[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ ๓๙๘
อรรถกถาปธานสูตรที่ ๒
ปธานสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ต ม ปธานปหิตตฺต มารเข้ามาหาเรา
ผู้มีตนส่งไปแล้วด้วยความเพียร ดังนี้.
ถามว่า เรื่องนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?
ตอบว่า มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.
ท่านพระอานนท์ ยังบรรพชาสูตรให้จบลง ด้วยบทว่า ปธานาย
คมิสฺสามิ เอตฺถ เม รญฺชติ มโน อาตมภาพจักไปเพื่อความเพียร ใจ
ของอาตมภาพยินดีในความเพียรนี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ทรงดำริว่า เรา
ปรารถนาความเพียรตลอด ๖ ปี กระทำทุกรกิริยา วันนี้เราจักกล่าวถึงความ
เพียรนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระ-
คันธกุฎี ประทับนั่ง ณ พุทธาสนะทรงปรารภว่า ต ม ปธานปหิตตฺต
ดังนี้ แล้วตรัสพระสูตรนี้.
ในบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ ด้วยคำสองคำ
ว่า ต ม ดังนี้. บทว่า ปธานปหิตตฺต ได้แก่ มีจิตส่งไปแล้วหรือสละ
อัตภาพเพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงลักษณะ
ด้วยบทว่า นทึ เนรญฺชร ปติ ความว่า แสดงลักษณะ. เพราะ ลักษณะ
ชื่อว่า แม่น้ำเนรัญชรา เพราะมีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร. โดยเหตุที่ใน
บทว่า นทึ เนรญฺชร เป็นทุติยาวิภัตติ แต่มีความเป็น สัตตมีวิภัตติว่า นทิยา
เนรญฺชราย อธิบายว่า ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. บทว่า วิปรกฺกมฺม คือ
บากบั่นอย่างยิ่ง. บทว่า ฌายนฺต คือ บำเพ็ญฌานโดยหายใจแต่น้อย.
บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา คือ เพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔.
บทว่า นมุจิ ได้แก่มาร. เพราะมารนั้นไม่ยอมปล่อยเทวดาและมนุษย์
ผู้ประสงค์จะออกจากวิสัยของตน จะทำอันตรายแก่พวกเขา ฉะนั้นท่านจึง
เรียกว่า นมุจิ. บทว่า กรุณ ได้แก่ ประกอบด้วยความเอ็นดู. บทว่า
ภาสมาโน อุปาคมิ นี้ง่ายอยู่แล้ว. เพราะเหตุไรมารจึงเข้าไปใกล้. ได้ยินว่า
วันหนึ่งพระมหาบุรุษดำริว่า ผู้แสวงหาอาหารทุกเมื่อ เป็นผู้หวังในความเป็น
อยู่ อันผู้หวังในความเป็นอยู่ ไม่สามารถบรรลุอมตธรรมได้. แต่นั้นพระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงปฏิบัติโดยตัดอาหาร ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงทรงซูบผอม
มีผิวพรรณเศร้าหมอง.
ครั้งนั้น มารไม่รู้ว่า นี้เป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือมิใช่ กลัวไปว่า
พระองค์บำเพ็ญความเพียรอันแรงกล้า บางครั้งจะพึงพ้นวิสัยของเรา จึงมาด้วย
คิดว่า เราพึงกล่าวห้ามอย่างนี้ๆ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น มารจึงกล่าวว่า ท่าน
ซูบผอม มีผิวพรรณเศร้าหมอง ความตายของท่านอยู่ในที่ใกล้. ก็และครั้น
มารกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงประกาศความที่พระองค์ใกล้ความตาย กล่าวว่า ส่วน
แห่งความตายของท่านมีตั้งพันส่วน ความเป็นอยู่ของท่านมีเพียงส่วนเดียว.
ใจความของบทนั้นมีว่า ชื่อว่า สหสฺสภาโค เพราะมีพันส่วน. ปาฐะที่เหลือ
ว่า อะไรเป็นปัจจัยแห่งความตาย. ส่วนเดียวชื่อว่า เอกโส. ท่านอธิบายไว้ว่า
พันส่วนมีการเพ่งลมหายใจน้อยเป็นต้นนี้ เป็นปัจจัยแห่งความตายของท่าน
ความเป็นอยู่ของท่านมีส่วนเดียวเท่านั้น จากที่ท่านทำความเพียร ความตาย
ของท่านอยู่ในที่ใกล้อย่างนี้ ดังนี้. ครั้นมารประกาศความที่พระองค์ใกล้ความ
ตายอย่างนี้แล้ว เมื่อจะเร่งเร้าพระองค์ในความเป็นอยู่ จึงกล่าวว่า ชีวิตของ
ท่านผู้เป็นอยู่ประเสริฐกว่า เมื่อเป็นอยู่ท่านจักทำบุญได้. ลำดับนั้น มารเมื่อจะ
แสดงบุญที่ตนเห็นด้วย จึงกล่าวว่า จรโต จ เต พฺรหฺมจริย ท่านประพฤติ
พรหมจรรย์ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจริย มารกล่าวหมายถึงการเว้นเมถุน
เป็นครั้งคราว. บทว่า ชูหโต ได้แก่ บูชาไฟ. บทที่เหลือในที่นี้มีความปรากฏ
ชัดแล้ว.
มารเมื่อจะให้พระองค์เลิกความเพียร จึงกล่าวกึ่งคาถานี้ว่า ทุคฺโค
มคฺโค ทางเพื่อความเพียรดำเนินไปได้ยาก. ในบทนั้นพึงทราบความอย่างนี้ว่า
ชื่อว่า ดำเนินไปได้ยาก เพราะนำไปสู่การเพ่งลมหายใจน้อยเป็นต้น ชื่อว่า ทำ
ได้ยาก เพราะต้องทำด้วยกายและจิตที่เป็นทุกข์ ชื่อว่า ให้เกิดความยินดีได้ยาก
เพราะไม่สามารถจะบรรลุเช่นนั้นได้ด้วยความตายใกล้เข้ามา. เบื้องหน้าแต่นี้
พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถากึ่งหนึ่งนี้ว่า อิมา คาถา ภณ มาโร อฏฺา
พุทฺธสฺส สนฺติเก มารได้ยืนกล่าวคาถานี้ ในสำนักของพระพุทธเจ้า. อาจารย์
พวกหนึ่งกล่าวว่า คาถาทั้งหมดบ้าง. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอ้างพระองค์
ดุจคนอื่น ตรัสถึงความเกิดอย่างนี้ ทั้งหมดในบทนี้เพราะเหตุนั้น นี้คือความ
อดทนของเรา. ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺา แปลว่า ได้ยืนอยู่แล้ว. บทที่
เหลือง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ในบทว่า เยนตฺเถน นี้มีอธิบาย
ดังนี้ ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านมาในที่นี้ด้วยประโยชน์ของตนอันจะทำอันตราย
แก่ผู้อื่น. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านคำนี้ว่า เมื่อ
เป็นอยู่ท่านจักทำบุญได้ดังนี้ ตรัสคาถานี้ว่า อณุมตฺโตปิ แม้มีประมาณน้อย.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺเน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง
บุญอันไปสู่วัฏฏะซึ่งมารกล่าว. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าคุกคามมารปรารภคำนี้ว่า ความเป็นอยู่ของ
ท่านมีส่วนเดียว ตรัสคาถานี้ว่า อตฺถิ สทฺธา ศรัทธามีอยู่ดังนี้. ในคาถา
นั้นมีอธิบายดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคุกคามมารอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาร
ใจร้าย ท่านไม่เชื่อในสันติวรบท (ทางแห่งความสงบอันประเสริฐ) อัน
ยอดเยี่ยม หรือแม้มีศรัทธาก็เกียจคร้าน หรือมีศรัทธา แม้ปรารภความเพียร
ก็มีปัญญาทราม ตามถามความเป็นอยู่ แต่เรามีศรัทธาหยั่งลงในสันติวรบท
อันยอดเยี่ยม เรามีความเพียรกล่าวคือ ความพยายามไม่ย่อหย่อนทางกายและ
ทางจิต และเรามีปัญญาเปรียบดังวชิระ ท่านถามเราผู้มีตนส่งไปแล้ว คือมี
อัธยาศัยเลิศ มีความเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุไรท่านจึงถาม. ควรประกอบ
สติและสมาธิด้วย จ ศัพท์ในบทนี้ว่า ปญฺา จ มม ดังนี้. ผู้ประกอบ
ด้วยอินทรีย์ ๕ เหล่าใดย่อมถึงนิพพาน ในอินทรีย์ ๕ เหล่านั้นแม้อย่างเดียว
ก็เว้นไม่ได้ ท่านถามเราผู้มีตนส่งไปแล้ว มีความเป็นอยู่อย่างไรมิใช่หรือ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่มมารอย่างนี้ว่า
เอกาห ชีวิต เสยฺโย วิริยมารภโต ทฬฺห
ปญฺวนฺตสฺส ฌายิโน ปสฺสโต อุทยพฺพย.
เป็นอยู่วันเดียวของผู้ปรารภความ
เพียรมั่น มีปัญญา มีความเพ่ง เห็นความ
เกิดและความเสื่อมประเสริฐ ดังนี้.
เมื่อจะทรงแสดงความเป็นไปของร่างกายและจิตของพระองค์ จึงตรัส
สองคาถาว่านทีนมฺปิ ดังนี้เป็นต้น. สองคาถานั้นโดยความปรากฏชัดดีแล้ว แต่
อรรถกถาอธิบายไว้ว่า ลมใดที่ตั้งขึ้นจากความเพียรในการเพ่งลมหายใจแต่น้อย
ปั่นป่วนในสรีระของเรา ลมนี้พึงพัดกระแสแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ให้
เหือดแห้งไปได้ เลือดประมาณ ๔ ทะนานของเราผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่พึงเหือด
แห้ง มิใช่เพียงโลหิตของเราเท่านั้นเหือดแห้งไป ก็เมื่อโลหิตเหือดแห้งไป ดีที่
อยู่ในร่างกายทั้งประเภทที่เกี่ยวพันและไม่เกี่ยวพัน ย่อมเหือดแห้งไป เสมหะประ-
มาน ๔ ทะนาน ปกปิดการกินการดื่มเป็นต้น ทั้งอะไรอื่นอีก ย่อมเหือดแห้งไป
เพราะฉะนั้น น้ำมูตรและอาหารมีรสย่อมเหือดแห้งไป ก็เมื่อน้ำมูตรและอาหาร
มีรสเหือดแห้งไป แม้เนื้อก็สิ้นไป เมื่อเนื้อของเราสิ้นไปโดยลำดับอย่างนี้ จิต
ย่อมเลื่อมใสโดยยิ่ง จิตมิได้จมลงเพราะสิ่งนั้นเป็นปัจจัย ท่านนั้นไม่รู้จิตเช่นนี้
เห็นเพียงสรีระเท่านั้นก็พูดว่า ท่านซูบผอมมีผิวพรรณเศร้าหมอง ความตาย
ของท่านอยู่ในที่ใกล้ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นมิใช่จิตของเราอย่างเดียวเท่านั้น
เลื่อมใส แม้สติ ปัญญาและสมาธิของเราย่อมตั้งมั่นโดยยิ่ง ความประมาทก็ดี
ความลุ่มหลงก็ดี ความฟุ้งซ่านของจิตก็ดี แม้เพียงน้อยหนึ่งก็มิได้มี เมื่อเรา
อยู่อย่างนี้ สมณะและพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ย่อมเสวยเวทนาอันเจ็บปวด
ตลอดกาล ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน จิตของผู้ได้รับเวทนาอัน
แรงกล้า อันเป็นตัวอย่างของเวทนาเหล่านั้น ย่อมเพ่งเล็งถึงความสุขของผู้อื่น
ผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เพ่งเล็งถึงความร้อน เมื่อได้รับความหนาว เพ่งเล็งถึง
ความหนาว เมื่อได้รับความร้อน เพ่งเล็งถึงโภชนะ เมื่อได้รับความหิว
เพ่งเล็งถึงน้ำ เมื่อได้รับความกระหาย ฉันใด จิตย่อมไม่เพ่งเล็งในกามคุณ ๕
แม้กามอย่างหนึ่งฉันนั้น จิตองเราไม่เกิดด้วยอาการเช่นนี้ว่าไฉนหนอ เราพึง
บริโภคอาหารดี ที่นอนสบาย ที่นั่งสบาย ดูก่อนมาร ท่านจงดูความที่สัตว์เป็น
ผู้บริสุทธิ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ เพื่อ
หักร้างความปรารถนาของมารผู้มาแล้ว ด้วยหวังว่า จักห้ามพระองค์ เมื่อจะ
ทรงประกาศกะมารและเสนามาร แล้วทรงแสดงความที่พระองค์เป็นผู้อันมาร
และเสนามารให้แพ้ไม่ได้ด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๖ คาถามีอาทิว่า
กามา เต ปมา เสนา กามทั้งหลายเป็นเสนาที่หนึ่งของท่าน.
เพราะกิเลสกามทั้งหลาย ย่อมยังสัตว์ผู้รองเรือนให้ลุ่มหลงในวัตถุ
กามทั้งหลายแต่ต้นทีเดียว เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกกิเลสกามครอบงำเข้าไปบวช
แล้ว ก็จะเกิดความไม่ยินดีในเสนาสนะอันสงัด หรือในธรรมอันเป็นอธิกุสล
อย่างใดอย่างหนึ่ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า ปพฺพชิเตน โข อาวุโส อภิรติ
ทุกฺกรา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความยินดียิ่งอันบรรพชิตทำได้ยากดังนี้. แต่
นั้นความหิวกระหายย่อมเบียดเบียน เพราะมีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น เพราะถูกความ
หิวกระหายเบียดเบียน ความอยากในการแสวงหา ย่อมทำให้จิตเหนื่อยหน่าย
เมื่อเป็นเช่นนั้น ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) ย่อมครอบงำผู้มีจิต
เหนื่อยหน่ายเหล่านั้น. แต่นั้นเมื่อบรรลุคุณวิเศษ อยู่ในเสนาสนะอันสงัดใน
ราวป่า อันยินดีได้ยาก เกิดความกลัวรู้สึกหวาดสะดุ้ง เมื่อชนเหล่านั้นเกิด
ความกลัวความระแวง ไม่พอใจในรสของวิเวกอยู่ตลอดกาลนาน เกิดความ
สงสัยในการปฏิบัติว่า นี้คงไม่ใช่ทางแน่ เมื่อบรรเทาความสงสัยนั้นอยู่ เกิด
มานะ (ถือตัว) มักขะ (ลบหลู่) ถัมภะ (หัวดื้อ) เพราะบรรลุคุณวิเศษ
เพียงเล็กน้อย เมื่อบรรเทามานะ มักขะ ถัมภะอยู่ ย่อมเกิด ลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ เพราะอาศัยการบรรลุคุณวิเศษยิ่งไปกว่านั้น. ผู้หมกมุ่น
อยู่ในลาภ ประกาศธรรมปฏิรูป (ธรรมเทียม) บรรลุทางผิด ตั้งอยู่ในทาง
ผิดนั้น ย่อมยกตนข่มผู้อื่นด้วยชาติเป็นต้น ฉะนั้นพึงทราบความที่กามเป็นต้น
เป็นเสนาที่ ๑.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงเสนา ๑๐ อย่างอย่างนี้แล้ว เพราะ
เสนานั้นย่อมเป็นไปเพื่อความอุปการะมารผู้ใจดำ เพราะประกอบด้วยธรรมดำ
ฉะนั้น เมื่อจะทรงอ้างกะมารนั้นว่า ตว เสนา เสนาของท่าน จึงตรัสว่า
เอสา นมุจิ เต เสนา กณฺหสฺสาภิปฺปหารินี ดูก่อนมาร เสนาของท่าน
นี้มีปรกติกำจัดคนผู้มีธรรมคำ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิปฺปหารินี ได้แก่ กำจัด ทำร้าย
ทำอันตรายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า น น อสูโร ชินาติ เชตฺวา
จ ลภเต สุข คนผู้ไม่กล้าย่อมไม่ชนะเสนาของท่านนั้น ครั้นชนะแล้วย่อม
ได้ความสุข ดังนี้ ความว่า คนผู้ไม่กล้าคือคนที่ไม่มีความเพ่งเล็งในกายและ
ในชีวิต ย่อมไม่ชนะเสนาของท่าน แต่คนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อม
บรรลุมรรคสุข และผลสุข. ก็เพราะได้ความสุข ฉะนั้นแม้เราปรารถนาความสุข
นั้นก็พึงรักษาหญ้ามุงกระต่ายไว้ บุรุษผู้เข้าสงความไม่ยอมถอย เพื่อจะให้รู้
ว่าตนไม่ถอย จึงผูกหญ้ามุงกระต่ายไว้บนศีรษะที่ธงหรือที่อาวุธ ท่านจงจำเรา
ว่ามารนี้ยังนำไปอยู่ น่าติเตียน ชีวิตของเราผู้แพ้ เสนาของท่าน เพราะฉะนั้น
ท่านจงจำไว้อย่างนี้ว่า สงฺคาเม เม มต เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว ปราชิโต
เราตายเสียในสงความยังดีกว่า แพ้แล้วเป็นอยู่จะดีได้อย่างไร อธิบายว่า เรา
ตายเสียในสงครามกับท่านผู้ทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ดีกว่าแพ้แล้วมีชีวิตอยู่.
หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร จึงว่าตายดีกว่า. ตอบว่า เพราะ
สมณพราหมณ์บางพวกหยั่งลงไปแล้วในเสนาของท่านย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้มี
วัตรงามย่อมไปโดยหนทางที่ชนทั้งหลายไม่รู้. อธิบายว่า สมณพราหมณ์
บางพวกหยั่งลงไปแล้ว คือ จมลงไปแล้ว เข้าไปแล้วในเสนาของท่านอันมี
วัตถุกามเป็นเบื้องต้น มีการยกตนข่มผู้อื่นเป็นที่สุดย่อมไม่ปรากฏ คือย่อมไม่
ประกาศด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ดุจเข้าไปสู่ที่มืด สมณพราหมณ์เหล่านี้
หยั่งลงไปแล้วอย่างนี้ บางครั้งก็โผล่ขึ้นโดยนัยมีอาทิว่า สาหุ สทฺธา ดุจบุรุษ
โผล่ขึ้นในบางครั้งแล้วจมลงฉะนั้น. อนึ่ง ผู้มีวัตรงามมีพระพุทธเจ้า พระปัจ-
เจกพุทธเจ้าเป็นต้นแม้ทั้งปวง ย่อมไปโดยหนทางที่ชนทั้งหลายไม่รู้ เพราะถูก
เสนานั้นครอบงำไว้ อันได้แก่ไปสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม.
ฝ่ายมารฟังคาถานี้แล้ว ไม่พูดอะไรๆ แล้วก็หลีกไป. ก็เมื่อมารนั้น
หลีกไปแล้ว พระมหาสัตว์ยังไม่บรรลุธรรมวิเศษอย่างใด เพราะบำเพ็ญทุกร-
กิริยานั้น ทรงดำริต่อไปว่า จะพึงมีทางอื่นเพื่อการตรัสรู้หรือหนอ ทรงให้นำ
อาหารหยาบมาเพิ่มกำลัง ในวันเพ็ญเดือน ๖ เสวยข้าวปุายาสของนางสุชาดา
เป็นครั้งแรก ประทับนั่งพักกลางวัน ณ ไพรสณฑ์อันเจริญ ยังสมาบัติ ๘
ให้เกิด ณ ที่นั้น กลางวันผ่าน ไป ในตอนเย็นเสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังควง
มหาโพธิ ทรงเกลี่ยกำหญ้า ๘ กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย ณ โคนโพธิ เป็นผู้
ที่เทวดาในหมื่นโลกธาตุกระทำการบูชาสักการะมาก ทรงอธิษฐานความเพียรมี
องค์ ว่า แม้เลือดเนื้อในร่างกายของเราจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังเอ็น
กระดูกก็ตาม แล้วทรงทำปฏิญญาว่า บัดนี้เรายังไม่บรรลุความเป็นพุทธะแล้ว
จักไม่ทำลายบัลลังก์ ดังนี้. เสด็จประทับนั่ง ณ อปราชิตบัลลังก์ (บัลลังก์ที่ไม่มี
ผู้ทำให้แพ้ได้) .
มารผู้ใจบาปรู้ดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า วันนี้สิทธัตถะนั่งทำปฏิญญา วันนี้
เดี๋ยวนี้ เราจะต้องห้ามปฎิญญาของสิทธัตถะนั้น จึงประชุมมารเสนาตั้งแต่
โพธิมณฑลถึงสุดจักรวาล กว้างยาว ๑๒ โยชน์ เบื้องบน ๙ โยชน์ ขี่พญาช้าง
ศิริเมขล์ประมาณ ๑๕๐ โยชน์ เนรมิตแขนพันหนึ่ง ถืออาวุธนานาชนิด
ประกาศว่า จงจับ จงฆ่า จงประหาร บันดาลฝนดังที่กล่าวแล้วในอาฬวก-
สูตรให้ตกลง ฝนตกถึงพระมหาบุรุษมีประการดังได้กล่าวแล้วในอาฬวกสูตร
นั้น. แต่นั้นมารเอาขอวชิระสับที่กระพองช้าง ไสเข้าไปใกล้พระมหาบุรุษแล้ว
กล่าวว่า ดูก่อนสิทธัตถะผู้เจริญ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์. พระมหาบุรุษตรัสว่า
ดูก่อนมาร เราไม่ลุก ทรงตรวจดูเสนานั้นโดยรอบ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ว่า สมนฺตา ธชินึ เสนาโดยรอบ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ธชินึ คือเสนา. บทว่า ยุตฺต ได้แก่
ขวนขวายแล้ว. บทว่า สวาหน คือ ร่วมกับพญาช้างคิรีเมขล์. บทว่า
ปจฺจุคจฺฉามิ คือ มุ่งหน้าไปเบื้องบน. มารนั้นไปด้วยเดชไม่ใช่ด้วยกาย
เพราะเหตุไร เพราะมารไม่ทำให้เราเคลื่อนจากที่ได้. ท่านอธิบายว่า มารอย่า
ทาให้เราเคลื่อนจากที่อปราชิตบัลลังก์นั้น. บทว่า นปฺปสหติ คือไม่สามารถ
อดกลั้นหรือครอบงำได้. บทว่า อามปกฺก ได้แก่ ภาชนะดินทั้งดิบทั้งสุก.
บทว่า อมฺหนา ได้แก่ ด้วยหิน. บทที่เหลือในสูตรนี้ปรากฏชัดแล้ว.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อนมาร เราจักทำลาย
เสนาของท่านนั้น ต่อจากนั้นเราเป็นผู้ชนะสงความแล้ว บรรลุธรรมราชาภิเษก
จักกระทำสัมมาสังกัปปะนี้ ดังนี้ จึงตรัสว่า วสึ กริตฺวา ทำสัมมาสังกัปปะให้
ชำนาญดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วสึ กริตฺวา สงฺกปฺป ความว่า ละมิจฉา
สังกัปปะทั้งหมดด้วยมรรคภาวนา แล้วทำสังกัปปะให้ชานาญโดยให้สัมมา-
สังกัปปะเท่านั้นเป็นไป. บทว่า สติญฺจ สุปติฏิต ดำรงสติให้ตั้งมั่นเป็น
อันดี ความว่า เราจักทำสติของตนในฐานะ ๔ มีกายเป็นต้นให้ตั้งมั่นด้วยดี
ทำสังกัปปะให้ชำนาญอย่างนี้แล้ว มีสติตั้งมั่นด้วยดีจักเที่ยวไปจากแคว้นนี้ไปยัง
แคว้นโน้น แนะนำสาวกเป็นอันมากทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น
สาวกผู้ไม่ประมาทเหล่านั้นอันเราแนะนำแล้ว มีใจเด็ดเดี่ยวกระทำตามคำสั่ง
สอนของเรา จักถึงที่ซึ่งไม่มีความใคร่ ที่ชนทั้งหลายไปถึงแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
อธิบายว่า ที่นั้นได้แก่อมตมหานิพพานนั้นเอง.
ลำดับนั้น มารกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านเห็นเราเป็นยักษ์ฉะนี้แล้ว ไม่
กลัวดอกหรือ. พระผู้มืพระภาคเจ้าตรัสว่า เออ มารเราไม่กลัวดอก. มารทูล
ถามว่า ทำไมไม่กลัว. ทรงตอบว่า เพราะเราได้ทำบุญบารมีมีทานบารมีเป็นต้น.
มารทูลถามว่า ใครรู้ว่าท่านได้ทำบารมีมีทานบารมีเป็นต้น. ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้
ใจบาป ประโยชน์อะไรด้วยหาพยานในภพนี้ ก็เมื่อเราเป็นเวสสันดรในภพหนึ่ง
ได้ทำทานอันใดไว้ ด้วยอานุภาพของทานนั้น มหาปฐพีนี้แหละเป็นพยาน
ได้เกิดไหวโดยประการ ๖ อย่างถึง ๗ ครั้ง. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
แล้ว มหาปฐพีได้ไหวลงไปถึงที่สุดน้ำคำรามเสียงน่ากลัว มารได้ยินดุจสายฟ้า
ตกใจกลัว ขับไล่เสนาหนีไปพร้อมด้วยบริษัท.
ลำดับนั้น พระมหาบุรุษทรงตรัสรู้วิชา ๓ โดย ๓ ยาม พออรุณขึ้น
ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า อเนกชาติสสาร ฯเปฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ความว่า
เราแสวงหานายช่างเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารนับชาติ
ไม่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนช่างทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่าน
ทำเรือนอีกต่อไปไม่ได้แล้ว ซี่โครงของท่านเราหักเสียแล้ว เรือนยอดเรารื้อ
ออกแล้ว จิตของเราถึงวิสังขาร เพราะถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้.
มารกลับมาด้วยได้ยินเสียงอุทานว่า สิทธัตถะนี้ปฏิญาณณว่า เราเป็น
พระพุทธเจ้าแล้ว จึงคิดว่า เอาเถิด เราจะติดตามเพื่อดูความประพฤติ หาก
พระพุทธเจ้าผู้นี้จักมีความผิดพลาดทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี เราจักทำลายเสีย
จึงติดตามไปตลอด ๖ ปี ณ ที่ประทับของพระโพธิสัตว์ในกาลก่อน แล้วติดตาม
พระองค์ผู้ถึงความเป็นพุทธะแล้วอีก ๑ ปี. ถึงกระนั้นมารก็ไม่เห็นความผิด-
พลาดไรๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคาถาด้วยความท้อใจว่า สตฺต
วสฺสานิ ตลอด ๗ ปี ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โอตาร ได้ช่อง. บทว่า นาธิคจฺฉิสฺส
คือเราไม่ประสบ. บทว่า เมทวณฺณ ได้แก่ คล้ายก้อนมันข้น. บทว่า
อนุปริยคา คือได้ไปรอบๆ . บทว่า มุทุ คือความอ่อนโยน. บทว่า
วินฺเทม ได้แก่ เราจะประสบ. บทว่า อสฺสาทน ได้แก่ ความดี. บทว่า
วายเสตฺโต ตัดบทเป็น วายโส เอตฺโต ได้แก่ กาหลีกไปข้างโน้น .
บทที่เหลือในสูตรนี้ปรากฏชัดดีแล้ว. แต่โยชนาแก้ว่า มารคิดว่าเรามองหา
ช่องติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๗ ปี ไม่ละทางและมิใช่ทางในที่ไหนๆ
แม้ติดตามอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ประสบช่องเหมือนกาสำคัญว่าหินมีสีคล้ายมันข้น
ว่าเป็นมันข้น เอาจะงอยปากจิกที่ข้างหนึ่ง ไม่ประสบความพอใจจึงจิกไปรอบๆ
ด้วยหวังว่า ถ้ากระไรเราจะประสบความอ่อนที่ตรงนี้ ความพอใจจะพึงมี
ข้างนี้บ้าง ดังนี้ จึงจิกไปรอบๆ ก็ไม่ได้ความพอใจตรงไหน เลยท้อแท้ว่า
นี้ต้องเป็นหินแน่ๆ แล้วหลีกไป ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะค่าที่
ตนมีปัญญาเล็กน้อยเอาจะงอยปากทิ่มแทงพระผู้มีพระภาคเจ้า ในกายกรรม
เป็นต้นติดตามไปโดยรอบคิดว่า ไฉนหนอเราจะประสบความอ่อนมีกายสมาจาร
อันไม่บริสุทธิ์เป็นต้นในที่ไหนๆ บ้าง ความพอใจจะพึงมีจากที่นั้นบ้าง บัดนี้
เราไม่ได้ความพอใจ เหมือนกามาถึงไศลบรรพตแล้วท้อแท้ คือเรามาถึง
พระโคดมแล้วหลีกไป.
นัยว่า เมื่อมารกล่าวอย่างนี้เกิดความเศร้าโศกอย่างแรงกล้าอาศัยความ
ดิ้นรนอันไร้ผลมาตลอด ๗ ปี ด้วยเหตุนั้นพิณน้ำเต้าของมารผู้มีอังคาพยพน้อย
ใหญ่ทรุดลงได้ตกจากรักแร้. ด้วยว่าพิณนั้นอันผู้ฉลาดดีดครั้งเดียวเปล่งเสียง
ไพเราะไปถึง ๔ เดือน ท้าวสักกะรับพิณนั้นมอบให้ปัญจสิขเทพบุตร. มารนั้น
แม้พิณตกก็ไม่รู้สึก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ตสฺส โสกปเรตสฺส วีณา กจฺฉา อภสฺสถ
ตโต โส ทุมฺมโน ยกฺโข ตตฺเถว อนฺตรธายถ.
พิณของมารผู้ถูกความโศกครอบงำ
แล้ว ได้ตกลงจากรักแร้ ลำดับนั้นมารนั้น
เสียใจ ได้หายไปในที่นั้นนั่นแล ดังนี้.
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า พระสังคีติกาจารย์กล่าว. แต่คำนั้นไม่ถูกใจ
พวกเรา.
จบการพรรณนาปธานสูตรที่ ๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา
กราบอนุโมทนา