พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ -หน้า ๑
สรณคมน์ในขุททกปาฐะ ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัย
[๑] ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.
จบสรณคมน์
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19
ข้ออุปมาพระรัตนตรัย
บัดนี้ จะกล่าวอธิบายคำที่ว่าจะประกาศพระรัตนตรัยนั้น ด้วยข้อ
อุปมาทั้งหลาย ก็ในคำนั้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระ-
ธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมีของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่
เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญที่ทำให้เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน
ดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ พระธรรมดังกล่าวเปรียบเหมือนข่ายรัศมีของดวง
อาทิตย์นั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดแล้ว. พระ-
พุทธเจ้าเปรียบเหมือนคนเผาป่า พระธรรมเครื่องเผาป่าคือกิเลส เปรียบเหมือน
ไฟเผาป่า พระสงฆ์ที่เป็นบุญเขต เพราะเผากิเลสได้แล้ว เปรียบเหมือนภูมิภาค
ที่เป็นเขตนา เพราะเผาห่าเสียแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่
พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝน พระสงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสเปรียบเหมือน
ชนบทที่ระงับละอองฝุ่นเพราะฝนตก. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ดี
พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้าอาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนฝูงม้า
อาชาไนยที่ฝึกมาดีแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนศัลยแพทย์ [หมอผ่าตัด]
เพราะทรงถอนลูกศรคือทิฏฐิได้หมด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายที่ถอนลูกศร
ออกได้พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศรคือทิฏฐิออกแล้ว เปรียบเหมือนชนที่ถูกถอนลูกศร
ออกแล้ว. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
การถึงพระรัตนตรัย ก็ด้วยการศึกษาและประพฤติปฏิบัติตาม ไม่ใช่เพียงแค่กล่าวตาม ต้องครบทั้งกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม จึงจะชื่อว่า ผู้นั้นถึงแล้วซึ่งสรณะ ๓
การกล่าวคำถึงพระรัตนตรัย จิตของปุถุชนไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงได้ ที่กล่าวย้ำถึง 3 ครั้ง แม้ครั้งที่ 2 แม้ตรั้งที่ 3 เพื่อความมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นการสรรเสริญพระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ และพระบริสุทธิ์คุณ