ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอจาก
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง
[๓๘๕] คำว่า ผู้ไม่สะดุ้ง ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง ภิกษุนั้น ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว
สยดสยองกลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้
อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่
ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้
บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราจะไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ภิกษุนั้น ย่อมไม่สะดุ้ง
ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า
เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ
ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ
ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้
เราไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้ไม่โกรธ ผู้ไม่สะดุ้ง.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความสะดุ้ง ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนามธรรมที่เป็น จิต เจตสิก เพราะ
ฉะนั้น ความสะดุ้งก็ด้วย อกุศลที่ทำให้เกิดความสะดุ้ง เพราะ มีความติดข้องต้องการ
จึงเกิดความสะดุ้ง เมื่อไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา เพราะ มีความยึดถือ พอใจ ในลาภ สักการะ
เมื่อเห็นผู้อื่นได้ลาภ สักการะ ชื่อเสียง ย่อมทนไม่ได้ เกิดความสะดุ้งใจ หรือ เพราะ
ลาภ สักการะ สิ่งที่ต้องการแปรปรวนไป ก็ย่อมเกิดความสะดุ้ง ผู้ที่ไม่สะดุ้ง คือ ผู้ที่
ไม่หวัง ไม่โกรธ ไม่มีกิเลส เพราะ ไม่ติดข้องในสิ่งต่างๆ จึงไม่เกิดความสะดุ้งใจ ที่เป็น
อกุศลจิตที่เป็นโทสะ เป็นต้น แม้สิ่งนั้นแปรปรวนไป หรือไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็ตาม
พระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่ไม่สะดุ้งเลย เพราะ ไม่มีกิเลสที่ทำให้สะดุ้งใจ ครับ
ซึ่งหนทางการละความสะดุ้ง ก็ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ระลึกลักษณะของสภาพ
ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกท่าน ครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณและอนุโมทนาคุณผเดิม คุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ อาจารย์ผเดิม และทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ