[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 393
ปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๒
๕. มลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 393
๕. มลสูตร
[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน ๑ เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ๑ ความเกียจคร้านเป็นมลทินของ ผิวพรรณ ๑ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ๑ ความประพฤติ ชั่วเป็นมลทินของหญิง ๑ ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ๑ อกุศลธรรมที่ลามกเป็นมลทินที่ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ๑ เราจะบอก มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้แล.
มนต์ มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็น เป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทิน ของหญิง ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมอันลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราจะบอกมลทินที่ยิ่งกว่างนั้น คือ อวิชชาเป็น มลทินอย่างยิ่ง.
จบ มลสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 394
อรรถกถามลสูตรที่ ๕
มลสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสชฺฌายมลา ความว่า การไม่ทำการสาธยายมนต์ ที่ตนเรียนแล้ว ชื่อว่า เป็นมลทิน. บทว่า อนุฏานมลา ฆรา ความว่า ความไม่ขยันหมั่นเพียรชื่อว่า เป็นมลทินแห่งเรือน. บทว่า วณฺณสฺส ได้แก่ ผิวพรรณของกาย. บทว่า รกฺขโต ความว่า. รักษาสิ่งใด สิ่งหนึ่งอันเป็นสมบัติของตน. บทว่า อวิชฺชา ปรมํ มลํ ความว่า อวิชชาคือความมืดบอดหนาแน่น กล่าวคือ มูลแห่งวัฏฏะอันเป็น ความไม่รู้ในฐานะ เป็นมลทินอย่างยิ่งกว่ามลทินคืออกุศลธรรม ที่เหลือนั้น มลทินอื่นที่ชื่อว่ายิ่งกว่าอวิชชานั้นไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏะอย่างเดียวในพระสูตรแม้นี้.
จบ อรรถกถามลสูตรที่ ๕