[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 476
ตติยปัณณาสก์
ทานวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑ ว่าด้วยทาน ๒ อย่าง 386/476
สูตรที่ ๒ ว่าด้วยการบูชา ๒ อย่าง 387/476
สูตรที่ ๓ ว่าด้วยการสละ ๒ อย่าง 388/476
สูตรที่ ๔ ว่าด้วยการบริจาค ๒ อย่าง 389/477
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยการบริโภค ๒ อย่าง 390/477
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยการสมโภค ๒ อย่าง 391/477
สูตรที่ ๗ ว่าด้วยการจําแนก ๒ อย่าง 392/477
สูตรที่ ๘ ว่าด้วยการอนุเคราะห์ ๒ อย่าง 393/478
สูตรที่ ๙ ว่าด้วยการอนุเคราะห์ ๒ อย่าง 394/478
สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง 395/478
อรรถกถาสูตรที่ ๑ 479
อรรถกถาสูตรที่ ๒ 480
อรรถกถาสูตรที่ ๓ 480
อรรถกถาสูตรที่ ๔ 480
อรรถกถาสูตรที่ ๕ 480
อรรถกถาสูตรที่ ๖ 480
อรรถกถาสูตรที่ ๗ 481
อรรถกถาสูตรที่ ๘ 481
อรรถกถาสูตรที่ ๙ 481
อรรถกถาสตรที่ ๑๐ 481
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 476
ทานวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑
[๓๘๖] ๑๔๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๘๗] ๑๔๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๘๘] ๑๔๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้ การสละธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 477
สูตรที่ ๔
[๓๘๙] ๑๔๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๙๐] ๑๔๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๙๑] ๑๔๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้ การสมโภคธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๙๒] ๑๔๖. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 478
เป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๙๓] ๑๔๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๙๔] ๑๔๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๙๔] ๑๔๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 479
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๐
จบทานวรรคที่ ๓
ทานวรรคที่ ๓ (๑)
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๘๖). มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทานานิ ความว่า ชื่อว่า ทาน ด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีทานเป็นต้นที่เขาให้ บทนี้เป็นชื่อของไทยธรรม อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่า ทาน บทนี้เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า อามิสทานํ ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสทาน โดยเป็นของให้. บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ กล่าวปฏิปทาเครื่องบรรลุอมตะให้ นี้ชื่อว่า ธรรมทาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
(๑) วรรคนี้ประกอบด้วยสูตรสั้นๆ ๑๐ สูตร จึงลงอรรถกถาอธิบายไว้ติดต่อรวมกันทั้งวรรค แต่เพื่อความไม่สับสน จึงใส่ข้อบาลีกำกับไว้ในอรรถกถาแต่ละสูตรด้วย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 480
อรรถกถาสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๘๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ปัจจัย ๔ ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา แม้ธรรมะ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๘๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การสละอามิส ชื่อว่า อามิสจาคะ การสละธรรม ชื่อว่า ธรรมจาคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๘๙) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๙๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การบริโภคปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสโภคะ การบริโภคธรรม ชื่อว่า ธรรมโภคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๙๑) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 481
อรรถกถาสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๙๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การแจกจ่ายปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสสังวิภาค การแจกจ่ายธรรม ชื่อว่า ธรรมสังวิภาค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๙๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การสงเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสสงเคราะห์ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมสงเคราะห์.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๙๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การอนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสอนุเคราะห์ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมอนุเคราะห์.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๙๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การแสดงความเอ็นดูด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสอนุกัมปะ เกื้อกูล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 482
ด้วยอามิส การแสดงความเอ็นดูด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมอนุกัมปะ เกื้อกูลด้วยธรรม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบทานวรรคที่ ๓