[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑
พระวินัยปิฏก เล่ม ๖
จุลวรรค ปฐมภาค
กัมมขันธกะ
ปัพพาชนียกรรมที่ ๓
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ 84/45
อุบาสกเล่าเรื่องให้พระฟัง 85/47
พุทธประเพณี 86/50
ทรงปฏิสันถาน 50
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 87/51
ทรงติเตียน 52
วิธีทําปัพพาชนียกรรม 88/55
กรรมวาจาทําปัพพาชนียกรรม 55
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 89/58
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 93/62
ข้อที่สงฆ์จํานง ๑๔ หมวด 105/66
วัตร ๑๘ ข้อในปัพภพาชนียกรรม 119/70
ภิกษุสงฆ์เดินทางไปลงโทษ 120/72
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 121/72
ทรงติเตียน 73
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 122/74
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 125/75
วิธีระงับปัพพาชนียกรรม 128/77
คําขอระงับปัพพาชนียกรรม 77
กรรมวาจาระงับปัพพาชนียกรรม 78
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 45
ปัพพาชนียกรรมที่ ๓
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม ภิกษุพวกนั้นประพฤติ อนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รด น้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อย กรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อ เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเอง บ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรีเพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่ง ตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารใน ภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียว กันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 46
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกัน บ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและ เครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิง ฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้อง กับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิง ประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิง เต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้ บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวง ทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียน ทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี้ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้า บ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือ บ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 47
อุบาสกเล่าเรื่องให้พระฟัง
[๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี เดินทางไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงชนบทกิฏาคีรี แล้ว ครั้นเวลาเช้าภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังชนบทกิฏาคีรี มีอาการเดินไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลงสมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้น แล้วพูดอย่างนี้ว่าภิกษุรูปนี้เป็นใคร ดูคล้ายคนไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใคร เล่าจักถวายบิณฑะแก่ท่านผู้เข้าไปเที่ยวบินฑบาตรูปนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้า เหล่าพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูดจา ไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักพูดว่า มาเถิด มาดีแล้ว มีหน้าไม่ สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน ใครๆ ก็ต้องถวายบิณฑะแก่ท่านเหล่านั้น. อุบาสกคนหนึ่งได้แลเห็นภิกษุรูปนั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน ชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูป นั้นว่า พระคุณเจ้าได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลย ท่านผู้มีอายุ.
อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิดขอรับ แล้วนำ ภิกษุรูปนั้นไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ.
ภิ. อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. อุ. ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาทยุคล
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 48
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของ ผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีเสื่อมถอย ภิกษุพวก อัสสชิและปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลว ทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ไม่ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวง เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทําบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้างใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่มนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไป เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้น ฉัน อาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน อาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาด อันเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและ คลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 49
ตระกูล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรง ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคม บ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิง ขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิง ประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิง เต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่น หมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมน บ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่น ธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถม้าบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจง ฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่าง ต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 50
แล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธ เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระผู้มีพระภาคเจ้าพึง ส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรีเถิด เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้จะตั้งมั่น อยู่.
ภิกษุรูปนั้นรับคำของอุบาสกนั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปโดยทาง พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พุทธประเพณี
[๘๖] ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับ พระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.
ทรงปฏิสันถาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ร่างกายของเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เธอเดินทางมามี ความลำบากน้อยหรือ และเธอมาจากไหน.
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมา มีความ ลำบากเล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เมื่อจะมายัง พระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ผ่านชนบทกิฏาคีรี พระ พุทธเจ้าข้า ครั้นเวลาเช้า ข้าพระพุทธเจ้าครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 51
เข้าไปบิณฑบาตยังชนบทกิฏาคีรี อุบาสกคนหนึ่ง ได้แลเห็นข้าพระพุทธเจ้า กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วได้เข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า กราบไหว้ข้าพระพุทธเจ้าแล้วถามว่า ท่านได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลยผู้มีอายุ เขาพูดว่า นิมนต์ไปเรือน ผมเถิด ขอรับ แล้วนำข้าพระพุทธเจ้าไปเรือนให้ฉันแล้วถามว่า พระคุณ เจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า จักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาพูดว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน จงกราบถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดใน ชนบทกิฏาคีรีเสื่อมถอย ภิกษุพวกพระอสัสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่น ในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจาร เห็นปานนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง ... .ประพฤติ อนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยว นี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายก ทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทราม อยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระองค์ควรส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรี เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้ จะ พึงตั้งมั่นอยู่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากชนบทกิฏาคีรีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 52
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรีเป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอ ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูก บ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระ ทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติ อนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ได้ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นปลูก บ้าง ได้รดน้ำเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง, ได้เก็บดอกไม้เองบ้าง ได้ ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง, ได้ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรอง บ้าง, ได้ทำมาลัยต่อกันเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำมาลัยเรียงก้าน เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำ บ้าง, ได้ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำดอกไม้เทริด เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำดอกไม้พวงเองบ้างได้ใช้ให้ผู้อื่นทำ บ้าง, ได้ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง,
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 53
พวกเธอได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งมาลัยต่อกัน ได้นำ ไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งมาลัยเรียงก้าน ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้ช่อ ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้พุ่ม ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้เทริดได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้พวง ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี.
พวกเธอได้ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง, ได้ดื่มน้ำในขันใบ เดียวกันบ้าง, ได้นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง ได้นอนบนเตียงอันเดียว กันบ้าง, ได้นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง, ได้นอนคลุมผ้าห่มผืน เดียวกันบ้าง, ได้นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูลสะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสีได้ฉันอาหารในเวลา วิกาลบ้าง, ได้ดื่มน้ำเมาบ้าง, ได้ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ บ้าง, ได้ฟ้อนรำบ้าง, ได้ขับร้องบ้าง, ได้ประโคมบ้าง, ได้เต้นรำบ้าง, ได้ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง, ได้ประโคม กับหญิงฟ้อนรำบ้าง, ได้เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง, ได้ฟ้อนรำกับหญิง ขับร้องบ้าง, ได้ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง, ได้ประโคมกับหญิงขับร้อง บ้าง, ได้เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง, ได้ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง, ได้ ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง, ได้ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง, ได้เต้นรำ กับหญิงประโคมบ้าง, ได้ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง, ได้ขับร้องกับหญิง เต้นรำบ้าง, ได้ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง, ได้เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 54
ได้เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง, ได้เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง, ได้เล่นหมากเก็บบ้าง, ได้เล่นชิงนางบ้าง, ได้เล่นหมากไหวบ้าง, ได้เล่น โยนห่วงบ้าง, ได้เล่นไม้หึ่งบ้าง, ได้เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง, ได้ เล่นสะกาบ้าง, ได้เล่นเป่าใบไม้บ้าง, ได้เล่นไถน้อยๆ บ้าง, ได้เล่นหก คะเมนบ้าง, ได้เล่นไม้กังหันบ้าง, ได้เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง, ได้เล่น รถน้อยๆ บ้าง, ได้เล่นธนูน้อยๆ บ้าง, ได้เล่นเขียนทายบ้าง, ได้เล่นทายใจ บ้าง, ได้เล่นเลียนคนพิการบ้าง, ได้หัดขี่ช้างบ้าง, ได้หัดขี่ม้าบ้าง, ได้ หัดขี่รถบ้าง, ได้หัดยิงธนูบ้าง, ได้หัดเพลงอาวุธบ้าง, ได้วิ่งผลัดช้างบ้าง, ได้วิ่งผลัดม้าบ้าง, ได้วิ่งผลัดรถบ้าง, ได้วิ่งขับกันบ้าง, ได้วิ่งเปี้ยวกันบ้าง, ได้ผิวปากบ้าง, ได้ปรบมือบ้าง, ได้ปล้ำกันบ้าง, ได้ชกมวยกันบ้าง, ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานที่เต้นรำแล้ว, ได้พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ ว่าน้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง, ได้ให้การคำนับบ้าง ได้ ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แค่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุ เลวทรามอยู่ครองเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... .ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะว่าไปเถิดสารีบุตรและโมคคัลลานะพวกเธอไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้วจงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้น เป็นสัทธิวิหาริกของพวกเธอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 55
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า พวกข้าพระพุทธ เจ้าจะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจาก ชนบทกิฏาคีรีได้ด้วยวิธีไร เพราะภิกษุพวกนั้นดุร้าย หยาบคาย พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้าเช่น นั้นพวกเธอจงไปพร้อมด้วยภิกษุหลายๆ รูป
พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะกราบทูลสนองพระผู้มีพระภาค เจ้า ว่าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า.
วิธีทำปัพพาชนียกรรม
[๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ปัพพาชนียกรรมพึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึงให้พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้น แล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ อัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของ ภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุล ทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 56
ปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ อัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของ ภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และ สกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็น อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบท กิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสะกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพ สุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลว ทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้ เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุ เหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 57
สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้าย แล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพา ชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จาก ชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ใน ชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 58
ปัพพชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระ อัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏา คีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๒
[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะ อาบัติที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 59
หมวดที่ ๓
[๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติ แล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๔
[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบ ถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 60
หมวดที่ ๖
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ ไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ อาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๙
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 61
อาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๐
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยของค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับ อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 62
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบ ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้ แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 63
หมวดที่ ๓
[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน แล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๔
[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ หน้า ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบ ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนีกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตาม ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 64
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๗
[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนีกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ อาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 65
หมวดที่ ๑๐
[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วย องค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๑
[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๒
[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วย องค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 66
ข้อที่สงฆ์จำนง ๑๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วย การคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๒
[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ใน อธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้ เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๓
[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 67
หมวดที่ ๔
[๑๐๘] คูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เล่นคะนองกาย ๑ เล่น คะนองวาจา เล่นคะนองกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๕
[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ ประพฤติอนาจารทางกาย ๑ ประพฤติอนาจารทางวาจา ๑ ประพฤติอนาจารทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๖
[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ บังอาจลบล้างพระบัญญัติ ทางกาย ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติ ทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 68
หมวดที่ ๗
[๑๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ ประกอบมิจฉาชีพทาง กาย ๑ ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๑ ประกอบมิจฉาชีพทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๘
[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อ การวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๙
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ใน อติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 69
หมวดที่ ๑๐
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๑๑
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งเล่นคะนองกาย ๑ รูป หนึ่งเล่นคะนองวาจา ๑ รูปหนึ่งเล่นคะนองกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๑๒
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทาง กาย ๑ รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทางวาจา ๑ รูปหนึ่งประพฤติอนาจาร ทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 70
หมวดที่ ๑๓
[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติ ทางกา ๑ รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา ๑ รูปหนึ่งบังอาจ ลบล้างพระบัญญัติทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๑๔
[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทาง กาย ๑ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๑ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพ ทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๑๔ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ
วิธีประพฤติโดยชอบในปัพพาชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 71
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัติ นั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
วัตร ๑๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 72
ภิกษุสงฆ์เดินทางไปลงโทษ
[๑๒๐] ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็น ประมุขได้ไปสู่ชนบทกิฏาคีรี แล้วลงปัพพาชนียกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิ และปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่ พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี
พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านั้น ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม แล้วไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมา ภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความ พอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะ ความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่าไฉนพวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว จึง ได้ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมา ภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะ ความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียง เพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๑๒๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 73
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์สงปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อ หยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการก สงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่ กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น ถูกสงฆ์ ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงได้ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ ความว่า ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียง เพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... .ครั้นแล้วทรงทำธรรมี กถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงระงับปัพพาชนียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 74
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับปัพพาชนียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น อีก คือ:-
๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั่งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับปัพพาชนียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 75
หมวดที่ ๓
[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับปัพพาชนียกรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 76
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปัพพาชนีกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม.
หมวดที่ ๓
[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ คือ :-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 77
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม.
วัตรที่ควรระงับ ๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
วิธีระงับปัพพาชนียกรรม
[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรม อย่างนี้ คือ ภิกษุที่ถูกลงปัพพาชนียกรรมนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
คำขอระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดย ชอบ หาเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ข้าพเจ้าขอระงับปัพพาชนียกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 78
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทรามด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความแม้ครั้งที่สอง ... .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 79
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปัพพาชนียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วย อย่างนี้.
ปัพพาชนียกรรม ที่ ๓ จบ