สมถภาวนา กับ ฆราวาส
โดย WS202398  9 มิ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 18514

เมื่อได้ศึกษาได้ฟัง ได้ไต่ถาม และจากประสบการณ์ส่วนตัว ทำให้มีความเห็นเป็นของตน

เองอนุโลมไปตามหลักการที่ว่า สมถภาวนานั้น หากมีเครื่องกั้น หรือที่เรียกว่าปลิโพธะ ซึ่ง

ประจักษ์แก่ใจว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้หากยังมีเครื่องกั้นอยู่จะภาวนาจนถึงอัปนาสมาธิได้

เมื่อมีความเห็นเช่นนี้ ก็เกิดสงสัยขึ้่นมาว่า สมถภาวนานี้ สมควรกับฆราวาส หรือไ่ม่ หาก

เข้าใจดีว่าคงไม่ถึงอัปนาสมาธิ แต่ภาวนาเพื่อให้เกิดสมาธิเบื้องต้นตามแต่เหตุปัจจัยจะ

อำนวย หรือสั่งสมอุปนิสัยเท่านั้น หรือสมถภาวนาเป็นเรื่องของนักบวชเท่านั้น



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สมถภาวนา ก็ต้องมีเครื่องกั้นที่จะทำให้ไม่ถึงอัปนาสมาธิได้ เป็นธรรมดา เช่น ความ

ไม่สงบของเสียง เป็นต้น

พระพุทธเจ้าทรงแสดงในเรื่องของประโยช์ของการเจริยกุศลทุกประการคือ ไม่วา

ทาน ศีล ภาวนา ที่เป็นสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เป็นสิ่งที่ควรเจริญเพราะขณะ

ใดที่ไม่เป็นกุศล ขณะนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นอกุศลครับ แต่ที่สำคัญพระพุทธเจ้าทรงแสดง

สัจจะความจริงอีกว่า กุศลที่สามารถทำให้ดับกิเลสได้ก็มี และไม่สามารถดับกิเลสได้

ก็มี ซึ่งสมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้ แต่ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นกุศล หากมีความ

เข้าใจถูกและสะสมปัญญามาที่เป็นอุปนิสัยที่สามารถเจริญสมถภาวนาได้นั่นก็ควรครับ

ไมว่าเพศไหนเลย เพราะกุศลเป็นสิ่งที่ไม่จำกัดเพศว่าเป็นเพศบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็

ควรเจริญทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าเข้าใจสมถภาวนา มากน้อยอย่างไรเพราะเป้นเรื่องของ

ปัญญา หรือ เพียงต้องการอยากสงบนั่นก็ไม่ใช่การเจริญสมถภาวนาแล้วครับ ผู้ที่จะ

เจริญสมถภาวนาต้องเห็นโทษของกิเลสในชีวิตประจำวันและมีปัญญารู้สภาพธรรมที่

เป็น กุศล หรือ อกุศลในขณะนี้ ถ้าไม่สามารถรู้ความตกต่างของกุศลหรือ อกุศลในชีวิต

ประจำวัน ก็ไม่สามารถเจริญสมถภาวนาได้ เพราะย่อมเข้าใจผิดในสิ่งที่ทำว่า อกุศล

เป็นกุศลได้ครับ จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องของปัญญาทั้งสิ้นครับ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ

ดังนั้นอบรมได้ สมถภาวนาไม่ว่าเพศใดครับ แต่ต้องเริ่มจากความเข้าใจถูก สำคัญ

ที่สุดคือ ไม่ควรเข้าใจผิดว่า การเจริญวิปัสสนาจะต้องอบรมสมถภาวนาก่อนครับ

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย Sensory  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

อยากขอคำอธิบายอย่างละเอียดอีกครั้งค่ะ ที่คราวก่อนเคยตั้งกระทู้ถามเรื่องปลิโพธจะ

กั้นสมถภาวนาในชีวิตประจำวันหรือไม่ (เช่น เมตตา) อยากทราบโดยละเอียดอีกครั้งว่า

เพราะอะไรปลิโพธถึงไม่กั้นสมถภาวนาในชีวิตประจำวันค่ะ พอดีไปสนทนากับคนอื่นเขา

บอกว่า น่าจะกั้น เพราะลักษณะของปลิโพธ น่าจะขัดขวางเมตตาด้วย ซึ่งเมตตาเกิด

ยากอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นราคะ แล้วความกังวลส่วนใหญ่ก็เพราะมีราคะเป็นเหตุ ได้ยิน

อย่างนั้นเลยเอาไปพิจารณาดูอีกรอบ จึงรบกวนขอคำอธิบายแบบละเอียดอีกทีได้ไหมคะ


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ต้องแยกระหว่าง สมถที่เกิดในชีวิตประจำวันทีเ่ป็นชั่วขณะ เช่น ขณะที่คิดช่วยเหลือ

ขณะนั้นมีเมตตา ในขณะนั้น นี่คือสมถในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็สามารถเกิดได้เป็นปกติ

ไม่ว่าใคร ไม่ว่าชาติศาสนาไหนก็มีเมตตาเกิดได้ชั่วขณะ เช่น การช่วยเหลือ เป็นต้น

แต่ไม่ใช่สมถภาวนานะครับ แยกกันตรงนี้ แต่เมื่อเป็นสมถภาวนา คือ อาศัยเมตตาที่

เ่กิดขึ้นนั้น ทำให้เกิดขึ้นบ่อยๆ จนเป็นฌาน ดังนั้นต้องรู้ลักษณะของเมตตาและอบรม

ที่เป็นภาวนาคือทำให้เจริญขึ้น จนเมตตามีกำลังถึงฌานครับ อันนี้เป็นเรื่องของปัญญา

และก็มีเรื่องของปลิโพธเข้ามาเกี่ยงข้องครับ ดังนั้นต้องแยกระหว่างกุศลที่เป็นสมถ

ความสงบที่เกิดขึ้นในชีวิประจำวัน กับสมถภาวนาที่ต้องมีปัญญาอบรมจนถึงได้ฌาน

อันนี้ มี ปลิโพธได้ครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 4    โดย WS202398  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ


ความคิดเห็น 5    โดย WS202398  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

* * * ที่ว่า "เพียงต้องการอยากสงบนั่นก็ไม่ใช่การเจริญสมถภาวนา" ช่วยขยายความ

ด้วยครับว่า อะไรเป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเราเข้าข่าย "เพียงต้องการ...." แล้ว

หรือไม่ ปัจจัยใดเป็นปัจจัยแยกต่างระหว่าง สักแต่เพียงต้องการ กับที่เป็นปัญญา

ปัญญาเห็นโทษของอกุศล และทราบความต่างของกุศล กับอกุศล เมื่อเทียบกับ

ปัญญาที่เกิดจากสติปักฐาน ถือว่าเป็นสติปัฏฐานขั้นใดครับ เท่าที่ผมเข้าใจไม่ใช่ขั้น

สุดใช่ไหมครับเพราะมิใช่ปัญญาเห็นสภาพธรรมเป็นไตรลักษณ์


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

ที่ว่า "เพียงต้องการอยากสงบนั่นก็ไม่ใช่การเจริญสมถภาวนา" ช่วยขยายความ

ด้วยครับว่า อะไรเป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเราเข้าข่าย "เพียงต้องการ...." แล้ว

หรือไม่ ปัจจัยใดเป็นปัจจัยแยกต่างระหว่าง สักแต่เพียงต้องการ กับที่เป็นปัญญา

โลภะเกิดได้ง่ายและติดข้องเกือบทุกอย่างครับ

ดังนั้นเมื่อได้ยินเรื่องฌาน ได้ยินเรื่องสมถภาวนา รู้ว่าดีเป็นกุศล โลภะก็ติดข้อง

แล้ว อยากได้ความสงบ อยากได้ฌาน อยากอบรมสมถภาวนา เป็นต้น ต่างกับผู้ที่เห็น

โทษของกิเลสในชีวิตประจำวัน มีปัญญารู้ว่ากิเลสไม่ดี จึงอบรมสมถภาวนา แต่ด้วย

ความเห็นถูกและอบรมเหตุที่ถูกต้องครับ

------------------------------------------------------------------

ปัญญาเห็นโทษของอกุศล และทราบความต่างของกุศล กับอกุศล เมื่อเทียบกับ

ปัญญาที่เกิดจากสติปักฐาน ถือว่าเป็นสติปัฏฐานขั้นใดครับ เท่าที่ผมเข้าใจไม่ใช่ขั้น

สุดใช่ไหมครับเพราะมิใช่ปัญญาเห็นสภาพธรรมเป็นไตรลักษณ์

ปัญญาที่เห็นโทษของอกุศลที่เป็นสมถภาวนาด้วยปัญญาขั้นพิจารณา แต่ไมได้รู้

ลักษณะของสภาพธรรมทีเป็นอกุศลว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ส่วนการรู้ความต่าง

ของอกุศลและกุศลก็เป็นเพียงขั้นพิจารณา แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐานย่อมรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมตามความเป็นจริงครับ โดยปัญญาขั้นต้นของสติปัฏฐานยังไม่รู้ลักษณะ

ของกุศล หรือ อกุศลแต่รู้ลักษณะว่าเป็นเพียงธรรมครับ ดังนั้นสมถภาวนาไม่ได้รู้

ลักษณะ แต่สติปัฏฐานรู้ลักษณะของสภาพธรรมครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 7    โดย Sensory  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

อ้อ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ เข้าใจผิดมานานมากเลยค่ะ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 8    โดย WS202398  วันที่ 10 มิ.ย. 2554

จากข้อความ * * * """ผู้ที่จะ เจริญสมถภาวนาต้องเห็นโทษของกิเลสในชีวิตประจำวันและมีปัญญารู้สภาพธรรมที่ เป็น กุศล หรือ อกุศลในขณะนี้""" * * *

ประกอบกับที่ผมเคยได้อ่านได้ฟังมาแต่จำสูตรไม่ได้ครับ คือ จำได้เพียงว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เบื่อหน่ายกามคุณ จึงออกจากเรือนเจริญฌาน คือ ผมอยากให้ช่วยอธิบายครับถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อความนัยทั้งสองข้างต้น กับการเจริญสมถภาวนา ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ ผู้ที่เจริญสมถภาวนาแต่กาลก่อนที่เป็นกุศลฌาน คือเพื่อละกามออกจากจิตหรือครับ หรือมีนัยอื่นๆ เป็นเป้าประสงค์ ทั้งเหตุของการออกเจริญสมถะ และผลที่ประสงค์ในการเจริญสมถะ มีประการใดๆ บ้างครับ เพราะปกติที่ได้ยินทั่วไปมีการแนะนำให้บุคคลทำสมาธิเพื่อสมรรถภาพทางจิต ทางปัญญาเป็นต้น เพื่อ...ฯ แต่ในพระสูตร ในกาลก่อนเจริญฌานเพื่อละกามละอกุศลเท่านั้นหรือครับ มีอย่างอื่นอีกหรือไม่

* * * กาม ภพ กามภพ มีความหมายอย่างไรครับ อะไรคือกาม กามเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม หรืออะไรครับ

* * * การเจริญกุศลไม่ควรหวังผลหมายความว่าอย่างไรครับ ถ้ากล่าวโดยปรมัตถ์คือการเจริญกุศลอย่าให้โลภะเข้าเทรกอย่างนั้นหรือครับ

* * * และในสมัยกาลก่อนบุคคลเจริญกุศลประการต่างๆ แล้วตั้งจิตอธิฐานบนฐานการเจริญกุศลนั้นๆ ต่างกันอย่างไรกับที่ไม่ควรหวังผล จิตตอนอธิฐานไม่เป็นโลภะใช่หรือไม่ครับ วัดกันที่ไหน แล้วจิตที่อธิฐานนั้นถ้าไม่เป็นโลภเจตสิก จะเป็นอะไรครับ เป็นฉันทะเจตสติก หรือเจตสิกประเภทใดครับที่ทำให้อธิฐานโดยอ้างกุศลที่ได้กระทำแล้วนั้น

* * * สังขารธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อมันเกิดขึ้นเราสั่งให้มันหยุดก็อาจจะได้โดยการข่ม แต่จะไปสั่งให้มันไม่เกิดก็สั่งไม่ได้ แล้วควรพิจารณาอย่างไรดี ใช่ข้อพิจารณาที่ว่ารู้แล้วละใช่หรือไม่ครับ ที่ว่ารู้แล้วละ ละอย่างไร ละด้วยอาการอย่างไร ละด้วยกุศโลบายใด


ความคิดเห็น 9    โดย paderm  วันที่ 10 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับจากข้อความ * * * """ผู้ที่จะ เจริญสมถภาวนาต้องเห็นโทษของกิเลสในชีวิตประจำวัน

และมีปัญญารู้สภาพธรรมที่ เป็น กุศล หรือ อกุศลในขณะนี้""" * * *

ประกอบกับที่ผมเคยได้อ่านได้ฟังมา แต่จำสูตรไม่ได้ครับ คือ จำได้เพียงว่า เมื่อพระ

โพธิสัตว์เบื่อหน่ายกามคุณ จึงออกจากเรือนเจริญฌาน คือ ผมอยากให้ช่วยอธิบายครับ

ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อความนัยทั้งสองข้างต้น กับการเจริญสมถภาวนา ว่ามีความ

สัมพันธ์กันอย่างไรครับ ผู้ที่เจริญสมถภาวนาแต่กาลก่อนที่เป็นกุศลฌาน คือ เพื่อละ

กามออกจากจิตหรือครับ หรือมีนัยอื่นๆ เป็นเป้าประสงค์ ทั้งเหตุของการออกเจริญสมถะ

และผลที่ประสงค์ในการเจริญสมถะ มีประการใดๆ บ้างครับ เพราะปกติที่ได้ยินทั่วไปมี

การแนะนำให้บุคคลทำสมาธิเพื่อสมรรถภาพทางจิต ทางปัญญาเป็นต้น เพื่อ...ฯ แต่ใน

พระสูตร ในกาลก่อนเจริญฌานเพื่อละกามละอกุศลเท่านั้นหรือครับ มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ ผู้ที่เห็นโทษของกิเลสในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่โทสะ จึงอยากสงบ แต่โลภะ ไม่

เป็นไร แต่ผู้ที่จะเจริญสมถภาวนาเห็นโทษของกาม คือกิเลสกามและความติดข้อง

และกิเลสประการต่างๆ จึงเจริญสมถภาวนา เพื่อระงับกิเลสเหล่านั้นครับ การที่ฤาษี

ทั้งหลายออกบวข เจริญสมถภาวนา ก็เพราะเห็นโทษในกาม คือ กิเลส รวมทั้งกิเลส

ประการต่างๆ ครับ พระโพธิสัตว์ท่านเห็นโทษในสังสารวัฏฏ์ ในกิเลสทั้งหลาย จึง

แสวงหาทางอบรมปัญญา ซึ่งท่านก็เข้าไปหาอาฬารดาบส อบรมจนได้ฌาน 7 แต่

ท่านก็รู้ว่านี้ไม่ใช่ทางหลุดพ้น ไม่ใช่ทางให้เกิดปัญญาดับกิเลส ท่านก็เข้าไปหา

อาฬารดาบสและท่านก็อบรมได้ถึงฌาน 8 สูงสุด แต่ท่านก็รู้ว่านี้ไม่ใช่ทางดับกิเลส

ครับ นี่แสดงให้เห็นครับว่า สมถภาวนาไม่ใช่หนทางดับกิเลส ไม่ใช่ให้เกิดปัญญาดับ

กิเลสครับ ดังนั้นการเจริญฌานจึงเป้นไปเพื่อสงบระงับจากิเลสชั่วคราวเท่านั้นครับ

ซึ่งในสมัยก่อนก็มีผู้ที่เจริญฌานมากมาย เพราะเห็นโทษของอกุศล มีโลภะ เป็นต้น

จึงอบรมสมถภาวนาครับ แต่จะเห็นว่าท่านเริ่มจากปัญญาความเข้าใจที่ถูกที่เห็นโทษ

ของกิเลส แต่หากแต่ว่าการเริ่มจากโลภะ คือ ในชีวิตประจำวันเกิดโทสะ วุ่นวาย ก็

อยากสงบ ก็ไปหาทางทำสมถภาวนา แต่ไมได้เห็นโทษของโลภะเลยครับ ดังนั้นต้อง

เริ่มจาความเข้าใจถูก แม้แต่การเจริญสมถภาวนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย paderm  วันที่ 10 มิ.ย. 2554

* * * กาม ภพ กามภพ มีความหมายอย่างไรครับ อะไรคือกาม กามเป็นรูปธรรมหรือ

นามธรรม หรืออะไรครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ในเรื่องกามภพครับ

กามภพ

ส่วนกาม มีทั้งที่เป็นตัวกิเลส ที่เรียกว่า กิเลสกาม มีความติดข้อง ที่เป็นโลภะ และวัตถุ

กาม คือ สภาพธรรมที่เป็นที่ติดข้อง ของโลภะ มี รูป เสียง...เป็นต้นครับ

--------------------------------------------------------------------

* * * การเจริญกุศลไม่ควรหวังผลหมายความว่าอย่างไรครับ ถ้ากล่าวโดยปรมัตถ์คือการ

เจริญกุศลอย่าให้โลภะเข้าเทรกอย่างนั้นหรือครับ

โลภะ สามารถติดข้องได้ทุกอย่าง ดังนั้นรู้ว่ากุศลดี ก็อยากทำ อยากได้กุศล มี

สมถภาวนา เป็นต้น แต่แทนที่จะหวัง ศึกษา ให้เข้าใจ อบรมเหตุ สำคัญกว่าครับ

เพราะความหวัง โลภะ ไม่ใช่เหตุให้กุศลเจริญครับ

-------------------------------------------------------------

* * * และในสมัยกาลก่อนบุคคลเจริญกุศลประการต่างๆ แล้วตั้งจิตอธิฐานบนฐานการ

เจริญกุศลนั้นๆ ต่างกันอย่างไรกับที่ไม่ควรหวังผล จิตตอนอธิฐานไม่เป็นโลภะใช่

หรือไม่ครับ วัดกันที่ไหน แล้วจิตที่อธิฐานนั้นถ้าไม่เป็นโลภเจตสิก จะเป็นอะไรครับ

เป็นฉันทะเจตสติก หรือเจตสิกประเภทใดครับที่ทำให้อธิฐานโดยอ้างกุศลที่ได้กระทำ

แล้วนั้น

คำว่าอธิษฐาน ที่เป็นอธิษฐานบารมี อันเป็นคุณธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่งคือการดับ

กิเลส จะเป็นอกุศล หรือ โลภะ ไมได้เลย แต่ต้องเป็นกุศล ที่มีปัญญา ความเห็นถูก

บารมีจึงขาดปัญญา ที่เป็นปัญญาบารมีไม่ได้เลยครับ คือ มีความเห็นถูกที่มีปัญญา

ด้วยการเห็นโทษของการเกิด สังสารวัฏฏ์ เมื่อทำบุญจึง อธิษฐาน คือ จิตตั้งมั่นที่น้อม

บุญไปเพื่อการดับกิเลส นี่เป็นอธิษฐานบารมี ที่มีปัญญา เป็นพื้นฐานคัรบ แต่ถ้าหวัง

อย่างอื่น หรือเข้าใจหนทางที่ผิด ก็เป็นอธิษฐานภาษาไทย แต่ไม่ใช่อธิษฐานบารมีครับ

---------------------------------------------------------------------------

สังขารธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อมันเกิดขึ้นเราสั่งให้มันหยุดก็อาจจะได้โดยการข่ม แต่จะ

ไปสั่งให้มันไม่เกิดก็สั่งไม่ได้ แล้วควรพิจารณาอย่างไรดี ใช่ข้อพิจารณาที่ว่ารู้แล้วละ

ใช่หรือไม่ครับ ที่ว่ารู้แล้วละ ละอย่างไร ละด้วยอาการอย่างไร ละด้วยกุศโลบายใด

ก็เป็นเรา เป็นอัตตาที่จะสั่งสภาพธรรมให้หยุดได้ จะให้ไม่เกิดได้ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ

เลยครับ กิเลสมีเหตุปัจจัยก็เกิด และจะระงับได้ก็ต้องด้วยปัญญาที่มีมาก ดังนั้นการรู้

แล้วละ รู้อะไร ปัญญารู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่การพยายามไม่ให้เกิดครับ เกิดแน่ แต่เกิด

แล้วรู้ความจริงไหมครับว่าเป็นธรมไม่ใช่เรา ดังนั้น การรู้เบื้องต้นคือการรู้ว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา แม้อกุศลครับ ดังนั้นเรามักเดือดร้อนกับอกุศลที่เกิดขึ้น เพราะรู้ว่าอกุศลไมดี

ก็กลายเป็นโทสะ ในอกุศลที่เกิด ก็เป็นอกุศลซ้อนอกุศลอีกครับ ดังนั้นหนทางการ

อบรมปัญญาคือเข้าใจ รู้ว่าเป็นธรรม และก็จะละอะไร ละความไม่รู้ ละกิเลสที่เห็นผิดว่า

เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนครับ ตอนนี้ยังไม่รู้แบบนี้ คือ ยังไม่รู้ว่าเป็นธรรมก็ไม่เป็นไร แต่

อาศัยการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพียงแต่อย่ารีบร้อน อยากรู้ อยาก

หาวิธีที่จะระงับกิเลส ถ้าไม่มีปัญญา ไม่รู้จักตัวกิเลสก่อนแล้วก็ละไมได้ ดังนั้น ฟังพระ

ธรรมต่อไป ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งสิ้น เพราะธรรมจะทำหน้าที่เองครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 11    โดย WS202398  วันที่ 13 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ


ความคิดเห็น 12    โดย WS202398  วันที่ 13 มิ.ย. 2554

กามภพ

กาม (กาม) + ภว (ความมี , ความเป็น , ความเกิด , ที่เกิด) ความเป็นกาม , ความเกิดในกาม หมายถึง การเกิดของกามาวจรจิตและเจตสิก ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือหมายถึง ภพที่เป็นที่ที่

ท่องเที่ยวไปของ กามาวจรจิต และเจตสิกเป็นส่วนมาก ได้แก่ กามภพ ๑๑ คือ

อบาย ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖

+++++++

ส่วนกาม มีทั้งที่เป็นตัวกิเลส ที่เรียกว่า กิเลสกาม มีความติดข้อง ที่เป็นโลภะ และวัตถุ

กาม คือ สภาพธรรมที่เป็นที่ติดข้อง ของโลภะ มี รูป เสียง...

///////////////////////////////////////////////

กิเลสกาม=โลภะ

วัตถุกาม=รูปธรรม

ใช่หรือไม่ครับ????

* * * * * * * *

คำว่า "ดำริออกจากกาม" หมายถึง

ออกจากกามภพ

หรือออกจากวัตถุกาม

หรือออกจากกิเสลกาม????

* * * * * * *

ในโลกมนุษย์นี้ถ้ามีประสาทสัมผัสไม่บกพร่อง ย่อมต้องสัมผัสรูป พระอรหันต์ท่านออกจากกามแล้วใช่ไหมครับ การออกในที่นี้คือไม่มีโลภะใน รูปธรรม ใช่หรือไ่ม่ครับ

* * * * * * *

รูปพรมภูมิ มีรูปอยู่ใช่ไหมครับ แต่เหตุใดมิใช่กามภูมิ

* * * * * * * *

นัยหนึ่งของการออกจากกาม หมายถึง นิพพาน หรือ รูปภพและอรูปภพครับ

* * * * * *

สำหรับพระอรหันต์ รูปที่ปรากฏ เรียกว่าวัตถุกามหรือไม่ เพราะเหตุใดครับ


ความคิดเห็น 13    โดย WS202398  วันที่ 13 มิ.ย. 2554

กามในศีลข้อสามนั้น เป็นชื่อเฉพาะใช่หรือไม่ครับ มิใช่กามในความหมายอย่างกว้าง


ความคิดเห็น 14    โดย paderm  วันที่ 13 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 12 และ 13 ครับ

กิเลสกาม=โลภะ วัตถุกาม=รูปธรรม ใช่หรือไม่ครับ????

กิเลสกาม หมายถึงความติดข้อวง คือ โลภะ ส่วนวัตถุกาม คือสภาพธรรมที่เป็นที่

ตั้งของความติดข้อง คือสามารถติดข้องได้ จึงรวมทั้งนามธรรมและรูปธรรมครับ ยกเว้น

โลกุตตรธรรมครับ

* * * * * * * *

คำว่า "ดำริออกจากกาม" หมายถึง ออกจากกามภพ หรือออกจากวัตถุกาม หรือออก

จากกิเสลกาม????

ดำริออกจากกาม อันเป็นเนกขัมมะวิตก เป็นการออกจากกิเลสคือความติดข้องในสภาพ

ธรรมต่างๆ ครับ

* * * * * * *

ในโลกมนุษย์นี้ถ้ามีประสาทสัมผัสไม่บกพร่อง ย่อมต้องสัมผัสรูป พระอรหันต์

ท่านออกจากกามแล้วใช่ไหมครับ การออกในที่นี้คือไม่มีโลภะใน รูปธรรม ใช่หรือไ่ม่ครับ

ใช่ครับ ท่านออกจากกาม คือ กิเลสกาม เพราะละความติดข้องได้เด็ดขาด ไม่มีโลภะใน

สภาพธรรมทุกอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่รูปธรรมครับ

* * * * * * *

รูปพรมภูมิ มีรูปอยู่ใช่ไหมครับ แต่เหตุใดมิใช่กามภูมิ

ภูมิ มี 2 ความหมาย คือ ระดับของจิตที่เกิด และ ภูมิหมายถึง ที่อยู่ของสัตว์ที่เกิด

ดังนั้นผู้ที่ได้ฌาน ไม่เสื่อม ปฏิสนธิเกิดใน รูปพรหมภูมิ อั นที่อยู่ของพรหมบุคคล

เป็นรูปพรหมภูมิไม่ใช่กามภูมิ เพราะที่อยู่ของเหล่าสัตว์ในกามภูมิ มี 11 คือ มนุษย์

อบาย 4 สวรรค์ 6 เป็น 11 ครับ แต่ถ้าพูดถึงระดับของจิต แม้เป็นมนุษย์ ก็มีรูปาวจรภูมิ

ได้เพราะได้ฌานจิตในขณะนั้น และแม้พรหมบุคคล ก็มีระดับจิตที่เป็นกามาวจรจิตได้

ในขณะที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น

* * * * * * * *

นัยหนึ่งของการออกจากกาม หมายถึง นิพพาน หรือ รูปภพและอรูปภพครับ

ออกจากกาม มีหลายระดับ ด้วยการเจริญสมถภาวนา แต่ไม่ใช่หนทางดับกิเลสก็เป็นการ

ออกจากกาม และการเจริญวิปัสสนา เจริญอริยมรรค มีองค์ 8 ก็เป็นการออกจากกามและ

นิพพานก็เป็นสภาพธรรมที่ออกจากกามอย่างแท้จริง

* * * * * *

สำหรับพระอรหันต์ รูปที่ปรากฏ เรียกว่าวัตถุกามหรือไม่ เพราะเหตุใดครับ

จะเรียกก็ได้ครับ เพราะสภาพธรรมเหล่านี้เป็นที่ตั้งของความติดข้องจึงเรียกว่าวัตถุกาม

แต่ท่านไม่มีกิเลสกามครับ

----------------------------------------------

กามในศีลข้อสามนั้น เป็นชื่อเฉพาะใช่หรือไม่ครับ มิใช่กามในความหมายอย่างกว้าง

ไม่ใช่ชื่อเฉพาะครับ ก็ไม่พ้นจากกิเลสกามและวัตถุกาม


ความคิดเห็น 15    โดย WS202398  วันที่ 14 มิ.ย. 2554

* * เนกขัมมะวิตก หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยวิตกเจตสิก ซึ่งดำริถึงเนกขัมมะใช่ไหมครับ

วิตกนี้ มีลักษณะเป็นการริเริ่ม คิดถึง หรือมุ่งสู่ ใช่หรือไม่ครับ ตรงกับคำว่าสังกัปปะ หรือไม่ครับ

* * ในศีลข้อสาม กาม นี้ก็ไม่พ้น กิเลสกามและวัตถุกาม แต่หมายเฉพาะถึงการร่วมประเวณีใช่หรือไม่ครับ หรือเป็นประการอื่น การจับมือถือแขนจะละเมิดศีลข้อสามหรือไม่ครับ


ความคิดเห็น 16    โดย paderm  วันที่ 14 มิ.ย. 2554

เรียนควาเมห็นที่ 15 ครับ

* * เนกขัมมะวิตก หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยวิตกเจตสิก ซึ่งดำริถึงเนกขัมมะใช่ไหมครับ

วิตกนี้ มีลักษณะเป็นการริเริ่ม คิดถึง หรือมุ่งสู่ ใช่หรือไม่ครับ ตรงกับคำว่าสังกัปปะ หรือ

ไม่ครับ

ถูกต้องครับ

------------------------------------------------------------------------

* * ในศีลข้อสาม กาม นี้ก็ไม่พ้น กิเลสกามและวัตถุกาม แต่หมายเฉพาะถึงการร่วม

ประเวณีใช่หรือไม่ครับ หรือเป็นประการอื่น การจับมือถือแขนจะละเมิดศีลข้อสามหรือไม่

ครับ

ถูกต้องครับ


ความคิดเห็น 17    โดย WS202398  วันที่ 14 มิ.ย. 2554

จาก

-------------------------------------------------------------

* * * และในสมัยกาลก่อนบุคคลเจริญกุศลประการต่างๆ แล้วตั้งจิตอธิฐานบนฐานการ

เจริญกุศลนั้นๆ ต่างกันอย่างไรกับที่ไม่ควรหวังผล จิตตอนอธิฐานไม่เป็นโลภะใช่

หรือไม่ครับ วัดกันที่ไหน แล้วจิตที่อธิฐานนั้นถ้าไม่เป็นโลภเจตสิก จะเป็นอะไรครับ

เป็นฉันทะเจตสติก หรือเจตสิกประเภทใดครับที่ทำให้อธิฐานโดยอ้างกุศลที่ได้กระทำ

แล้วนั้น

คำว่าอธิษฐาน ที่เป็นอธิษฐานบารมี อันเป็นคุณธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่งคือการดับ

กิเลส จะเป็นอกุศล หรือ โลภะ ไมได้เลย แต่ต้องเป็นกุศล ที่มีปัญญา ความเห็นถูก

บารมีจึงขาดปัญญา ที่เป็นปัญญาบารมีไม่ได้เลยครับ คือ มีความเห็นถูกที่มีปัญญา

ด้วยการเห็นโทษของการเกิด สังสารวัฏฏ์ เมื่อทำบุญจึง อธิษฐาน คือ จิตตั้งมั่นที่น้อม

บุญไปเพื่อการดับกิเลส นี่เป็นอธิษฐานบารมี ที่มีปัญญา เป็นพื้นฐานคัรบ แต่ถ้าหวัง

อย่างอื่น หรือเข้าใจหนทางที่ผิด ก็เป็นอธิษฐานภาษาไทย แต่ไม่ใช่อธิษฐานบารมีครับ

---------------------------------------------------------------------------

ผมได้ฟังคำบรรยายถึง หลานท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่ง ชาติหนึ่งได้บูชาเจดีย์แล้ว

อธิฐานว่า ขอให้ผู้หญิงที่เห็นท่านแล้วชอบและทิ้งตระกูลมาหาท่าน ซึ่งให้ผลในชาติ

ปัจจุบันจนถูกราชบุรุษจับตัวไปตั้งหลายครั้งจนได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธองค์จึง

เป็นพระโสดาบัน การอธิฐานเช่นนี้มิใช่อธิษฐานบารมีใช่หรือไม่ เหตุใดจึงมีผล

อันนี้ผมฟังต่อมาไม่ทราบว่าเป็นชาดกจริงหรือไ่ม่ ที่สมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์เกิดเป็นญาติ

กับพระนางพิมพา เมื่อพระนางพิมพาในชาตินั้นนำขนม (พุมมาด/ไม่ทราบสะดกเช่นไร)

ส่วนของพระโพธิสัตว์ใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์จึงโกรธและตามไปทวง

ขนมคืน พระนางพิมพาจึงอธิษฐานไม่พบพระโพธิสัตว์อีก ส่วนพระโพธิสัตว์เห็นดังนั้น

จึงกลับใจนำขนมส่วนนั้นใส่บาตร แล้วอธิฐานว่าให้ได้พบพระนางพิมพาอีกทำนองนี้

ครับ แล้วก็ว่ามีผลตามคำอธิษฐาน มีชาดกนี้อยู่หรือไม่ครับ แล้วการอธิฐานแบบนี้จะมี

ผลตามคำอธิฐานดังนี้หรือไม่ ผมเชื่อว่าชาดกนี้เป็นฐานของประเพณีทำบุญร่วมชาติตัก

บาตรร่วมขัน


ความคิดเห็น 18    โดย paderm  วันที่ 14 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที ่ 17 ครับ

บุญเป็นไปตามคำที่ปรารถนาได้ครับเพราะผลของบุญ แต่ไม่จำเป็นว่า การปรารถนา

นั้นจะต้องเป็น อธิษฐานบารมี เพราะคำว่าบารมี หมายถึง การถึงฝั่งคือ การดับกิเลส

ดังนั้นความปรารถนาที่ประกอบด้วยปัญญา ที่เห็นโทษของกิเลส อันเป็นไปเพื่อ

ดับสังสารวัฏฏ์จึงจะเป็นอธิษฐานบารมีครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน


ความคิดเห็น 19    โดย WS202398  วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ