๕. กัญชิกทายิกาวิมาน ว่าด้วยกัญชิกทายิกาวิมาน
โดย บ้านธัมมะ  16 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40293

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 350

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔

๕. กัญชิกทายิกาวิมาน

ว่าด้วยกัญชิกทายิกาวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 350

๕. กัญชิกทายิกาวิมาน

ว่าด้วยกัญชิกทายิกาวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๓] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามเปล่งรัศมีสว่างไปทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

เมื่อชาติก่อน ดีฉันเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรง ได้ถวายน้ำข้าวที่ปรุงด้วยพุทรา อบด้วยน้ำมัน และผสมด้วยดีปลี กระเทียม และรากผักชี แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ณ อันธกวินทนคร นารีผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น ทองคำร้อยแท่ง ม้าร้อยตัว


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 351

รถเทียมแม่ม้าอัสดรร้อยคัน สาวน้อยประดับตุ้มหูแก้วมณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง ช้างตัวประเสริฐตระกูลเหมวตะ มีงาดุจงอนไถ มีสายรัดทองคำ มีที่อยู่อาศัยเป็นทอง (ถ้ำทอง) ร้อยเชือกก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิครองความเป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.

จบกัญชิกทายิกาวิมาน

อรรถกถากัญชิกทายิกาวิมาน

กัญชิกทายิกาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. กัญชิกทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรโรคลมในพระนาภี จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์สั่งว่า อานนท์ เธอจงไปเที่ยวบิณฑบาต นำน้ำข้าวมาเพื่อทำยาแก่เรา. ท่านพระอานนท์ทูลตอบรับพระพุทธดำรัสว่า พระพุทธเจ้าข้า. ถือบาตรที่ท้าวมหาราชถวาย ยืนอยู่ที่ประตูนิเวศน์ของหมอผู้เป็นอุปัฏฐากของตน ภริยาของหมอเห็นท่าน ก็ออกไปต้อนรับไหว้แล้วรับบาตรพลางถามพระเถระว่า ต้องการยาอะไร เจ้าข้า. เล่ากันว่า ภริยาของหมอนั้นเป็นคนมีปัญญา สังเกตรู้ว่า เมื่อจะประกอบยา พระเถระจึงมาที่นี้ มิใช่มาเพื่อภิกษา. และเมื่อพระเถระบอกว่า


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 352

ต้องการน้ำข้าว นางคิดว่า นี้มิใช่ยาสำหรับพระผู้เป็นเจ้าของเรา บาตรนี้ก็เป็นบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ เอาละ เราจะจัดน้ำข้าวอันเหมาะแก่พระโลกนาถ นางดีใจเกิดความนับถือมาก จึงปรุงยาคู ข้าวต้ม ด้วยพุทราและถั่วพูใส่เต็มบาตร และจัดโภชนะอย่างอื่นเป็นบริวารของยาคูนั้นส่งไปถวาย. พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยยาคูนั้นเท่านั้น อาพาธนั้นก็สงบ ต่อมานางตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติยิ่งใหญ่บันเทิงอยู่. ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมีสว่างไปทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ เทพธิดาแม้นั้นพยากรณ์ว่า ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรงได้ถวายน้ำข้าวที่ปรุงด้วยพุทรา อบด้วยน้ำมัน และผสมด้วยดีปลี กระเทียม และรากผักชี แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ณ อันธกวินทนคร. นารีผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 353

ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น. ทองคำร้อยแห่ง ม้าร้อยตัว รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรร้อยคัน สาวน้อยประดับตุ้มหูแก้วมณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง. ช้างตัวประเสริฐตระกูลเหมวตะ มีงาดุจงอนไถ มีสายรัดทองคำ มีที่อยู่อาศัยเป็นทอง [ถ้ำทอง] ร้อยเชือก ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง. ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิครองความเป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทาสึ โกลสมฺปากํ กญฺชิกํ เตลธูปิตํ เทพธิดาแสดงว่า ดีฉันเอาน้ำพุทราและมะซางเติมน้ำสี่ส่วน เคี่ยวยาคู ข้าวต้มเหลือส่วนที่สี่ ปรุงด้วยของเผ็ดร้อนทั้งหลายมีของเผ็ดร้อน ๓ อย่าง ผักชี มหาหิงคุ์ ยี่หร่าและกระเทียมเป็นต้น อบอย่างดีให้ข้าวยาคูนั้นจับกลิ่นพริกไทย แล้วเกลี่ยลงในบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายเฉพาะพระศาสดาด้วยจิตเลื่อมใส. ดีฉันวางไว้ในมือของพระเถระ. เพราะเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า

ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรง ได้ถวายน้ำข้าวที่ผสมด้วยดีปลี กระเทียมและพริกไทย ดังนี้.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 354

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

เมื่อเทวดานั้นชี้แจงถึงกรรมสุจริตที่ตนสั่งสมไว้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็แสดงธรรมแก่เธอพร้อมทั้งบริวารอย่างนี้แล้ว กลับมายังมนุษยโลก กราบทูลเรื่องนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องทรงแสดงธรรม ในท่ามกลางบริษัท ๔. เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

จบอรรถกถากัญชิกทายิกาวิมาน