ปัญหาการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน
โดย เซจาน้อย  19 พ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 20053

เชิญคลิกอ่าน...

ความสุขของคฤหัสถ์ เกิดจากอะไร [อันนนาถสูตร]

ขออนุโมทนาค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ตราบใดที่ยังมีกิเลส คือ โลภะที่สะสมมาแสนนานในสังสารวัฏฏ์ ก็เป็นธรรมดาที่ความ ต้องการ อยากได้ ในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสที่ดี อันสมมติกันว่าเป็น เงิน ทรัพย์สมบัติ ความสะดวก สบายเป็นธรรมดา เริ่มแรกคือเข้าใจความจริงและยอมรับความ เป็นจริงในข้อนี้ ไม่ได้ปฏิเสธแต่เข้าใจว่า เป็นธรรมดาที่สะสมโลภะ ความต้องการมามาก ก็จะต้องมีความต้องการ ทะเยอทะยานปรารถนาในสิ่งที่น่าปรารถนาครับ ซึ่งพระพุทธ ศาสนา คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุผลและความจริงว่า โลภะ อกุศลธรรม ประการต่างๆ ไม่ดีทรงแสดงความจริง แต่พระองค์แสดงเหตุ คือ หนทางการละกิเลสว่าจะ ต้องเป็นลำดับและเป็นเรื่องของปัญญา หากไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถละกิเลสได้เลย ซึ่ง กิเลสที่จะต้องละเป็นอันดับแรกคือ ความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลตัวตน สำคัญผิดว่าเป็น เรา ไม่เช่นนั้นก็เป็นเราที่จะไม่โลภ เป็นเราที่จะละ เป็นเราไปหมดและก็จะเดือดร้อนในสิ่ง ที่เ่กิดขึ้น เพราะไม่เข้าใจว่าเป็นธรรม ครับ

การศึกษาธรรมที่ถูกต้องจึงเป็นการค่อยๆ เข้าใจไปเรื่อยๆ เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็จะเข้าใจ ถูก แม้แต่การดำเนินชีวิตประจำวัน ว่าเมื่อยังเป็นคฤหัสถ์ หน้าที่ก็ต้องเป็นไปตามสถานะ และตามกิเลสที่สะสมมา คือ มีการทำหน้าที่ ตามสถานภาพที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการ เลี้ยงครอบครัว การทำหน้าที่ของบิดา ของสามี เพื่ออนุเคราะห์ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ดัง พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวินัยคฤหัสถ์ คือ ต้องสงเคราะห์ บุตร ภรรยา บิดา มารดา ครู อาจารย์ สมณะพราหมณ์ ทิศทั้ง 6 ให้สมควร จึงจะเป็นคฤหัสถ์ที่ดี ดังนั้น เมื่อศึกษาพระธรรมมากขึ้น ปัญญาเจริญขึ้น ก็เห็นโทษของกิเลส แต่การทำหน้าที่ก็ สามารถทำได้เป็นปกติ คือ มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญามากขึ้นครับ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 19 พ.ย. 2554

แม้พระอรหันต์ท่านก็ทำหน้าที่ของท่าน ไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่มีกิเลส ไม่มี โลภะแล้ว จะไม่ทำหน้าที่ พระอรหันต์ท่านก็ทำหน้าที่คือ บิณฑบาต สงเคราะห์แสดง ธรรมกับพุทธบริษัท ทำหน้าที่ด้วยปัญญา แม้เราผู้เป็นคฤหัสถ์ ประกอบอาชีพ ทำหน้า ที่ด้วยปัญญา คือ เข้าใจถูกมากขึ้นมากขึ้นในการดำรงชีวิต แทนที่จะเป็นอกุศลมาก และสำคัญว่ามีเราคนนั้นคนนี้ ก็เข้าใจความจริงว่าเป็นแต่เพียงธรรมและปัญญาก็ สามารถเจริญขึ้นได้ กุศลเกิดมากขึ้นในชีวิตประจำวัน แม้ในการทำงาน อาชีพ เพราะ เราไมได้ทิ้งการฟังพระธรรมครับ ทำหน้าที่ด้วยอกุศลน้อยลง ดังเช่น พระอรหันต์ทำ หน้าที่ของตนด้วยปัญญา แม้ไม่มีโลภะแล้วครับ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านมีครอบครัวและท่านก็เป็นพ่อค้า และท่านก็เป็นพระ โสดาบันด้วยครับ ท่านก็ประกอบอาชีพและก็ทำกุศลประการต่างๆ และทำหน้าที่ของตน ได้อย่างเหมาะสมครับ

แม้พระธรรมที่พระพุทธเจ้าจะสอนให้ละ แต่ต้องเข้าใจว่า การละเป็นหน้าที่ของปัญญา และ การละกิเลสต้องเป็นไปตามลำดับครับ และทำหน้าที่ให้ดีที่สุดตามสถานะของตน ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ในวินัยคฤหัสถ์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้คฤหัสถ์ประพฤติ ตนให้เหมาะสมกับที่เป็นคฤหัสถ์ครับ และพร้อมๆ กับการศึกษาพระรรม การดำเนินชีวิตก็ จะเป็นไปในแนวทางที่ถูก กุศลเกิดบ่อยขึ้น ตามกำลังปัญญาทีเพิ่มขึ้น แม้การประกอบ อาชีพก็เพื่ออนุเคราะห์ตนและผู้อื่นครับ มีชีวิตด้วยปัญญาประเสริฐ ทำหน้าที่ของตนให้ ดีที่สุด บอกได้แนะนำได้ครับ แต่ขณะต่อไปก็ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยของผู้ถามเอง ซึ่งขณะนั้นก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดแล้ว เพราะเหตุไร เพราะเกิดแล้วนั่นเอง ครับ ธรรมให้เป็นไปอย่างนั้นเอง

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 3    โดย bsomsuda  วันที่ 19 พ.ย. 2554

"ทำหน้าที่ด้วยอกุศลน้อยลง"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิมค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชีวิตของแต่ละุบุคคลที่ดำเนินไปนั้น เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ถ้าหากได้ศึกษาประวัติของพระอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ในสมัยครั้งพุทธกาล แล้ว ก็จะพบว่า ในชีวิตประจำวันนั้น ท่านมีชีวิตเป็นปกติทุกอย่าง แต่มีการอบรมปัญญามากขึ้น ด้วยการฟังพระธรรม และเจริญกุศลประการต่างๆ ตามสมควร และท่านเหล่านั้นทำหน้าที่ของตนในฐานะต่างๆ เช่น โดยความเป็นลูกต้องดูแลพ่อแม่ ตอบแทนพระคุณของท่าน ผู้ที่เป็นพ่อแม่ต้องดูแลลูก เลี้ยงดูลูก พร่ำสอนให้ดำรงอยู่ในความดี ผู้ที่เป็นอาจารย์ต้องดูแลศิษย์ สอนศิลปวิทยาให้ด้วยความเต็มใจ เป็นต้น ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอะไร ก็ทำหน้าที่ตรงนั้นให้สมบูรณ์ ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ควบคู่ไปกับการได้สะสมกุศล และ อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น หรือ จะกล่าวว่า เป็นคนดี ควบคู่ไปกับการฟังพระธรรม ก็ได้ เพราะการฟังพระธรรม เป็นเหตุให้ความเข้าใจถูก เห็นถูก คือ ปัญญาเจริญขึ้น เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็จะเป็นเครื่องเกื้อกูลให้มีความประพฤติที่ดีงามยิ่งขึ้นทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจตามระดับขั้นของปัญญา สะสมเป็นอุปนิสัยที่ดีต่อไป เมื่อเป็นคนดี ก็ย่อมจะคิด พูด และ กระทำในสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน และ ผู้อื่น ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีตัวตนที่ไปบังคับบัญชาให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ได้ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า ธรรม 4 หาได้ยากในโลก คือ

1. การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก

2. การดำรงชีวิตเป็นอยู่ยาก (การเลี้ยงชีพ การแสวงหาอาหาร ฯลฯ)

3. พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นยากในโลก

4. การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก

ทุกคนเกิดมาก็ต้องทำงาน เลี้ยงชีพ เลี้ยงพ่อ แม่ เลี้ยงครอบครัว แม้แต่ผู้ที่เป็น พระภิกษุก็ต้องแสวงหาอาหาร เลี้ยงชีพ ด้วยการบิณบาตเท่านั้น ส่วนฆราวาสต้อง ขยันทำงานเลี้ยงชีพในทางสุจริต เมื่อได้ทรัพย์มาก็ใช้จ่ายในสิ่งที่เป็นประโยชน์เลี้ยง ตนเองและผู้อื่น ทำกุศลอื่นๆ (เพราะทรัพย์ของคนผู้มีปกติให้ ถึงแม้จะมีน้อยหรือมาก ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่่น สำคัญอยู่ทีผู้ใช้ ไม่ได้อยู่ที่จำนวนมากหรือน้อย) พร้อมทั้งไว้ ใช้ในยามจำเป็นด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย nong  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย win@wavf  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ


ความคิดเห็น 8    โดย เซจาน้อย  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ที่คุณเซจาน้อยกล่าวว่า "ระบบงานหรือองค์กรส่งเสริม..เกื้อกูลให้ในสิ่งที่คนทะเยอทะยานอยาก แต่ขณะเดี่ยวกัน ต้องฝืนความรู้สึกขัดแย้งกับการเรียนศึกษาธรรมะซึ่งให้ละ แต่บางโอกาสหากไม่คิด ทะเยอทะยานอยากทางโลก ก็จะไม่สามารถนำพาครอบครัวประสบกับสิ่งที่ปราถนา หรือเป็นอยู่อย่างสุขสบาย"

ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า จริงหรือไม่ว่า หากเราไม่คิดทะเยอทะยานแล้วครอบครัวจะไม่ได้ประ สบสิ่งปรารถนาและอยู่อย่างสุขสบาย? หรือ หากเราทำการงานด้วยความทะยานอยาก แล้วจะทำให้ครอบครัวเป็นอยู่อย่างสุขสบาย? กิเลสของเรา กับ วิบากของคนในครอบครัว จะเกี่ยวข้องกันหรือไม่ครับ?


ความคิดเห็น 10    โดย paderm  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วย ในประเด็นที่ คุณผู้ร่วมเดินทางกล่าวใน ความคิดเห็นที่ 9 ครับ

เป็นไปดังที่คุณผู้ร่วมเดินทางกล่าวไว้ครับ ความทะเยอทะยาน ที่เป็นกิเลส โลภะก็เป็น ส่วนหนึ่ง ส่วน ความสำเร็จ การได้มาซึ่งสิ่งน่าปรารถนา ที่เป็นวิบากก็ส่วนหนึ่งครับ ดังนั้น การจะได้สิ่งใดมา ก็ต้องเป็นผลของกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ให้ผลหรือไม่ จะอยากหรือไม่ อยาก จะทะเยอทะยานหรือไม่ก็ตาม ก็ขึ้นอยู่กับเหตุ คือ กุศลกรรมจะให้ผล หรือ อกุศล กรรมจะให้ผลครับ แม้มีความทะเยอทะยาน แต่กลายเป็นเสียก็ได้ ถ้ากรรมไม่ดีให้ผลครับ ความสำเร็จจึงเกิดจากวิบาก ทีเ่ป็นกุศลกรรมจะให้ผลหรือไม่ ส่วนกิเลสที่เป็นความทะเยอ ทะยานมีได้ แต่ไม่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จครับ ไม่เป็นเหตุให้ครอบครัวสุขสบาย และความสุขสบายของครอบครัว ก็ต้องแยกเป็นแต่ละหนึ่ง แต่ละคนอีกเช่นกันครับ แต่ละ คนก็อาจสุขสบาย หรือ ไม่สุขสบายก็ได้ครับ ตามวิบากของแต่ละคนครับ

ดังนั้นกิเลสของเรา กับ วิบากของคนในครอบครัว หากมองภายนอกดูจะมีนัยสำคัญที่ เกี่ยวข้องกัน แต่ในความเป็นจริงไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมพันธ์กัน เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรม เป็นของๆ ตน อกุศลของคนอื่น ที่เป็นกิเลส มีความทะเยอทะยาน จะเป็นปัจจัยให้ คนอื่น คนในครอบครัวได้รับวิบากดี หรือ ไม่ดีไม่ได้ เพราะแต่ละคนก็มีกรรมเป็นของๆ ตนครับ ขออนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางที่ตั้งประเด็นให้คิดและทำให้เข้าใจได้ถูกต้องอย่างมากใน เรื่องนี้ครับ


ความคิดเห็น 11    โดย Jesse  วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย pamali  วันที่ 20 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 20 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย วิริยะ  วันที่ 20 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย orawan.c  วันที่ 22 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาด้วยค่ะ

ความคิดเห็น 16    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 24 พ.ย. 2554

ขึ้นอยู่กับนิยามคำว่า "ความสุข" ของแต่ละคนค่ะ

ถ้าเข้าใจธรรมขึ้น เราจะรู้เลยว่า ความสุขที่แท้จริงไม่ได้อิงแอบอยู่กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเสมอไป แต่เป็นความสุขที่มาจากใจ จากสภาพจิตที่ดีที่เป็นกุศล แม้เพียงแค่นึก คิดก็เป็นสุขได้ค่ะ (นึกคิดถึงสิ่งที่ดี ลองดูก็ได้)

ถามตัวเองดูอีกครั้งนะคะว่า ชีวิตต้องการอะไร? แล้วสิ่งนั้นนำมาซึ่งความสุขที่แท้ จริงหรือ? และนี่หรือคือสิ่งที่ชีวิตต้องการ? มั่นคงในความถูกต้องและเป็นตัวของตัวเองค่ะ อย่าไหลไปตามกระแสของชาวโลก เพราะคนพาลนั้นมีมากกว่าบัณฑิต