เมื่อท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปสัมมนาทางพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ปี ๒๕๒๐ (3)
โดย kanchana.c  10 ส.ค. 2559
หัวข้อหมายเลข 28063

วันที่ ๑ ก็หมดไป โดยที่อากาศที่โคลัมโบก็ร้อนจัด เพราะว่าเป็นเดือนที่ร้อนของโคลัมโบ แต่เข้าใจว่า ร้อนอย่างไรก็คงเท่าๆ กับเมืองไทย เวลาที่ไปประเทศอื่นกลับมาแล้ว ถ้าร้อนนี่ รู้สึกว่าเมืองไทยร้อนกว่าที่อื่น

วันรุ่งขึ้นจะเป็นวันเปิดสัมมนา ซึ่งตอนเช้าเจ้าของบ้านตื่นเช้ามาก แล้วก็ไหว้พระสวดมนต์ รับศีลที่ห้องพระของเขาเป็นประจำ ในวันแรกเขาก็คอยเรา ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระก็เก็บจากในสวน และธรรมเนียมของชาวลังกาก็ไหว้พระ สวดมนต์ และรับศีล ๕ ด้วยทุกวัน

ตอนเช้า ทางสำนักข่าวสารพระพุทธศาสนาจัดให้ไปสนทนาธรรม ตอบปัญหาธรรมกับเด็กนักเรียนที่ ดีทร๊อฟคอลเลจ

นี่เป็นรายการตอนเช้า ซึ่งจะเห็นได้ว่า ที่โคลัมโบอาทิตย์แรกนี่หนักมาก จนไม่สบาย ปรากฏว่าเหมือนเดิม คือ มักจะเป็นหวัดเวลาที่ต้องใช้เสียงมากๆ แต่เป็นวันที่จะเปิดสัมมนาตอนเย็น หลังจากที่ไปถึงแล้วคืนหนึ่ง รุ่งเช้าก็ไปที่ดีทร๊อฟคอลเลจ สนทนาธรรม ตอบปัญหาธรรมกับเด็กๆ และข้อที่สำคัญก็คือว่า ไม่มีเครื่องขยายเสียง และเด็กก็มากต้องใช้เสียงดัง ตะโกน เขาคงคิดว่าเสียงดังพอ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเสียงนี้จะต้องใช้อีกเดือนกว่า ไม่ใช่ใช้เฉพาะวันนั้นวันเดียว ถ้าใช้วันเดียวก็อาจจะพยายามตะเบ็งเสียงให้ดังๆ ก็ได้ แต่ว่าคิดแล้ว จะทราบแล้วว่า จะต้องใช้เสียงอีกเดือนกว่า ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะใช้ให้หมดเสียในวันแรก ซึ่งตอนเย็นวันนั้นจะเป็นวันเปิดสัมมนา ซึ่งในวันเปิดสัมมนาไม่ได้กล่าวอะไรมาก เพราะว่าอยากจะรับฟังความคิดเห็น และความเข้าใจ ความรู้ของชาวศรีลังกา ก่อนที่จะได้พูดถึงธรรม เพราะว่าถ้าจะพูดเลยก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้น ก็เปิดโอกาสให้ชาวศรีลังกาได้แสดงความคิดเห็น และให้คุณนีน่าเป็นผู้ที่นำในการเปิดสัมมนา ในการพูดเรื่องที่คิดว่าชาวศรีลังกาจะสนใจ

๖ โมงถึง ๒ ทุ่มก็เปิดสัมมนา เริ่มด้วยพระมหานายกจุดประทีป ที่นั่นไม่ได้ใช้เทียน แต่ใช้ตะเกียงน้ำมัน มีไส้

ในวันที่ ๒ ท่านธัมมธโรได้ร่วมตอบปัญหาด้วย เพราะว่าชาวศรีลังกาควรจะได้ฟังธรรมจากทั้งพระภิกษุและทั้งอุบาสิกา ไม่ใช่มีแต่อุบาสิกาไปตอบปัญหา แล้วพระภิกษุทำอย่างไร แต่ว่าพระภิกษุธัมมธโรเองบวชที่เมืองไทย ศึกษาธรรมที่เมืองไทย และเป็นผู้ที่หลักแหลมเฉลียวฉลาดมากทีเดียว ชาวศรีลังกาได้ฟังแล้วจะติดใจทุกคนไป จนตลอดจากแคนดี้ถึงโคลัมโบ จนจบรายการ

ถ. ท่านเป็นชาวอะไร
สุ. ชาวออสเตรเลีย

เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ถวายโอกาสให้ท่านได้แสดงความรู้ความสามารถ เขาก็จะไม่ทราบว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเชื้อชาติเลย สาธารณะทั่วไปกับทุกคนที่มีความสนใจ และที่มีการสะสมมาแล้วที่จะเข้าใจธรรม

สำหรับในวันนี้ เมื่อที่สัมมนาเสร็จแล้ว ทางสถานทูตไทยเชิญรับประทานอาหาร เพราะว่าทางสถานทูตไทยรู้สึกว่า ถ้าไม่ร่วมรายการที่ทางชาวศรีลังกาเชิญเลย ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะควรอย่างยิ่ง เมื่อชาวศรีลังกาเป็นฝ่ายเชิญคนไทยไป เพราะฉะนั้น ทางสถานทูตก็ร่วมมือให้ความสะดวกทุกอย่าง และสำหรับในวันนี้ก็เชิญรับประทานอาหารค่ำกับพวกข้าราชการสถานทูต แล้วก็มีนายแพทย์ที่ไปประชุมที่ประเทศศรีลังกาด้วยท่านหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีสุภาพสตรีไทยที่แต่งงานกับชาวศรีลังการ่วมด้วย ซึ่งสุภาพสตรีไทย คือ คุณมาลิน แต่งงานกับชาวศรีลังกา คือ คุณศิริเสนา เฟอร์นันโด สำหรับคุณมาลินเป็นผู้ที่มีศรัทธามากในพระพุทธศาสนา และใคร่ที่จะให้สามีได้มีความสนใจศึกษาธรรมเช่นเดียวกับคุณมาลินด้วย เพราะเหตุว่าคุณพ่อของคุณศิริเสนาเป็นผู้ที่มีศรัทธามากในพระพุทธศาสนา และเป็นผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนามาก จัดตั้งโรงเรียนสำหรับพระพุทธศาสนา

แล้วตามสถานที่สำคัญ เช่น ที่ (ถ้ำ) ดัมบูละ ก็บริจาคสิ่งต่างๆ ไว้หลายอย่าง เช่น เครื่องทำไฟ แต่คุณศิริเสนา เรียกสั้นๆ ว่า คุณศิริ ยังไม่มีศรัทธาจะศึกษา และเมื่อจบรายการที่จะกลับจากโคลัมโบ คุณศิริอ่านหนังสือของคุณนีน่า “ธรรมทัศนะในชีวิตประจำวัน” และ “ธรรมปฏิบัติในชีวิตประจำวัน” ซึ่งพิมพ์รวมกันเป็น “พุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน” และ “พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน” เพราะฉะนั้น ทางส่วนบุคคลก็ได้เกื้อกูลให้ได้สนใจ และได้ศึกษาพระพุทธศาสนาจริงๆ

วันเสาร์ที่ ๒ การสนทนาธรรมก็มีในตอนเย็น มีคุณซาร่าห์ พรอคเตอร์ จากอังกฤษมาอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็มีคนไทย ๑ เนเธอร์แลนด์ ๑ อังกฤษ ๑ และท่านธัมมธโร พร้อมทั้งพระภิกษุอื่นๆ ที่ร่วมด้วย ในวันนี้รับประทานอาหารกลางวันที่บ้านนายแพทย์คนหนึ่ง คือ ดร.กูรสิงเห ที่กล่าวถึงก็เพื่อที่จะให้เห็นว่า ชาวศรีลังกาแต่ละบุคคลเป็นอย่างไร แยกย่อยออกมาจากส่วนรวมของการสัมมนาธรรม

สำหรับ ดร.กูรสิงเห กับเพื่อนเป็นผู้มีความรู้ดีคนหนึ่งในพระพุทธศาสนา รู้เรื่องชวนจิต รู้เรื่องในพระไตรปิฎก คัดข้อความนั้นมาได้จาก เวลามสูตร หรือสูตรอื่นๆ

นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ชาวศรีลังกาส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เข้าใจธรรมโดยการอ่าน และการค้นคว้าตำรับตำรา แต่ยังไม่มีการเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติในชีวิตประจำวัน นี่เท่านั้นเองเป็นส่วนที่ขาด แม้การศึกษาพระอภิธรรมที่เขาจำได้ แล้วก็เข้าใจ และรู้ว่าอะไรๆ อยู่ส่วนไหนในพระไตรปิฎก ก็เนื่องมาจากการศึกษาและการค้นคว้าของแต่ละบุคคล แต่ไม่ทราบว่า โลภมูลจิตกำลังเกิดอยู่ในขณะนี้ ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ

เพราะฉะนั้น การศึกษาก็เป็นแบบจำได้ แต่เขากำลังตื่นตัวในการที่จะเข้าใจอภิธรรมที่กำลังปรากฏในชีวิตประจำวัน และศึกษาอภิธรรมในขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน พร้อมกันไปกับการเจริญสติปัฏฐาน

........

ขอเชิญติดตามตอนต่อไปได้ที่ลิงค์ด้านล่าง.....

เมื่อท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปสัมมนาทางพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ปี ๒๕๒๐ (4)
เมื่อท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปสัมมนาทางพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ปี ๒๕๒๐ (5)
เมื่อท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปสัมมนาทางพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ปี ๒๕๒๐ (6)
เมื่อท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปสัมมนาทางพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ปี ๒๕๒๐ (7)
เมื่อท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปสัมมนาทางพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ปี ๒๕๒๐ (8)
เมื่อท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปสัมมนาทางพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ปี ๒๕๒๐ (9)



ความคิดเห็น 1    โดย thilda  วันที่ 12 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย wirat.k  วันที่ 12 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย ํํญาณินทร์  วันที่ 12 ส.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 12 ส.ค. 2559

กราบอนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่แดงครับ เป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อๆ ไปสำหรับผู้สนใจจริงๆ ครับ อ่านแล้วมีข้อคิดพิจารณามากมายครับ


ความคิดเห็น 5    โดย ปาริชาตะ  วันที่ 12 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย s_sophon  วันที่ 13 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ