จาก
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า” ว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
กายในที่นี้ หมายความว่าอะไรหนอ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระไตรปิฎก จะมีข้อความว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๘๔
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
กองลมทั้งปวง ก็คือสภาพธรรมที่ปรากฏที่กาย ได้แก่ โผฏฐัพพะ (ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม) นั่นเอง เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา
อานาปานสติ เป็นสติที่มีลมหายใจเป็นอารมณ์ เป็นได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ซึ่งจะขาดปัญญาไม่ได้เลยทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนา แต่ผลต่างกัน เพราะสมถภาวนาเพียงระงับกิเลสด้วยการข่มไว้เท่านั้น ไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานแล้ว สามารถทำให้รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น สูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น เรื่อง เจริญสติปัฏฐานเป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ ไม่ใช่เพียงประการเดียวเท่านั้น
การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุผลแล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ จะต้องไม่เข้าใจผิดว่าเป็นสติปัฏฐานเฉพาะบางสิ่งบางประการ หรือ เลือกเจาะจงเฉพาะบางนามธรรม บางรูปธรรม แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั้น เป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น เพราะเป็นที่ตั้งให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้ ลมหายใจก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และเคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจของเรา เป็นเราหายใจ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลม เริ่มที่จะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือ เป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์ (คือเป็นรูปธรรม) เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่าเป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา ทั้งนี้ แล้วแต่ว่าสติจะระลึกรู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดและไม่เจาะจง เพราะเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ....
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอสอบถามอีกคำถาม
“เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า” ว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
กับ
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
ความหมายอย่างเดียวกันหรือไม่
ที่เรียกว่า “อานาปานสติ” ก็คือขณะที่สติระลึกที่ลมหายใจ ไม่ใช่เพียงระลึก แต่ศึกษาพิจารณาเข้าใจในลักษณะที่เป็นลมหายใจ เพื่อปัญญาจะได้รู้ชัดเจนตามความเป็นจริงว่า ลักษณะนั้นเป็นเพียงสภาพธรรมะอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ก่อนนี้เคยเป็นเราหายใจ แต่เวลาที่ระลึกได้ และระลึกที่ลักษณะของลม และรู้ลักษณะของลม ก็จะรู้ได้ว่า ลักษณะนั้นมีจริง แล้วไม่ใช่เราด้วย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป จึงจะเป็นอานาปานสติ ซึ่งเป็นวิปัสสนา เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเหตุว่าลมหายใจเกิดที่กาย เนื่องกับกาย ถ้าปราศจากลมหายใจก็มีชีวิตไม่ได้
ที่มา ... คลิกที่นี่