ในการศึกษาพระธรรม ถ้าผู้ศึกษาๆ โดยการตั้งใจ ฟังให้เข้าใจสิ่งที่ฟัง พิจารณาไตร่ตรองตาม ไม่เอาความคิดเดิมๆ มาปะปนกับสิ่งที่ฟัง เข้าใจแค่ไหนก็แค่นั้น ตามฐานะ และกำลังของปัญญา
ไม่ต้องหวังว่า ปัญญาจะเกิดมากกว่าความเป็นจริง จะทำให้ศึกษาอย่างสบายๆ ไม่น่าเบื่อ ไม่ท้อแท้ แล้วก็จะทำให้ผู้ศึกษา ค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ จริงๆ เหมือนกับการจับด้ามมีด เมื่อเริ่มจับใหม่ๆ จะไม่เห็นการสึก แต่เมื่อจับไปนานๆ ก็จะเห็นการสึกได้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ จริงๆ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง การท้อและร้องไห้ไม่มีประโยชน์ ควรจะอดทนและเพียรเพื่อจะฟังธรรมให้เข้าใจเท่านั้น
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... สักกปัญหสูตร
ศึกษาธรรม เหมือนเมตตาตนเอง (เป็นมิตรแท้ที่หวังดีเสมอ) โดยไม่หวัง อะไร เหมือนเราไปช่วยคนอื่น แต่บางครั้งก็ถูกปฏิเสธ เราก็ไม่เสียใจหรือท้อแท้ ที่จะทำความดีเลย เพราะทำดี ไม่ติดดี คือทำเพราะตั้งใจจะทำ ไม่ใช่เพราะอยากจะทำ จึงไม่มีอะไรให้หนักใจ
ขออนุโมทนา
เหตุมีแล้ว แม้ไม่หวังก็ต้องได้
การทำความดีเป็นสิ่งที่เบาสบาย ให้ความสุขทั้งเขาและเรา ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดโดยไม่ต้องหวัง เพราะถ้าเราหวัง ความผิดหวัง ก็รออยู่ข้างหน้า แต่ก็เป็นธรรมดาของปุถุชน กุศลเกิดสลับกับอกุศลก็ได้ค่ะ และที่สำคัญ ถ้าเราฟังธรรมะเข้าใจแล้วจะไม่ท้อแท้ เพราะรู้ว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับค่ะ
ขอบคุณ คุณ wannee.s มากๆ คะ ทุกครั้งที่อ่านคำอธิบายของคุณแล้วเข้าใจได้โดยง่าย
ยินดีในกุศลจิตค่ะ