สัททบัญญัติ อรรถบัญญัติ คือ อะไร
สัททบัญญัติ และ อรรถบัญญัติ คือ บัญญัติ แต่ต่างที่สัททบัญญัติเป็นการให้รู้ ความหมายด้วยเสียง คล้อยตามเสียง คล้อยตามชื่อ ตามภาษา มีอีกชื่อหนึ่ง ว่า นามบัญญัติ คือต้องอาศัยทวารหู ส่วน อรรถบัญญัติ คือ การบัญญัติ คล้อยตามอรรถ คือการรู้ความหมายของสภาพธรรมจากสัณฐานที่ปรากฏทาง ตา จมูก ลิ้น กาย
เรียนถามท่านผู้รู้เกี่ยวกับ " บัญญัติ " ครับ
๑. จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นอนัตตา แล้วบัญญัติเป็นอนัตตาไหมครับ
๒. ถ้าบัญญัติไม่เป็นอนัตตา บัญญัติเป็นอัตตาใช่หรือไม่ครับ
๓. ถ้าบัญญัติไม่เป็นทั้งอนัตตา และอัตตา บัญญัติจะเป็นอะไรครับ
ขอบพระคุณครับ
อัตตาไม่มี มีแต่อนัตตาพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมว่า"ธรรมะทั้งหลาย เป็นอนัตตา "บัญญัติ ก็เป็นธรรมะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริงมีเมื่อคิด ทางมโนทวาร เท่านั้น
ไม่มีอะไรเป็นอัตตา แม้บัญญัติก็เป็นอนัตตา แต่บัญญัติไม่มีอนัตตลักษณะบัญญัติไม่มีใครเป็นเจ้าของ เปลี่ยนไปตามยุคสมัย บังคับบัญชาไม่ได้ และ ไม่เป็นไปตามอำนาจ
บัญญัติ เป็นสิ่งที่ ใช้ในทางโลกธรรม เพื่อ สื่อสารให้รู้ความหมาย เท่านั้น (ไม่งั้นคนคงคุยกันไม่รู้เรื่อง) ส่วนที่เราควรพิจารณาคือความจริง ...คือ ธรรมะ (วิชชา)
ปรมัตถธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริงแต่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเลย ปรมัตถธรรมที่ เกิดขึ้นเป็นเพียงจิต เจตสิก รูป แต่ละลักษณะ แต่ละอาการ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุ ปัจจัยแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว ขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะของจิต เจตสิก รูป ว่าเป็น ปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปสืบต่อกันอย่างรวดเร็วขณะนั้นเป็นการรู้บัญญัติ พระธรรมที่ว่า ปรมัตถธรรมไม่ใช่บัญญัติก็เพราะปรมัตถธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริง
ส่วนบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม เพราะไม่ใช่สภาพธรรมที่มีจริง
ขออภัยค่ะบัญญัติไม่ใช่สภาพธรรม
เพราะบัญญัติไม่มีจริง เป็นเพียงสมมติ
แต่ปรมัตธรรม มีจริง แม้ไม่มีบัญญัติ
ขอขอบพระคุณสหายธรรมทุกท่านค่ะ
ที่ให้ความกระจ่าง.
สาธุ
อรรถบัญญัติ หมายถึงการรู้ความหมายจากรูปร่างสัณฐาน ส่วนการรู้ความหมายจาก ตัวหนังสือนั้น เป็นอรรถบัญญัติหรือไม่
ขอบพระคุณมากคะ ขอถามเพิ่มในคำว่า อรรถปฏิสัมภิทา ท่านให้คำอธิบายว่า การรู้เหตุ ส่วนธรรมปฏิสัมภิทา หมายถึงการรู้ผล ขอช่วยขยายหน่อยคะ
อนุโมทนาคะ
อนุโมทนาค่ะ
อรรถปฏิสัมภิทา หมายถึงรู้ผล ธรรมปฏิสัมภิทา หมายถึงรู้เหตุ การอบรมปัญญาเป็น
ผลที่เกิดชึ้น เมื่อรู้ผลก็จะรู้เหตุ ต้องเป็นปัญญาของพระอริยบุคคลที่ประจักษ์แตกฉาน
ในธรรมนั้นค่ะ เช่น ความรู้ที่แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน
ในทุกขสมุทัย ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
ยินดีในกุศลทุกท่านครับ