๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระโสณโกฬิวิสเถระ
โดย บ้านธัมมะ  20 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40650

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 447

เถรคาถา เตรสกนิบาต

๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสณโกฬิวิสเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 447

เถรคาถา เตรสกนิบาต

๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสณโกฬิวิสเถระ

[๓๘๐] ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จความปรารถนา เป็นผู้สูงสุดในแว่นแคว้นของพระเจ้าอังคะ วันนี้ ผู้นั้นมีนามว่าโสณะ เป็น ผู้เยี่ยมในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ภิกษุพึง ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕ และ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่อง ข้อง ๕ ท่านเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ศีล สมาธิ และปัญญา ของภิกษุผู้มีมานะเพียงดังว่าไม้อ้อยกขึ้นแล้ว ผู้ประมาท ยินดีในอายตนะอันมีในภายนอก ย่อมไม่ถึง ความบริบูรณ์ กิจใดที่ควรทำ ภิกษุเหล่านี้มาละทิ้งกิจอัน นั้นเสีย แต่มาทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อม เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันยกขึ้น แล้ว เป็นผู้ประมาท ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติ ด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นกระทำกรรมที่ควรทำเนืองนิตย์ ย่อมไม่เสพกรรมมิใช่กิจ อาสวะของภิกษุเหล่านั้น ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นสูญ เมื่อมีทางตรง พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงดำเนินไป เถิด อย่าพากันกลับ จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อม


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 448

ตนเข้าไปสู่นิพพาน เมื่อเราปรารภความเพียร พระศาสดาผู้มีพระจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ทรงแสดงธรรม อุปมาด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์ แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ยังสมถภาวนาให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว จิตของ เราผู้น้อมไปในเนกขัมมะ ในความวิเวกแห่งจิต ในความ ไม่เบียดเบียน ในความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ในความสิ้น ตัณหา และในความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้น โดยชอบ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ การสั่งสม ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบ ระงับ เสร็จกิจแล้ว กิจอื่นที่จะพึงทำอีกไม่มี ภูเขาศิลา ล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็น อิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมไม่ทำจิตของบุคคล ผู้คงที่ให้หวั่นไหวได้ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้ง มั่นไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไรๆ เพราะ ผู้คงที่นั้นพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น.

จบโสณโกฬิวิสเถรคาถา


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 449

ในเตรสกนิบาตนี้ พระโสณโกฬิวิสเถระผู้มีมหิทธิฤทธิ์รูปเดียว เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๑๓ คาถา ฉะนี้แล.

จบเตรสกนิบาต

อรรถกถาเตรสกนิบาต

อรรถกถาโสณโกฬิวิสเถรคาถาที่ ๑

ในเตรสกนิบาต คาถาของท่านพระโสณโกฬิวิสเถระ มีคำเริ่ม ต้นว่า ยาหุ รฏฺเ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญในภพนั้นๆ. ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง พระนามว่า อโนมทัสสี พระเถระนี้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก ไปสู่วิหารกับ อุบาสกทั้งหลาย ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ให้กระทำ บริกรรมด้วยปูนขาว ในที่เป็นที่เสด็จจงกรมของพระศาสดา ลาดด้วย ดอกไม้มีสีต่างๆ ให้ผูกเพดานด้วยผ้าย้อมด้วยสีต่างๆ ในเบื้องบน อนึ่ง ได้สร้างศาลายาวมอบถวายแด่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เกิดในตระกูลเศรษฐี ในหังสวดีนคร ท่านได้นามว่า สิริวัฑฒะ. ท่านเจริญวัยแล้ว ไปสู่วิหาร กำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งอันเลิศ แห่งภิกษุผู้ปรารภความเพียร แม้ตนเองก็ปรารถนา


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 450

ตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แล้วตั้งความ ปรารถนาไว้.

ฝ่ายท่านบำเพ็ญกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก เมื่อพระทศพลพระนามว่ากัสสปปรินิพพานแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น บังเกิดในเรือนมีตระกูล ใน กรุงพาราณสี ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว สร้างบรรณศาลาใกล้ฝั่งแม่น้ำ คงคา อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งโดยเคารพ ด้วยปัจจัย ๔ ตลอด ๓ เดือน.

พระปัจเจกพุทธเจ้าออกพรรษาแล้ว มีบริขารครบถ้วน ไปยัง ภูเขาคันธมาทน์. กุลบุตรแม้นั้น บำเพ็ญบุญในที่นั้นตลอดชีวิต จุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในเรือนแห่งอุสภเศรษฐี ในจัมปานคร จำเดิมแต่กาลที่ท่านถือปฏิสนธิ กองแห่งโภคะเป็นอันมาก เจริญยิ่งแก่เศรษฐี. ในวันที่ท่านเกิด ท่านได้เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยมหาสักการะในนครทั้งสิ้น, เพราะเหตุที่ท่านบริจาคผ้ากัมพลแดงมีค่า ๑๐๐,๐๐๐ แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าในกาลก่อน ท่านได้มีอัตภาพมีสีดังทองคำ และ ละเอียดอ่อนยิ่งนัก ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า โสณะ, ท่านเจริญด้วยบริวารใหญ่ พื้นฝ่ามือและฝ่าเท้าของท่าน ได้มีสีดังดอกชะบา. ขนทั้งหลายวนเป็นวงดังรูปต่างหูเพชรเกิดที่ฝ่าเท้า สัมผัสอ่อน เหมือนฝ้ายที่ชีแล้วตั้งร้อยครั้ง เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว พวกญาติได้พากัน สร้างปราสาท ๓ หลัง อันสมควรแก่ ๓ ฤดู ให้บำรุงด้วยฟ้อนรำ. ท่าน เสวยสมบัติใหญ่ในที่นั้น ย่อมอยู่อาศัยเหมือนเทพกุมาร.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 451

ครั้นเมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลาย บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ท่านถูก พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้เข้าเฝ้า ท่านจึงไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วย ชาวบ้าน ๘๐,๐๐๐ คน ไปยังสำนักพระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธา ให้มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนา เรียน กรรมฐานในสำนักพระศาสดา อยู่ในสีตวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการคลุกคลีด้วย หมู่ชน คิดว่า ร่างกายของเราละเอียดอ่อน เราไม่อาจบรรลุสุขได้โดย ง่ายเลย เราควรจะทำกายให้ลำบากกระทำสมณธรรม ดังนี้แล้ว อธิษฐาน เฉพาะที่จงกรมเท่านั้น หมั่นประกอบความเพียร แม้ฝ่าเท้าพุพองขึ้น ได้มุ่งเพ่งเอาเวทนา กระทำความหมั่น ก็ไม่สามารถเพื่อให้คุณวิเศษเกิด ขึ้นได้ เพราะปรารภความเพียรเกินไป จึงคิดว่า เราแม้พยายามอยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจให้มรรคหรือผลเกิดขึ้นได้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา เราจะสึกบริโภคโภคะและจักบำเพ็ญบุญ.

พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของท่าน จึงเสด็จไปในที่นั้น ทรง โอวาทด้วยพระโอวาทที่เปรียบด้วยพิณ เมื่อจะทรงแสดงวิธีประกอบความ เพียรให้สม่ำเสมอ จึงให้ชำระพระกรรมฐานแล้วเสด็จไปยังเขาคิชฌกูฏ. ฝ่ายพระโสณเถระได้โอวาทในที่พร้อมพระพักตร์พระศาสดา ประกอบ ความเพียรให้สม่ำเสมอ บำเพ็ญวิปัสสนาดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า :-

เราได้ให้ทำที่จงกรม ซึ่งทำการฉาบทาด้วยปูนขาว ถวายแด่พระมุนีพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นเชษฐบุรุษ


๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔๔.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 452

ของโลก ผู้คงที่ เราได้เอาดอกไม้ต่างๆ สี ลาดที่จงกรม ทำเพดานบนอากาศแล้ว ทูลเชิญพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดให้ ทรงเสวย เวลานั้น เราประนมอัญชลีถวายบังคมพระองค์ ผู้มีวัตรอันงาม แล้วมอบถวายศาลารายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดายอดเยี่ยมแห่ง โลก พระจักษุ ทรงรู้ความดำริของเรา จึงอนุเคราะห์รับ ไว้ พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในโลก พร้อม ทั้งเทวโลก ครั้นทรงรับแล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์แล้ว ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีจิตโสมนัส ได้ถวายศาลารายแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง จักปรากฏแก่ผู้นี้พร้อมเพรียงด้วยบุญกรรม ในเวลา ใกล้ตาย ผู้นี้จักไปสู่เทวโลกด้วยยานนั้น เทวดา ทั้งหลายจักพลอยบันเทิง ในเมื่อผู้นี้ไปถึงภพอันดี วิมานอันควรค่ามาก เป็นวิมานประเสริฐฉาบทาด้วยต้น แก้ว ประกอบด้วยปราสาทอันประเสริฐ จักครอบงำ วิมานอื่น ผู้นี้จะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป จักได้เป็นท้าวเทวราชตลอด ๒๕ กัป และจักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิตลอด ๗๗ กัป พระเจ้าจักรพรรดินั้น แม้ทั้งหมดมีพระนามเดียวกันว่า ยโสธร ผู้นี้ได้เสวย สมบัติทั้งสองแล้ว ก่อสร้างสั่งสมบุญ จักได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิใน ๒๘ กัป [อีก] แม้ในภพนั้น จักมีวิมาน


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 453

อันประเสริฐ ที่วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ผู้นี้จักครอง บุรี มีเสียง ๑๐ อย่างต่างๆ กัน ในกัปจะนับประมาณ มิได้แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระราชารักษาแผ่นดิน มี ฤทธิ์มาก มีพระนามชื่อว่า โอกกากะ อยู่ในแว่นแคว้น นางกษัตริย์ผู้มีวัยอันประเสริฐ มีชาติสูงกว่าหญิง ๖ หมื่น ทั้งหมด จักประสูติเป็นพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๘ พระองค์ ครั้นประสูติพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๙ พระองค์แล้ว จักสิ้นพระชนม์ พระเจ้าโอกกากราชจักทรง อภิเษกนางกัญญาผู้เป็นที่รัก กำลังรุ่น เป็นมเหสี พระนาง จักยังพระเจ้าโอกกากราชให้โปรดปรานแล้วได้พร ครั้น พระนางได้พรแล้ว จักให้ขับไล่พระราชบุตรและพระราชบุตรี พระราชบุตรและพระราชบุตรีทั้งหมดนั้นถูกขับไล่ แล้ว จักไปยังภูเขา เพราะกลัวความปะปนด้วยชาติ พระราชบุตรทั้งหมดจะสมสู่กับพระกนิษฐภคินี ส่วน พระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งจักเป็นที่เคารพ. เพราะเป็น โรคพยาธิ กษัตริย์ทั้งหลาย นำ (พระพี่นาง) ไปประทับ ในโพรงใต้ดิน ชาติของเราอย่าปะปนเลย. กษัตริย์องค์หนึ่ง (โกลิยะ) จึงทรงนำมาแล้ว จักสมสู่กับพระเชษฐภคินีนั้น ตั้งแต่นั้น ความปะปนแห่งสกุลโอกกากะได้มีแล้ว พระโอรสของกษัตริย์เหล่านั้นจักมีพระนามว่าโกลิยะ โดย ชาติ จักได้เสวยโภคสมบัติ อันเป็นของมนุษย์มิใช่น้อย


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 454

ในภพนั้น ผู้นี้เคลื่อนจากกายนั้นแล้วจักไปสู่เทวโลก แม้ ในเทวโลกนั้น จักได้วิมานอันประเสริฐ เป็นที่รื่นรมย์ใจ ผู้นี้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากเทวโลกมาสู่ ความเป็นมนุษย์ จักมีชื่อว่าโสณะ จักปรารภความเพียร มีใจแน่วแน่ ตั้งความเพียร ในศาสนาของพระศาสดา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมศากยบุตร ผู้ประเสริฐ ผู้รู้วิเศษ เป็นมหาวีระ ทรงเห็นคุณอนันต์ จักตั้งไว้ใน ตำแหน่งเลิศ เมื่อฝนตกในที่ประมาณ ๔ นิ้ว หญ้า ประมาณ ๔ นิ้ว ลมซัด เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ ซึ่งทรงประกอบความเพียร ความถึงที่สุดไม่มียิ่งขึ้นไป กว่านั้น เรามีตนฝึกแล้ว ในการฝึกอันอุดม เราตั้งจิตไว้ ดีแล้ว เราปลงภาระทั้งปวงลงแล้ว เป็นผู้มีอาสวะดับแล้ว พระอังคีรสมหานาค มีพระชาติสูงดังพระยาไกรสร ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน จึงได้ กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจอุทาน และด้วยอำนาจการพยากรณ์พระอรหัตตผลว่า


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 455

ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จความปรารถนา เป็นผู้สูงสุดในแว่นแคว้นของพระเจ้าอังคะ วันนี้ ผู้นั้นนั่นมีนามว่าโสณะ เป็นผู้เยี่ยมในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ภิกษุ พึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕ และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่อง ข้อง ๕ ท่านเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ศีล สมาธิ และ ปัญญา ของภิกษุผู้มีนานะเพียงดังว่าไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว ผู้ประมาท ยินดีในอายตนะอันมีในภายนอก ย่อมไม่ถึง ความบริบูรณ์ กิจใดที่ควรทำ ภิกษุเหล่านี้มาละทิ้งกิจ อันนั้นเสีย แต่มาทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อม เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันยกขึ้น แล้ว เป็นผู้ประมาท ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติ ด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นกระทำกรรมที่ควรทำเนืองนิตย์ ย่อมไม่เสพกรรมมิใช่กิจ อาสวะของภิกษุเหล่านั้น ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นสูญ เมื่อมีทางตรง พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงดำเนิน ไปเถิด อย่าพากันกลับ จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึง น้อมตนเข้าไปสู่นิพพาน เมื่อเราปรารภความเพียร พระศาสดาผู้มีจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ทรงแสดงธรรมอุปมา ด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ยังสมถภาวนาให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 456

ประโยชน์อันสูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว จิตของเราผู้น้อมไป ในเนกขัมมะ ในความวิเวกแห่งจิต ในความไม่เบียดเบียน ในความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ในความสิ้นตัณหา และความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ การสั่งสมย่อมไม่มี แก่ภิกษุนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตรักสงบ เสร็จ กิจแล้ว กิจอื่นที่จะพึงทำอีกไม่มี ภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่ง ทึบ ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมไม่ทำจิตของบุคคลผู้คงที่ให้หวั่นไหวได้ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไรๆ เพราะผู้คงที่นั้นพิจารณา เห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาหุ รฏฺเ สมุกฺกฏฺโ ความว่า ผู้ใด เป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐสุดโดยชอบ คืออย่างยิ่ง ด้วยโภคสมบัติและด้วย อิสริยสมบัติ พร้อมด้วยชาวบ้าน ๘๐,๐๐๐ คนในอังครัฐ. บทว่า รญฺโ อคฺคสฺส ปทฺธคู ประกอบความว่า เป็นบริวาร แห่งพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอธิบดีในอังครัฐ เพราะอรรถว่าเป็นที่ยินดี แห่งบริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ เป็นคหบดีวิเศษ เป็นกุฎุมพีในรัฐของ พระเจ้าพิมพิสารนั้น.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 457

บทว่า สฺาชฺชฺ ธมฺเมสุ อุกฺกฏฺโ ความว่า พระโสณะนั้นเป็นผู้ สูงสุดในโลกุตรธรรมในวันนี้ คือในบัดนี้ แม้ในกาลเป็นคฤหัสถ์ ท่าน ก็เป็นผู้สูงสุดกว่าใครๆ ทีเดียว บัดนี้แม้ในเวลาเป็นบรรพชิต ท่านก็เป็น ผู้สูงสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงตนให้เหมือนคนอื่น.

บทว่า ทุกฺขสฺส ปารคู ความว่า ท่านถึงฝั่ง คือถึงที่สุดแห่งทุกข์ ในวัฏฏะทั้งสิ้น, ด้วยคำนั้นท่านจึงยังความเป็นผู้สูงสุดที่กล่าวแล้ว โดย ไม่แปลกกันให้แปลกกัน เพราะแสดงถึงการบรรลุพระอรหัต.

บัดนี้ท่านเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ด้วยข้อปฏิบัติใด เมื่อจะแสดงข้อ ปฏิบัตินั้น โดยอ้างถึงพระอรหัตตผล จึงกล่าวคาถาว่า ปญฺจ ฉินฺเท ตัด สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕.

คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายว่า บุรุษพึงตัดสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง อันให้ถึงอบายและกามสุคติ ด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ เหมือนตัด เชือกที่ผูกไว้ที่เท้าด้วยศัสตราฉะนั้น. บุรุษพึงละสังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้อง สูง ๕ อัน ให้ถึงรูปภพและอรูปภพ ด้วยอรหัตตมรรค เหมือนตัดเชือกที่ผูก ไว้ที่คอฉะนั้น, ก็แลครั้นละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูงเหล่านั้นได้แล้ว พึงเจริญ คือพึงทำอินทรีย์ ๕ มีสิทธินทรีย์เป็นต้น ให้เกิดยิ่งๆ ขึ้นไป, ก็ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ คือธรรม เครื่องข้องคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ท่านจึงเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เพราะข้ามโอฆะ ๔ คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ และอวิชชาโอฆะ.

เมื่อแสดงว่า ก็ปฏิปทานี้ชื่อว่าเป็นความบริบูรณ์แห่งศีล อันข้อ ปฏิบัติเครื่องข้ามโอฆะนั่นแล และศีลเป็นต้น ย่อมถึงความบริบูรณ์


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 458

เพราะการละมานะเป็นต้น, ไม่ใช่โดยประการอื่น ท่านจึงกล่าวคาถาว่า อุนฺนฬสฺส ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุนฺนฬสฺส แปลว่า มีมานะคือความ ว่างเปล่าอันยกสูงขึ้น.

จริงอยู่ มานะ ท่านเรียกว่า นัฏฐะ ฉิบหาย เพราะเป็นเหมือน ฉิบหายแล้ว เพราะความเป็นเปล่าโดยความเป็นไปของใจที่ฟูขึ้น

บทว่า ปมตฺตสฺส ได้แก่ ถึงซึ่งความประมาท เพราะการปล่อยสติ.

บทว่า พาหิราสสฺส ความว่า ไหลไปทั่วในอายตนะภายนอก อธิบายว่า ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย.

บทว่า สีลํ สมาธิ ปญฺา จ, ปาริปูรึ น คจฺฉติ ความว่า เมื่อ บุคคลนั้นเสพธรรมอันเป็นข้าศึกต่อศีลเป็นต้น อันดับแรกคุณมีศีลเป็นต้น แม้ที่เป็นโลกิยะ ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ จะป่วยกล่าวไปไยถึงโลกุตรธรรมเล่า.

ในข้อนั้นท่านกล่าวเหตุด้วยคำว่า ก็กิจใด ดังนี้เป็นต้น จริงอยู่ กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การรักษาศีลขันธ์อันหาประมาณมิได้ จำเดิมแต่ เวลาที่ภิกษุบวชแล้ว การอยู่ป่า การรักษาธุดงค์ ความเป็นผู้มีภาวนา เป็นที่มายินดี ชื่อว่า กิจ. ก็กิจตามที่กล่าวมาแล้วนี้ อันภิกษุไม่กำหนด แล้ว คือทิ้งเสียแล้วโดยไม่การทำ.

ชื่อว่า อกิจจะ ได้แก่ กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การตบแต่งบาตร จีวร ประคดเอว การผูกอังสะ ร่ม การประดับรองเท้า พัดใบตาล ธมกรก. กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การประดับบริขาร ความเป็นผู้มากด้วยปัจจัย ชื่อว่าไม่ใช่กิจของภิกษุ กิจนั้นภิกษุเหล่าใดการทำ อาสวะทั้ง ๔ ย่อม


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 459

เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่ามีมานะดังไม้อ้อยกขึ้นแล้ว เพราะยกมานะ เพียงว่าไม้อ้อขึ้นประพฤติ ชื่อว่าผู้ประมาทเพราะปล่อยสติ.

ส่วนคุณมีปัญญาเป็นต้น เจริญแก่ภิกษุเหล่าใด เพื่อจะแสดงภิกษุ เหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า เยสํ ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสมารทฺธา ความว่า ประคองความ เพียรไว้ดีแล้ว.

บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ กายานุปัสสนาภาวนา.

บทว่า อกิจฺจํ เต ความว่า กิจของท่านนั้น คือกิจมีการตบแต่ง บาตรเป็นต้น.

บทว่า น เสวนฺติ ได้แก่ ย่อมไม่ทำ.

บทว่า กิจฺเจ ได้แก่ กิจมีการคุ้มครองคุณคือศีลอันหาประมาณ มิได้ อันภิกษุพึงทำ จำเดิมแต่กาลที่ตนบวชแล้ว.

บทว่า สาตจฺจการิโน แปลว่า ผู้มีอันกระทำติดต่อ อธิบายว่า อาสวะทั้ง ๔ ย่อมถึงความพินาศ คือถึงความสิ้นไป ถึงความไม่มีแก่สัตว์ เหล่านั้น ผู้ชื่อว่า มีสติ เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ. ชื่อว่า ผู้มีสัมปชัญญะ ด้วยสัมปชัญญะ ๔ คือ สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ โคจรสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ.

บัดนี้ เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุผู้อยู่ในสำนักของตน จึงกล่าวคาถา ว่า อุชุมคฺคมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชุมคฺคมฺหิ อกฺขาเต ความว่า เมื่อ พระศาสดาตรัสพระอริยมรรค อันเป็นมัชฌิมปฏิปทา เพราะเว้นที่สุด ๒ อย่าง และเพราะละความคดกายเป็นต้น.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 460

บทว่า คจฺฉถ แปลว่า จงดำเนินไป.

บทว่า มา นิวตฺตถ ได้แก่ จงอย่าหยุดเสียในระหว่าง.

บทว่า อตฺตนา โจทยตฺตานํ ความว่า กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์ ในพระศาสนานี้ ตักเตือนอยู่ซึ่งตนด้วยตนเอง มีการพิจารณาภัยในอบาย เป็นต้น.

บทว่า นิพฺพานมภิหารเย ความว่า พึงนำตนไปสู่พระนิพพาน คือพึงเข้าไปใกล้พระนิพพาน อธิบายว่า พึงปฏิบัติโดยประการที่จะทำ พระนิพพานนั้นให้แจ้ง.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงการปฏิบัติของตนว่า แม้เราปฏิบัติอย่างนี้แหละ ท่านจึงกล่าวว่า อจฺจารทฺธมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อจฺจารทฺธมฺหิ วีริยมฺหิ ความว่า เมื่อเราเจริญวิปัสสนา ไม่ กระทำความเพียรให้กิจเสมอด้วยสมาธิ ประคองความเพียรอย่างเหลือเกิน ก็ความที่ผู้นั้นปรารภความเพียรเกินไป ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า วีโณปมํ กริตฺวา เม ความว่า เมื่อท่านพระโสณะเกิดความ คิดขึ้นว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแล ปรารภความ เพียรย่อมอยู่ เราเป็นผู้หนึ่งในสาวกเหล่านั้น ก็ถ้าว่า จิตของเราย่อมหลุด พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น เพราะฉะนั้น เราจักสึก. พระศาสดาทรงแสดงพระองค์ในที่เฉพาะหน้าของท่านโสณะนั้น จึงตรัสถามว่า เพราะเหตุไร โสณะ เธอจึงเกิดความคิดขึ้นว่าจักสึก เมื่อก่อนเธอเป็น ผู้ครองเรือนฉลาดในเสียงแห่งสายพิณ. เมื่อท่านทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า โสณะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นอย่างไร? ในกาลใดสายพิณของเธอ ตึงเกินไป อนึ่ง สายพิณของเธอย่อมมีเสียงหรือควรแก่การงานในสมัยนั้น


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 461

บ้างหรือ เมื่อท่านโสณะทูลว่า ก็ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า จึง ตรัสว่า โสณะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นอย่างไร ในกาลใดสายพิณของเธอ หย่อนเกินไป ในสมัยนั้นพิณของเธอย่อมมีเสียง หรือควรแก่การงานบ้าง หรือ เมื่อท่านโสณะทูลว่า ก็ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า โสณะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นอย่างไร ก็ในกาลใดสายพิณของเธอไม่ตึงเกิน ไปและไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในคุณอันเสมอ ในสมัยนั้นสายพิณของเธอ มีเสียง หรือควรแก่การงานบ้างละหรือ เมื่อท่านโสณะทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า อย่างนั้นนั่นแหละ โสณะ ความเพียรอันปรารภ เกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรอันหย่อนเกินไป ย่อม เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นนั่นแล โสณะ เธอจงตั้งความ เพียรให้สม่ำเสมอ และจงรู้แจ้งความที่อินทรีย์มีความสม่ำเสมอกัน ดังนี้ ครั้นทรงกระทำพิณให้เป็นอุปมาอย่างนี้แล้ว จึงแสดงธรรมแก่เรา ด้วย โอวาทอันเปรียบด้วยพิณอันให้เป็นแล้ว.

บทว่า ตสฺสาหํ วจนํ สุตฺวา ความว่า เราได้ฟังวีโณปโมวาทสูตร อันเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว จึงละความที่ตนเป็น ผู้ใคร่เพื่อจะสึก อันเกิดขึ้นในระหว่างเสีย ยินดีแล้ว คือยินดียิ่งแล้วใน ศาสนาของพระศาสดา.

ก็เมื่อจะอยู่ เราจะบำเพ็ญสมถะให้พร้อมมูล ประกอบความเพียรให้ สม่ำเสมอ ยังความที่สมาธิกับวีริยะมีกิจเสมอให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาสมาธิ ซึ่งมีฌานเป็นที่ตั้งให้ถึงพร้อม บำเพ็ญวิปัสสนา จึงกล่าวประโยชน์ในข้อ นั้นว่า ด้วยการบรรลุประโยชน์อันสูงสุด.

บทว่า อุตฺตมสฺส ปตฺติยา ความว่า เพื่อบรรลุพระอรหัต.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 462

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประการที่สมถะและวิปัสสนาสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติ โดยอ้างถึงพระอรหัตตผล จึงกล่าวคำว่า เนกฺขมฺเม ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อธิมุตฺตสฺส ความว่า ผู้ประกอบขวนขวาย โดยภาวะ น้อม ไป โอนไป เงื้อมไปในเนกขัมมะนั้น อธิบายว่า อันดับแรก เป็นผู้มุ่ง หน้าต่อบรรพชาก่อน แล้วละกามทั้งหลายและบรรพชา ประกอบการ ขวนขวายในธรรมอันหาโทษมิได้ มีอาทิอย่างนี้คือ การชำระศีลให้หมด จด การอยู่ป่า การรักษาธุดงค์ และการประกอบยิ่งในภาวนา.

บทว่า ปวิเวกญฺจ เจตโส ความว่า มีสติน้อมใจไปสู่ความสงัด และน้อมไปในเนกขัมมะอย่างนี้อยู่ คือประกอบขวนขวายในวิเวก โดยยัง ฌานหมวดสี่และฌานหมวดห้าให้บังเกิด.

บทว่า อพฺยาพชฺฌาธิมุตฺตสฺส ความว่า น้อมใจไปโดยความเป็นผู้ หมดทุกข์ ในเพราะไม่เบียดเบียน คือยังฌานสมาบัติให้เกิดแล้ว ขวนขวาย ในความสุขอันเกิดแต่สมถะ.

บทว่า อุปาทานกฺขยสฺส จ ความว่า น้อมใจไปในที่สุดแห่งความ สิ้นไปแห่งอุปาทานทั้ง ๔ คือในพระอรหัต. จริงอยู่ บทว่า อุปาทา นกฺขยสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า กระทำฌานตามที่ตนบรรลุแล้วนั้น ให้เป็นบาทแล้ว ตามประกอบ วิปัสสนา เพื่อบรรลุพระอรหัต.

บทว่า ตณฺหกฺขยาธิมุตฺตสฺส ความว่า ชื่อว่า ตัณหักขยะ เพราะ เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา, ได้แก่พระนิพพาน, น้อมไปในพระนิพพานนั้น คือน้อมไป โอนไป เงื้อมไปในนิโรธ โดยเห็นอุปาทานโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่มีอุปาทานโดยปลอดภัย.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 463

บทว่า อสมฺโมหญฺจ เจตโส ความว่า น้อมจิตไปสู่ความเป็นไป โดยไม่หลง ด้วยสามารถแห่งสัมปชัญญะ คือความไม่หลง. หรือน้อมจิต ไปสู่อริยมรรคอันเป็นความไม่หลง ด้วยการถอนความหลงได้โดย เด็ดขาด.

บทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาทํ ความว่า เพราะเหตุที่ได้เห็นการเกิด ขึ้นแห่งอายตนะทั้งหลาย มีจักษุเป็นต้น โดยปัจจัยตามที่เป็นของตน และเห็นความดับ โดยเป็นข้าศึกกับความเกิดนั้น ด้วยมรรคปัญญา อัน ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.

บทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ ความว่า จิตย่อมหลุดพ้น จากอาสวะ ทั้งปวง โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยญายะ โดยลำดับแห่งมรรค.

ในคำว่า ตสฺส สมฺมา วิมุตฺตสฺส เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไป นี้ว่า :-

จิตนั้นหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง โดยนัยที่กล่าวแล้ว คือโดย ชอบแท้ เพราะเหตุนั้นนั่นแล ความก่อขึ้นแห่งกุศลหรืออกุศลที่ภิกษุ ผู้ขีณาสพ มีจิตสงบเพราะสงบโดยส่วนเดียว กระทำไว้ย่อมไม่มี เพราะ ถอนขึ้นด้วยมรรคนั่นเอง กิจที่ควรทำต่างด้วยปริญญากิจเป็นต้น ย่อมไม่มี เพราะทำกิจเสร็จแล้ว ภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหินเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่ สะเทือน ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลมตามปกติฉันใด ธรรมคืออารมณ์มีรูป เป็นต้น อันน่าปรารถนาและไม่ปรารถนา ของจิตของภิกษุผู้ขีณาสพ ก็ฉันนั้น ไม่ยังจิตของท่านผู้คงที่ คือผู้ถึงความเป็นผู้คงที่ ดำรงมั่นไม่ เอนเอียง เป็นจิตปราศจากกิเลสเครื่องประกอบ เพราะความเป็นผู้ละ ความโศกได้ทั้งหมด ไม่หวั่น ไม่ไหวได้ และท่านย่อมเข้าผลสมาบัติเห็น


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 464

แจ้งอยู่ตลอดกาลโดยกาล แห่งธรรมคืออารมณ์นั้น ย่อมตามเห็นความ เสื่อมคือความดับ ได้แก่มีสภาวะแตกไปทุกขณะ เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงพยากรณ์พระอรหัตตผล.

จบอรรถกถาโสณโกฬิวิสเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

เตรสกนิบาต