[เล่มที่ 88] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗
ปัฏฐาน ภาคที่ ๔
อนุโลมทุกปัฏฐาน
๒๙. คันถคันถนิยทุกะ 628
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 88]
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 628
๒๙. คันถคันถนิยทุกะ
ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๕๖๔] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรมและคันถนิยธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรมและคันถนิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ อภิชฌากายคันถะ อาศัยสีลัพพตปรามาสกายคันถะ, สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อาศัยอภิชฌากายคันถะ, อภิชฌากายคันถะ อาศัยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ, อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ อาศัยอภิชฌากายคันถะ.
๒. ธรรมที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรมและคันถนิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ ปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยคันถธรรม ทั้งหลาย.
๓. ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรมและคันถนิยธรรม และ ธรรมที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม อาศัยธรรมที่เป็น คันถธรรมและคันถนิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
ปฏิจจวาระก็ดี สหชาตวาระก็ดี ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี เหมือนกับ คันถทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 629
ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๕๖๕] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรม และคันถนิยธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรม และคันถนิยธรรม ด้วยอำนาจของ เหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นคันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถะที่เป็นสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
๙ วาระ พึงให้พิสดารอย่างที่กล่าวมาแล้ว.
๒. อารัมมณปัจจัย
[๕๖๖] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรม และคันถนิยธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรม และคันถนิยธรรม ด้วยอำนาจของ อารัมมณปัจจัย
คือ เพราะปรารภคันถธรรมทั้งหลาย คันถธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ ๒)
เพราะปรารภคันถธรรมทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ ๓)
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 630
เพราะปรารภคันถธรรมทั้งหลาย คันถธรรมและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
๔. ธรรมที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วย อํานาจของอารัมมณปัจจัย
คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกกรรม ฯลฯ แล้วพิจารณา ซึ่งกุศลกรรมนั้น.
กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน, พิจารณากิเลส ที่ละแล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อม เกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ. ทั้งหมด พึงให้พิสดาร.
ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๕. ธรรมที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรมและคันถนิยธรรม ด้วยอำนาจ ของอารัมมณปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 631
คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อม เกิดขึ้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็น คันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๖. ธรรมที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งคันถธรรมและคันถนิยธรรม และธรรม ที่เป็นคันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็น คันถนิยธรรม แต่ไม่ใช่คันถธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น คันถธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 632
๓ วาระ แม้นอกนี้ (วาระที่ ๗ - ๘ - ๙) พึงให้พิสดารอย่างที่กล่าว มาแล้ว พึงกระทำ เพราะปรารภ.
ในทุกะนี้ โลกุตตระไม่มี เหมือนกับคันถทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน พึง กําหนดคำว่า คันถนิยะ.
ในมัคคปัจจัย พึงกระทำ ๙ วาระ.
คันถคันถนิยทุกะ จบ