มนายตนะคืออะไร?
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบระลึกถึงคุณท่านพระอัครสาวกธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 3
[๔] ... คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ผัสสะ เป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 68
แต่ศัพท์ว่า มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตนํ ดังนี้ ท่านกล่าวเพื่อ แสดงความเป็นอายตนะแห่งใจเท่านั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงความนี้ว่า จิตนี้มิใช่มนายตนะเพราะเป็น อายตนะแห่งใจเหมือนเทวายตนะ ที่แท้อายตนะคือใจนั้นเอง เป็นมนายตนะ ดังนี้.
ในบทนี้พึงทราบ อายตนะ โดยอรรถว่าเป็น ที่อยู่อาศัย โดยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด . โดยอรรถว่าเป็น ที่ประชุม . โดยอรรถว่าเป็น แดนเกิด และ โดยอรรถว่าเป็น เหตุ .
ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคนี้มีอาทิว่า ที่อยู่อาศัย ของผู้เป็นใหญ่ในโลก ชื่อ เทวายตนะ ดังนี้.
บ่อเกิด ท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า สุวรรณายตนะ บ่อทอง รชตายตนะ บ่อเงิน ดังนี้.
ที่ประชาชนกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า ก็นกทั้งหลาย ย่อมเสพต้นไม้ในป่าอันเป็น ที่ประชุม ที่น่ารื่นรมณ์ใจ ดังนี้.
แดนเกิด ท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า ทักษิณาบถ เป็น แดนเกิด ของโคทั้งหลาย ดังนี้.
เหตุ ท่านก็กล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่าย่อมถึงความเป็นผู้พึงศึกษาในเรื่องนั้นๆ แล ในเมื่อ เหตุ มีอยู่ ดังนี้.
ก็ในที่นี้ควรด้วยอรรถทั้ง ๓ คือด้วยอรรถว่าเป็น แดนเกิด ด้วย อรรถว่าเป็น ที่ประชุม ด้วยอรรถว่าเป็น เหตุ .
จิตนี้เป็นอายตนะ แม้ด้วยอรรถว่าเป็น แดนเกิด ในประโยคว่า ก็ ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดในจิตนี้ ดังนี้.
เป็นอายตนะ แม้ด้วย อรรถว่า เป็น ที่ประชุม ลง ได้ในประโยคว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ภายนอก ย่อมประชุมลงในจิตนี้ โดยความเป็นอารมณ์.
ก็จิตบัณฑิตพึง ทราบว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็น เหตุ เพราะความที่เจตสิกธรรม ทั้งหลายมี ผัสสะ เป็นต้นเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย มีสหชาตปัจจัยเป็นต้น
[สรุป]
มนายตนะคืออะไร?
>> อายตนะ แท้จริงมี ความหมาย ๕ อย่าง คือ ที่อยู่อาศัย บ่อเกิด ที่ประชุม แดนเกิด เหตุ
>> จิต หรือ ใจ นั้นเป็น อายตนะ ด้วยความหมาย ๓ ประเภท คือ แดนเกิด ที่ประชุม เหตุ
>> คำว่า แดนเกิด เช่น ชนบททางทิศใต้เป็นที่เกิดของวัวทั้งหลาย ฉันใด จิต ก็เป็นแดนเกิดของเจตสิกต่างๆ เช่น ผัสสะ เป็นต้น
>> คำว่า ที่ประชุม เช่น ป่าเป็นที่ประชุมของต้นไม้และหมู่นกทั้งหลาย ฉันใด รูป ภายนอก เช่น สีที่ปรากฏทางตา ก็ประชุมโดยความเป็นอารมณ์ขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้น เป็นต้น
>> คำว่า เหตุ เช่น เมื่อมีเหตุอยู่ ก็ควรเป็นผู้ที่ศึกษา เรียนรู้ในเหตุเหล่านั้น ฉันใด จิตนั้นก็เป็น เหตุ โดยเป็นปัจจัยให้เจตสิกอื่นๆ มีผัสสเจตสิก ให้เกิดพร้อมกัน โดยสหชาตปัจจัย เป็นต้น
กราบอนุโมทนา