ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 106
พรรณนาปัญหาว่าอะไรเอ่ยชื่อว่า ๕
พระศาสดา มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา
แม้นี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปตามนัยก่อนๆ ว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า ๕.
พระเถระกล่าวซ้ำว่า ปญฺจ๕จึงทูลตอบว่า อุปาทานขันธ์ ในคำเหล่านั้น
คำว่า ปญฺจ ๕เป็นการกำหนดจำนวน. ขันธ์ทั้งหลาย
ที่ถูกอุปาทานให้เกิดมา หรือที่ทำอุปาทานให้เกิด
ชื่อว่า
อุปาทานขันธ์.
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอาสวะ อันบุคคลพึงยึดถือ
คำนี้เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์เหล่านั้น
ก็ในที่นี้ พระเถระกล่าวว่า
อุปาทานขันธ์ ๕
ตามนัยก่อนนั่นแล มิใช่กล่าวเพราะไม่มีธรรม ๕ อย่างอื่น. เหมือนอย่างที่
ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในธรรม๕ ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. ในธรรม๕
คืออุปาทานขันธ์๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในธรรม๕เหล่านี้แล
ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
คำนี้ใดว่า ปัญหา๕ อุทเทส๕ ไวยากรณ์๕
คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว
ดังนี้.
ก็ในปัญหาข้อนี้ ภิกษุเมื่อพิจารณาโดยความเกิดความดับเป็นอารมณ์
ได้อมตะด้วยวิปัสสนาแล้ว ย่อมทำให้แจ้งอมตะคือพระนิพพาน โดยลำดับ.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ยโตยโตสมฺมสติขนฺธานํอุทยพฺพยํ
ลภตีปิติปาโมชฺชํอมตํตํวิชานตํ
พิจารณาความเกิดความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย โดยประการใดๆ
ปีติและปราโมชอันเป็นอมตะ
ย่อมได้แก่ท่านผู้เห็นความเกิดความดับนั้นโดยประการนั้นๆ
ดังนี้.
พิจารณาความเกิดความดับแห่งขันธ์ทั้งหลายโดยประการใดๆ
ปีติและปราโมชอันเป็นอมตะ
ย่อมได้แก่ท่านผู้เห็นความเกิดความดับนั้นโดยประการนั้นๆ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ และทุกๆ ท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณร่วมเดินทาง และทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ