ได้อ่านหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปมีข้อสงสัยขอรบกวนสอบถามท่านผู้รู้ดังนี้คะ
- ผัสสเจตสิกเป็นเหตุหรือเป็นนเหตุ
เป็นอเหตุกะหรือสเหตุกะ
เป็นเอกเหตุกะหรือทวิเหตุกะหรือติเหตุกะ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างค่ะ
ผัสสเจตสิกเป็น นเหตุ เพราะไม่ใช่เหตุ ๖
ผัสสเจตสิกเป็น ทั้งอเหตุกะและสเหตุกะ เกิดกับจิตประเภทใดก็เป็นประเภทนั้น
ผัสสเจตสิกเป็นทั้งเอกเหตุกะและทวิเหตุกะและติเหตุกะ ตามประเภทของจิตนั้นๆ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สภาพธรรมที่เป็นเหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก, อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก และ อโมหะ (คือ ปัญญาเจตสิก) ดังนั้นผัสสะ จึงเป็น นเหตุ เพราะ ไม่ใช่เหตุหนึ่งเหตุใดในบรรดาเหตุ ๖ ดังกล่าวนั้น
ผัสสเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่กระทบอารมณ์ เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกประเภทเกิดร่วมกับจิตทุกชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก หรือ ชาติกิริยาเกิดร่วมกับจิตประเภทใดก็มีความเสมอกันกับจิตประเภทนั้น ผัสสเจตสิก เมื่อเกิดร่วมกับจิตที่ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็เป็น อเหตุกะ เช่นผัสสเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ซึ่งเป็นอเหตุกจิต ผัสสเจตสิก จึงเป็นอเหตุกะ , ถ้าเกิดร่วมกับจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เช่น เกิดร่วมกับกุศลจิต (กุศลจิตอย่างน้อยต้องมีเหตุ ๒ เกิดร่วมด้วย คือ อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ ถ้ามีปัญญาเกิดร่วมด้วย ก็มีเหตุ ๓) ผัสสเจตสิก ก็เป็น สเหตุกะ คือ มีเหตุเกิดร่วมด้วย ถ้ากุศลจิตประเภทนั้น มีเหตุ ๒ เกิดร่วมด้วย ผัสสเจสติก ก็เป็น ทวิเหตุกะ และ ถ้ากุศลจิตประเภทนั้น ประกอบด้วยเหตุ ๓ คือ มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ผัสสเจตสิก ก็เป็น ติเหตุกะ สำหรับจิตที่มีเหตุเดียวเกิดร่วมด้วย มีเพียงประเภทเดียวเท่านั้น คือ โมหมูลจิต (จิตที่มีโมหะเป็นมูล) เมื่อผัสสเจตสิกเกิดร่วมกับ โมหมูลจิต นี้ ผัสสเจตสิก ก็เป็นเอกเหตุกะ, ส่วนจิตที่เป็นอกุศลประเภทอื่น คือ โลภมูลจิต กับ โทสมูลจิต นั้น มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ กล่าวคือ โลภมูลจิต มี โลภเหตุ กับ โมหเหตุ เกิดร่วมด้วย, โทส-มูลจิต มีโทสเหตุ และ โมหเหตุ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น เมื่อผัสสเจตสิก เกิดร่วมกับอกุศลจิต ๒ ประเภทนี้ ผัสสเจตสิก ก็เป็น ทวิเหตุกะ ดังนั้น ผัสสเจตสิก จึงเป็นได้ ทั้ง อเหตุกะ สเหตุกะ เอกเหตุกะ ทวิเหตุกะติเหตุกะ ขึ้นอยู่กับว่าผัสสเจตสิกจะเกิดร่วมกับจิตประเภทใด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ลักขณาทิจตุกกะ ผัสสะ
1. มีการกระทบ เป็นลักษณะ
2. มีการประสาน เป็นกิจ
3. มีการประชุม เป็นผล
4. มีอายตนะ 6 เป็นเหตุใกล้ ฯ
ขออนุโมทนาบุญในกุศลจิตของทุกท่านที่กรุณาตอบคำถามค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ