ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านอาจารย์ เวลาที่ "สติ" ระลึก จะรู้ ในความที่เป็น "ปรมัตถ์" ปรมัตถ์ มีจริง จิต มีจริงโดยไม่ต้องไปคิด ว่า เป็นจิต ของท่านผู้ฟัง เป็นตัว ของท่านผู้ฟัง หรือ ตัวท่านผู้ฟังที่ รักตัวเอง โลภ ฯลฯ เพราะ ไม่รู้ "ลักษณะ" ของ "จิต"ไม่รู้ว่า "จิต" ไม่ใช่ "ตัวเรา" ที่แท้แล้วมีแต่ นามธรรม และ รูปธรรมคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่มี "ความยึดถือ" จิต เจตสิก รูป ว่า "เป็นเรา" และ "เป็นของเรา"
ท่านผู้ฟัง "ระลึก" คือ "สติเจตสิก" ... "คิด" คือ "วิตกเจตสิก"
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนี้ เรา อยู่ คนเดียว กับ "เสียง" และ "ได้ยิน" แล้วก็ "คิด"เราไม่รู้ "ลักษณะ" ของ "วิตกเจตสิก"แต่ เรารู้ "ลักษณะ" ของ "คิด" รู้ ว่า "คิด" เป็น "สภาพรู้" อย่างเช่น กำลังขูดมะพร้าว ขณะนั้นมีการกระทบสัมผัส คือ มีกายวิญญาณจิต ซึ่ง กำลัง รู้ "แข็ง" เพียง ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็มี "จักขุวิญญาณจิต" อีกชั่วขณะหนึ่ง แต่มีโลภะ โทสะ เกิดสลับอยู่ และ จิตเหล่านั้น จะต้องมี วิริยเจตสิก เกิดร่วมด้วย
ควรทราบว่า (เช่น) "จิตเห็น" ขณะหนึ่ง มี "เจตสิก" เกิดร่วมด้วย เพียง ๗ ประเภท"เจตสิก" ๗ ประเภท นี้ เกิดกับ "จิต" ๑๐ ประเภทคือ "ทวิปัญจวิญญาณจิต" ได้แก่ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส และ จิตกระทบสัมผัส ที่เกิด ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายอย่างละ ๒ ประเภท (แบ่งออกโดยชาติของจิต) เป็น กุศลวิบากจิต ๑ และ อกุศลวิบากจิต ๑
"จิต" ทั้ง ๑๐ ประเภท นี้ มี "เจตสิก" ประกอบด้วย "อย่างน้อยที่สุด" คือ "เจตสิก" เพียง ๗ ประเภท เรียกว่า "สัพพจิตตสาธารณเจตสิก" ได้แก่
๑. ผัสสเจตสิก เป็น "สภาพที่กระทบอารมณ์"
๒. เวทนาเจตสิก เป็น "สภาพที่รู้สึก" หรือ เสวยอารมณ์
๓. สัญญาเจตสิก เป็น "สภาพที่จดจำ" หรือ คุ้นเคย ใน "อารมณ์"
๔. เจตนาเจตสิก เป็น "สภาพที่ตั้งใจ" "จงใจ" .. "บงการ" สัมปยุตธรรม ให้ ทำกิจ ของตนๆ
๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็น "สภาพที่ทำให้จิตตั้งมั่น ใน "อารมณ์"
๖. ชีวิตินทริยเจตสิก เป็น "สภาพที่รักษาสัมปยุตธรรม" ให้มีชีวิตอยู่ได้
๗. มนสิการเจตสิก เป็น"สภาพที่สนใจ" ทำให้ "จิตมุ่งตรง ต่อ อารมณ์"
"ขออนุโมทนา ท่าน ... ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพค่ะ"
... ขออนุโมทนา ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ