นั่นแล ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความเบียดเบียน ชื่อว่า ตัณหักขยะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุด แห่งความสิ้นตัณหา ชื่อว่า อุปาทานักขยะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุด แห่งความสิ้นอุปาทาน ชื่อว่า อสัมโมหะ เพราะไม่มีความงมงาย. บทว่า เกวลํ สทฺธามตฺตกํ ได้แก่ เว้นจากปฏิเวธ คือ เพียงศรัทธาล้วนๆ ที่ไม่เจือปน ด้วยปฏิเวธปัญญา. บทว่า ปฏิจยํ ได้แก่ การเจริญ ด้วยการบำเพ็ญบ่อยๆ. บทว่า วีตราคตฺตา ได้แก่ เพราะราคะปราศจากไป ด้วยการแทงตลอดมรรค นั่นแล. ภิกษุเป็นผู้แทงตลอด คือ ทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล กล่าวคือ เนกขัมมะอยู่. บทว่า ผลสมาปตฺติวิหาเรน วิหรติ ความว่า และเป็นผู้มีใจน้อมไป ในผลสมาบัตินั้น นั่นแล. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน นี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 716
บทว่า ลาภสกฺการสิโลกํ ได้แก่ ลาภ คือ ปัจจัย ๔ ความที่ตนเหล่านั้น นั่นแล ทำดีแล้ว และการกล่าวสรรเสริญคุณ. บทว่า นิกามยมาโน ได้แก่ ต้องการ คือปรารถนาอยู่. บทว่า ปวิเวกาธิมุตฺโต ความว่า พยากรณ์อรหัตตผล อย่างนี้ว่า เราน้อมไปในปวิเวก. บทว่า สีลพฺพตปรามาสํ ความว่า เพียงแต่ยึดถือศีล และพรต ที่ตนได้ลูบคลำ ยึดถือมาแล้ว. บทว่า สารโต ปจฺจาคจฺฉนฺโต ได้แก่ รู้อยู่โดยความเป็นสาระ. บทว่า อพฺยาปชฺฌาธิมุตฺโต ได้แก่ พยากรณ์ความไม่เบียดเบียนกันว่า เป็นอรหัตตผล. พึงเห็นความหมาย ในที่ทุกแห่ง ตามนัย นี้แล.
อีกอย่างหนึ่งในตอนนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอรหัตตผลไว้เฉพาะ ในบทนี้ว่า เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต ตรัสนิพพานไว้ใน ๕ บทที่เหลือ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพาน ไว้เฉพาะ ในบทนี้ว่า อสมฺโมหาธิมุตฺโต ตรัสอรหัตตผลไว้ ในบทที่เหลือ. แต่ในที่นี้ มีสาระสำคัญ ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ทั้งอรหัตตผล ทั้งนิพพาน ไว้ในบทเหล่านั้น ทุกบท ทีเดียวแล. บทว่า ภูสา ได้แก่ มีกำลัง คือ เหมือนรูปทิพย์.
บทว่า เนวสฺส จิตฺตํ ปริยาทิยนฺติ ความว่า (กิเลสทั้งหลาย) ไม่สามารถจะครอบงำจิต ของพระขีณาสพนั้น อยู่ได้. เป็นความจริง กิเลสทั้งหลาย กำลังเกิดขึ้นชื่อว่า ครอบงำจิต. บทว่า อมิสฺสีกตํ ความว่า ก็กิเลสทั้งหลาย ย่อมทำจิตกับอารมณ์ให้ผสมกัน เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้น จิต จึงชื่อว่า ไม่ถูกทำให้ผสมกัน. บทว่า ิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นอยู่. บทว่า อาเนญฺชปฺปตฺตํ ได้แก่ ถึงความไม่หวั่นไหว. บทว่า วยญฺจสฺสานุปสฺสติ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 717
ก็ภิกษุนี้ ย่อมเห็นทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความดับของจิตนั้น. บทว่า ภูสา วาตวุฏฺิ ได้แก่ หัวลมแรง. บทว่า เนว สํกมฺเปยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถ จะให้หวั่นไหวได้ โดยส่วนหนึ่ง. บทว่า น สมฺปกมฺเปยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถ จะให้หวั่นไหวได้ ทุกส่วน เหมือนไม่สามารถ จะให้คุณหวั่นไหวได้ ฉะนั้น. บทว่า น สมฺปเวเธยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถจะทำให้สะเทือน คือ สั่น จนหวั่นไหวได้.
บทว่า เนกฺขมฺมมธิมุตฺตสฺส ความว่า ผู้แทงตลอดอรหัตตผลแล้ว ดำรงอยู่. แม้ในบทที่เหลือ ก็ตรัสเฉพาะ พระอรหัตเหมือนกัน. บทว่า จ อุปาทานกฺขยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในความหมายแห่ง ทุติยาวิภัตติ. บทว่า อสมฺโมหญฺจ เจตโส ได้แก่ และน้อมไปสู่ ความไม่ลุ่มหลงแห่งจิต. บทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาทํ ได้แก่ เห็นความเกิดขึ้น และความดับแห่งอายตนะทั้งหลาย. บทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ ความว่า ย่อมหลุดพ้น คือ ย่อมน้อมไปในอารมณ์ คือ นิพพาน โดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย ได้แก่ ด้วยอำนาจผลสมาบัติ เพราะการปฏิบัติวิปัสสนานี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง ปฏิปทาของพระขีณาสพ ด้วยบทนี้. เพราะว่า จิตของพระขีณาสพนั้น ย่อมหลุดพ้นด้วยดี จากกิเลสทั้งหมด ด้วยอานุภาพอริยมรรค ที่ท่านได้เห็นความเกิดขึ้น แห่งอายตนะ แล้วบรรลุด้วยวิปัสสนานี้ เมื่อพระขีณาสพนั้น หลุดพ้นด้วยดี อย่างนั้น ฯลฯ ย่อมไม่มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ มีจิตดับแล้ว. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีความหมายง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถา โสณสูตรที่ ๑