ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ป่ามหาวันคืออะไร?
ป่าหมายถึงอะไร?
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 35
ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายชอบใจ คือทําให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ด้วยคุณสมบัติของตัวมันเองอธิบายว่า ให้เกิดความน่ารักในตัวเอง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะเรียกหา อธิบายว่าเหมือนเรียกร้องปวงสัตว์ด้วยเสียงร้องของนก มีนกโกกิลาเป็นต้น ที่เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่นดอกไม้นานาพรรณ และด้วยกิ่งก้านค่าคบใบแก่ใบอ่อนของต้นไม้ที่สั่นไหว เพราะต้องลมอ่อนว่า มาเถิด มากินมาใช้กันเถิด ... ธรรมดาป่า มี ๒ ชนิด คือ ป่าปลูก และป่าเกิดเอง.ในป่า ๒ ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.
ป่ามหาวันในพระไตรปิฎกมีกี่ที่? (ตอบ มี ๒ ที่ คือ ที่แคว้นสักกะ และแคว้นวัชชี)
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 87
บทว่า มหาวเน กูฏาคารสาลายํ ความว่า ป่าใหญ่มีกําหนดเกิดเอง มิได้ปลูก ชื่อว่า มหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกสักรุงกบิลพัสดุ์ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ แต่ไม่มีกําหนด ตั้งจดมหาสมุทร.ป่านี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ชื่อว่า ป่ามหาวัน เพราะอรรถว่า เป็นป่าใหญ่มีกําหนด (กล่าวถึงป่ามหาวัน แคว้นวัชชี เมืองเวสาลี) . ส่วนกูฏาคารศาลา เมื่อสร้างอารามเสร็จแล้ว จึงทํากูฏาคารไว้ภายใน มุงหลังคาด้วยเครื่องมุงอย่างหงส์และนกกระจาบมุงแล้ว พึงทราบว่า เป็นพระคันธกุฏีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง.
ป่ามหาวันในแคว้นสักกะ (ปัจจุบันอยู่ที่เนปาล) ที่แสดงตามพระไตรปิฏก
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 207 อรรถกถาสมยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระกุมารเหล่านั้นให้บวชแล้วเสด็จไปสู่มหาวัน (ป่าใหญ่) ครั้งนั้น ความไม่ยินดียิ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้บวชด้วยความเคารพ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่ครวญอยู่ทรงทราบแล้วซึ่งความที่ภิกษุเหล่านั้นไม่มีความยินดี ทรงพระดำริว่า พวกภิกษุเหล่านี้อยู่ร่วมกับพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยเรายังกระสันอยู่ (อยากสึก) เอาเถอะ เราจักพรรณนาถึงทะเลสาบแห่งนกดุเหว่าแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้วนำไปในที่นั้น ... ภิกษุเหล่านั้นใคร่เพื่อจะเห็นทะเลสาบแห่งนกนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใคร่เพื่อจะเห็นหรือ.
พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ใคร่เพื่อจะเห็น พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใคร่เพื่อจะเห็นหรือ.
พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ใคร่เพื่อจะเห็น พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เหาะขึ้นไปในอากาศแล้วหยุดลงที่ทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพวกนกดุเหว่า ...
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกุณาลชาดก อันประดับด้วยพระคาถา ๓๐๐ คาถา ทรงบรรเทาแล้วซึ่งความไม่ยินดียิ่งของพวกภิกษุเหล่านั้น.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุแม้ทั้งหมด (๕๐๐) ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในโสดาปัตติผล. แม้ฤทธิ์ของภิกษุเหล่านั้นก็มาแล้ว (สำเร็จแล้ว) ด้วยมรรคนั้นนั่นแหละ.
เรื่องของภิกษุทั้งหลาย ขอหยุดไว้เพียงเท่านี้ก่อน จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นไปในอากาศ ได้เสด็จไปสู่มหาวันแล้วทีเดียว. แม้ภิกษุเหล่านั้น ในเวลาไป ได้ไปด้วยอานุภาพของพระทศพล ในเวลามาได้แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้ามาหยั่งลงในมหาวัน ด้วยอานุภาพของตน.
<จากนั้นเป็นเรื่องราวของภิกษุ ๕๐๐ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และบำเพ็ญวิปัสสนาที่ป่ามหาวันจนกระทั่งถึงความเป็นพระอรหันต์ และมีการประชุมใหญ่ของเทวดา>
[สรุป]
ป่ามหาวัน มี ๒ ที่ในพระไตรปิฎก คือ ที่แคว้นสักกะ และแคว้นวัชชี ป่ามหาวันที่แคว้นสักกะนั้น เป็นที่ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพาพระภิกษุไปสู่ป่าหิมพานต์ด้วยฤทธิ์ เป็นที่ๆ พระภิกษุ ๕๐๐ ทั้งฝ่ายศากยะ และโกลิยะ (อย่างละครึ่ง) ผู้ออกบวชจากราชสกุลอบรมเจริญวิปัสสนาและบรรลุเป็นพระอรหันต์ และเป็นที่ชุมนุมใหญ่ของเทวดาที่มารวมตัวกันเพื่อมาดูพระอรหันต์ และกล่าวคาถาชื่นชมพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้น
กราบอนุโมทนา
ยินดีในกุศลจิตครับ