เรียนถามท่านผู้รู้ด้วยค่ะ
สักกายทิฏฐิ คือธรรมที่เห็นผิดอย่างหนึ่งในสังโยชน์ ๑๐ ใช่หรือไม่คะ แล้วสักกายทิฏฐิ มีตั้ง ๒๐ ชนิด แล้วอีก ๙ ชนิดในสังโยชน์ จะแตกย่อยเหมือนสักกายทิฏฐิหรือไม่คะ แล้วที่มีตั้ง ๒๐ ที่แยกย่อยอะไรบ้างคะ
ขอขอบคุณท่านผู้ให้ธรรมทานมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
สักกายทิฏฐิ คือความเห็นผิดในรูป นาม ขันธ์ห้า โดยนัยต่างๆ เช่น เห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป นี้คือส่วนของรูปขันธ์
ในขันธ์อื่น ก็มีนัยเดียวกัน คือ เห็นผิดในเวทนาขันธ์ ๔ เห็นผิดในสัญญาขันธ์ ๔ เห็นผิดในสังขารขันธ์ ๔ เห็นผิดในวิญญาณขันธ์ ๔ รวมเป็น ๒๐ ประการ ซึ่งมีในชีวิตประจำวัน
ส่วนสังโยชน์ คือ กิเลสอันเป็นเครื่องผูก มีทั้งหมด ๑๐ ประการ กิเลสแต่ละประเภทก็เป็นไปในรูปแบบต่างๆ ก็สามารถอธิบายแตกย่อยได้หลายๆ นัยเช่นกัน ตัวอย่าง เช่น มานสังโยชน์ เมื่อจำแนกแล้วเป็นมานะ ๙ อย่าง เป็นต้น
สักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดในขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ว่าเป็นตัวตน
สักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดที่เป็นพื้นของความเห็นผิดทั้งหลาย ผู้ที่จะดับสักกายทิฏฐิได้โดยเด็ดขาดนั้น ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน
เมื่อกล่าวโดยปรมัตถธรรมแล้ว สักกายทิฏฐิ เป็นทิฏฐิเจตสิก เกิดร่วมกับโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์เท่านั้น จะไม่เกิดกับจิตประเภทอื่นครับ
ส่วน สังโยชน์ เป็นสภาพธรรมที่ผูกโยง หรือ ผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ในสังสารวัฏฏ์ (ธรรมเหล่าใด ย่อมผูกโยงหรือมัดสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังโยชน์)
ไม่ว่าจะเป็นสักกายทิฏฐิ หรือ สังโยชน์ประการต่างๆ ก็ไม่พ้นสภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรม เพราะเหตุว่า สักกายทิฏฐิ ก็เป็นหนึ่งในสังโยชน์ ๑๐ ประการ ครับ
สักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิด ยึดถือในสิ่งที่ไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน ในสิ่งที่ไม่ใช่ของเราว่าเป็นของเรา ฯลฯ ทำให้เราวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ หนทางเดียวที่จะละความเห็นผิดด้วยการอบรมปัญญา คือ ความเห็นถูกค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สักกายทิฏฐิ คือยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนโดยนัยประการต่างๆ ซึ่งหากเข้าใจความจริงก็คือ ยึดถือด้วยความเป็นตัวเรา เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง ให้เข้าใจว่าคือ ขณะนี้ ขณะนี้กำลังเห็น ยึดถือในสิ่งที่เห็นด้วยความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ถูกผูกไว้ (สังโยชน์) ในโลกของความไม่รู้ ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราในสิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ... คิดนึก
และควรเข้าใจว่าสะสมความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล (สักกายทิฏฐิ) มานานแสนนาน ถูกเครื่องผูกไว้ (สังโยชน์) เหมือนสุนัขถูกล่ามที่เสา ให้ไม่พ้นไปจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น และก็ยึดถือผิดเมื่อเห็น ได้ยิน ... วนเวียนอยู่อย่างนี้ ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริง ดั่งสุนัข วนเวียนอยู่กับเสา ไปไหนไม่ได้
ดังนั้น การอบรมปัญญาเพื่อละความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคล ตัวตน คือ เข้าใจจากขั้นการฟังด้วยความเห็นถูก ว่าขณะนี้เป็นธรรม อะไรเป็นธรรม สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม แม้ยังไม่ประจักษ์ความจริง แต่เริ่มจากการฟังนั่นเองด้วยความเห็นถูกทีละเล็กละน้อย ด้วยความอดทน
ขออนุโมทนาครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอกราบน้อมนอบระลึกถึง
พระพุทธคุณ ที่ทรงแสดงธรรมไว้อย่างละเอียดเพื่อให้สรรพสัตว์ผู้ที่ยังไม่มีปัญญา เกิดมีปัญญาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และได้ศึกษาตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
พระธรรมคุณ ให้ธรรมเป็นศาสดา ให้ธรรมเป็นที่พึ่ง
พระสังฆคุณ ที่ได้รวบรวมธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วมาสืบทอดและเผยแพร่ธรรมให้สรรพสัตว์ผู้ด้อยปัญญาได้ระลึกศึกษาตาม
ขอกราบอนุโมทนาท่านผู้ให้ธรรมทานค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
กราบขอบพระคุณ อาจารย์และกัลยาณมิตรทุกๆ ท่านครับ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ