๓. สีวิราชชาดก ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน
โดย บ้านธัมมะ  26 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35966

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 56

๓. สีวิราชชาดก

ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 56

๓. สีวิราชชาดก

ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน

[๒๐๖๖] ข้าพระพุทธเจ้า เป็นคนชราไม่แลเห็นในที่ไกล มาเพื่อจะทูลขอพระเนตร ข้าพระพุทธเจ้า มีนัยน์ตาข้างเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทูลขอแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด.

[๒๐๖๗] ดูก่อนวณิพก ใครเป็นผู้แนะนำท่าน ให้มาขอดวงตาเรา ณ ที่นี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวดวงตาใดว่ายากที่บุรุษจะสละได้ ท่านมาขอดวงตานั้น อันเป็นอวัยวะเบื้องสูง ยากที่จะสละได้ง่ายๆ.

[๒๐๖๘] ในเทวโลกเขาเรียกผู้ใดว่า สุชัมบดี ในมนุษยโลกเขาเรียกท่านผู้นั้นว่า "มฆวา" ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก ท่านผู้นั้นแนะนำให้มาขอพระเนตร ณ ที่นี้

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก การขอของข้าพระพุทธเจ้าไม่มีสิ่งใดจะยิ่งไปกว่า ขอพระองค์ทรงพระราชทานพระเนตรแก่ข้าพระพุทธเจ้าผู้มาขอเถิด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ดวงตาใดยากที่บุรุษจะสละได้ ขอพระองค์โปรดพระราชทานดวงพระเนตรนั้น ที่ไม่มีสิ่งอื่นจะยิ่งกว่า แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 57

ท่านมาด้วยประโยชน์อันใด ปรารถนาประโยชน์สิ่งใด ความดำริเหล่านั้น เพื่อประโยชน์นั้นๆ ของ ท่านจงสำเร็จเถิด ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงได้ดวงตาเถิด เมื่อท่านขอข้างเดียว เราจะให้ทั้งสองข้าง ขอท่านจงมีจักษุด้วยจักษุของเราไปเถิด ท่านปรารถนาสิ่งใดจากเราผู้มุ่งหมายอยู่ สิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่านเถิด.

[๒๐๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย อย่าทรงทอดทิ้งข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเลย ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์เถิด แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์มีเป็นอันมาก.

ข้าแต่มหาราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์จงทรงพระราชทานรถที่เทียมแล้ว ม้าอาชาไนย ช้างตัวประเสริฐที่ตบแต่งแล้ว ที่อยู่ และเครื่องบริโภคที่ทำด้วยทองคำเถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงพระราชทานเหมือนกับชาวสีพีทั้งปวงที่มีเครื่องใช้สอย มีรถแวดล้อมพระองค์อยู่โดยรอบทุกเมื่อฉะนั้นเถิด.

[๒๐๗๐] ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเหมือนกับสวมบ่วงที่ตกลงยังพื้นดินไว้ที่คอ.

ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้น


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 58

เป็นคนลามกยิ่งกว่าผู้ที่ลามก ทั้งจะต้องเข้าถึงสถานที่ลงอาญาของพญายม ความจริงผู้ขอได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็ควรจะให้สิ่งนั้นแหละ ผู้ขอยังไม่ได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็อย่าพึงให้สิ่งนั้น พราหมณ์ได้ขอสิ่งใดไว้กะเรา เราก็จะให้สิ่งนั้นนั่นแหละ.

[๒๐๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา พระองค์ทรงปรารถนา พระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละ อะไรหรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์ทรงเป็นพระราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า ทรงพระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลก หรืออย่างไร.

[๒๐๗๒] เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็หาไม่ เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น เพราะผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่ อีกประการหนึ่ง ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้เคยประพฤติกันมาแล้วแต่โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน.

[๒๐๗๓] ดวงตาทั้งสองข้างจะได้เป็นที่เกลียดชังของเราก็หาไม่ ตนของตนเองก็หาได้เป็นที่เกลียดชังของเราไม่ พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้ดวงตา.

[๒๐๗๔] ดูก่อนสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของเรา ท่านเป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามคำของ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 59

เราให้ดี จงควักดวงตาทั้งสองของเรา ผู้ปรารถนาอยู่ แล้ววางลงในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.

[๒๐๗๕] พระเจ้าสีวิราช ทรงเตือนให้หมอสีวิกะ กระทำตามพระราชดำรัส หมอสีวิกะควักดวงพระเนตรของพระราชาออกแล้ว ทรงพระราชทานแก่ พราหมณ์ พราหมณ์ก็เป็นคนตาดี พระราชาก็เข้าถึง ความเป็นคนตาบอด.

[๒๐๗๖] นับแต่นั้นมาสองสามวัน เมื่อพระเนตรทั้งสองมีเนื้องอกขึ้นเต็มแล้ว พระราชาผู้บำรุงสีพีรัฐ จึงตรัสเรียกนายสารถีผู้เข้าเฝ้าอยู่นั้นว่า ดูก่อนสารถี ท่านจงเทียมยานเถิด เสร็จแล้วจงบอกให้เราทราบ เราจะไปยังอุทยาน จะไปยังสระโบกขรณี และราวป่า พอพระเจ้าสีวิราชเจ้าไปประทับนั่งขัดสมาธิ ริมขอบสระโบกขรณีแล้ว ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราช ก็เสด็จมาเฝ้าท้าวเธอ.

[๒๐๗๗] หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะจอมแห่งเทพ มาในสำนักของพระองค์แล้ว ข้าแต่พระราชาฤๅษี ขอ พระองค์จงทรงเลือกเอาพร ตามที่พระทัยปรารถนา เถิด.

[๒๐๗๘] ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ทรัพย์ก็ดี กำลังก็ดี ของหม่อมฉันมีเพียงพอแล้ว อนึ่ง คลังของ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 60

หม่อมฉันก็มีเป็นอันมาก บัดนี้ หม่อมฉันเป็นคนตาบอด พอใจความตายเท่านั้น.

[๒๐๗๙] ดูก่อนบรมกษัตริย์ ผู้เป็นจอมนรชน พระองค์จงตรัสถ้อยคำที่เป็นสัจจะ เมื่อพระองค์ตรัส แต่ถ้อยคำที่เป็นสัจจะ พระเนตรจักเกิดขึ้นอีก.

[๒๐๘๐] บรรดาวณิพกทั้งหลาย ผู้มีโคตรต่างๆ กัน มาขอหม่อมฉัน แม้วณิพกคนใดมาขอหม่อมฉัน แม้วณิพกนั้นก็เป็นที่รักแห่งใจของหม่อมฉัน ด้วยการ กล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดแก่หม่อมฉันเถิด.

[๒๐๘๑] พราหมณ์ผู้ใดมาขอหม่อมฉันว่า ขอพระราชทานพระเนตรเถิด หม่อมฉันได้ให้ดวงตาทั้งสอง แก่พราหมณ์ผู้นั้นซึ่งเป็นวณิพก ปีติและ โสมนัสเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันยิ่งนัก ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด.

[๒๐๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงสีพีรัฐ พระองค์ตรัสพระคาถาแล้วโดยธรรม พระเนตรทั้งสองของพระองค์ จะปรากฏเป็นตาทิพย์เห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพงและภูเขา ตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ.

[๒๐๘๓] ใครหนอในโลกนี้ ถูกขอทรัพย์อันน่าปลื้มใจแล้ว แม้จะเป็นของพิเศษ แม้จะเป็นของที่รัก


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 61

อย่างดี ของตนจะไม่พึงให้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย ผู้เป็นชาวแคว้นสีพีทุกๆ คน ที่มาประชุมกัน จงดูดวงตาทั้งสองอันเป็นทิพย์ของเราในวันนี้ ตาทิพย์ของเราได้เห็นทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพง และ ภูเขา ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ.

ในโลกอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าการ บริจาคทาน เราได้ให้จักษุที่เป็นของมนุษย์แล้ว กลับได้จักษุทิพย์ ดูก่อนชาวแคว้นสีพีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นจักษุทิพย์ที่เราได้นี้แล้ว จงให้ทานเสียก่อนจึงค่อยบริโภคเถิด บุคคลผู้ให้ทานและบริโภคแล้วตามอานุภาพของตนไม่มีใครจะติเตียนได้ ย่อมเข้าถึงสุคติสถาน.

จบสีวิราชชาดกที่ ๓


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 62

อรรถกถาสีวิราชชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภอสทิสทาน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนชรา ไม่แลเห็นในที่ไกล ( ทูเร จ วสํ เถโร ว) ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันนิทานนั้น ได้กล่าวไว้พิสดารแล้ว ในสีวิราชชาดก ใน อัฎฐกนิบาตนั้นเอง.

ก็ในกาลนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงถวายบริขารครบทุกอย่างใน วันที่ ๗ แล้วทูลขออนุโมทนา. พระศาสดาไม่ได้ตรัสอะไรเลย เสด็จหลีกไปแล้ว. พระราชาเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จไปยังพระวิหาร ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงทำอนุโมทนา" พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนมหาบพิตร เพราะบริษัทไม่บริสุทธิ์" แล้วทรงแสดง พระธรรมเทศนาโดยพระคาถาว่า น หเว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ เป็นต้น แปลว่า คนตระหนี่ทั้งหลาย ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย ดังนี้. พระราชาทรงเลื่อมใส ทรงบูชาพระตถาคตด้วยผ้าอุตราสงค์ สีเวยยกพัสตร์ (ผ้ามีสีสวยงาม) มีราคา ๑ แสนกหาปณะ แล้วเสด็จกลับพระนคร. ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภา ว่า "อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าโกศลราชทรงถวายอสทิสทาน แล้วยังไม่อิ่มด้วยการถวายทานแม้ขนาดนั้น เมื่อพระทศพลทรงแสดงธรรมแล้ว ได้ถวายผ้าสีเวยยกพัสตร์อันมีค่าแสนหนึ่งอีก อาวุโสทั้งหลาย ตลอดเวลาที่ท้าวเธอทรงถวายทาน ยังไม่รู้สึกอิ่มพระทัยเลย" พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า พาหิรภัณฑ์ บุคคลจะ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 63

ให้ได้ง่ายก็หาไม่ โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย กระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้หยุดพักการไถนาแล้ว ให้ทานบริจาคทรัพย์ วันละ ๖ แสนกหาปณะทุกๆ วัน ยังไม่อิ่มด้วยพาหิรกทานเลย ผู้ให้ของรักย่อมได้ของรัก ฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลาย จึงได้ควักดวงตาทั้งสองให้ทานแก่ยาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้า แล้วทรงนำอดีตนิทานมา แสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาลเมื่อ พระเจ้าสีวิมหาราช เสวยราชสมบัติใน อริฎฐปุรนคร แคว้นสีวีรัฐ พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดเป็นพระราชโอรสของท้าวเธอ. พระประยูรญาติทั้งหลายขนานพระนามของพระกุมารนั้นว่า สีวิราชกุมาร . พระราชกุมารเจริญวัยแล้วไปยังพระนครตักกศิลา ศึกษาศิลปศาสตร์จบแล้วกลับมา แสดงศิลปศาสตร์ถวายพระชนกทอดพระเนตร จนได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอุปราช ในเวลาต่อมา เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้วก็ได้เป็นพระราชา ละการลุอำนาจแก่อคติเสีย ไม่ยังทศพิธราชธรรมให้กำเริบ เสวยราชสมบัติโดยธรรม ให้สร้างศาลาโรงทานไว้ ๖ แห่งคือ ที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง และที่ประตูพระราชนิเวศน์อีก ๑ แห่ง แล้วทรงยังมหาทานให้เป็นไป ด้วยทรงบริจาคทรัพย์วันละ ๖ แสนกหาปณะทุกๆ วัน และในวันอัฏฐมี จาตุททสี และปัณณรสี คือวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวเธอเสด็จลงสู่โรงทาน ตรวจตราการให้ทานเป็นราชกรณีกิจประจำ.

คราวหนึ่งเป็นวันปูรณมี ดิถีที่ ๑๕ ค่ำ เวลาเช้าพระเจ้าสีวิราช ประทับเหนือราชบัลลังก์ ภายใต้สมุสสิตเศวตฉัตร (เศวตฉัตรที่ได้รับอภิเษก) ทรงรำพึงถึงทานที่พระองค์ทรงบริจาค มิได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิรวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่า พระองค์ยังไม่เคยบริจาค จึงทรงพระดำริว่า "พาหิรวัตถุที่ชื่อว่า เรายังไม่เคยบริจาคไม่มีเลย พาหิรกทาน (ทานภายนอก) หาได้ยังเราให้ยินดีไม่ เราประสงค์จะให้ อัชฌัตติกทาน (ทานภายใน) โอหนอ เวลาที่เราไปในโรงทานวันนี้ ยาจกคนใดอย่าได้ขอพาหิรวัตถุเลย


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 64

พึงเอ่ยออกชื่อขอแต่อัชฌัตติกทานเถิด ก็ถ้าหากว่าใครๆ จะเอ่ยปากขอดวงหทัยของเราไซร้ เราจะเอาหอกแหวะอุรประเทศ (หน้าอก) นำดวงหทัย ซึ่งมีหยาดโลหิต ไหลอยู่ออกให้ ดุจถอนปทุมชาติทั้งก้านขึ้นจากน้ำอันใสฉะนั้น ถ้าหากว่าใคร เอ่ยปากขอเนื้อในสรีรกายของเรา เราจะเถือเนื้อในสรีระให้ ดุจคนขูดจันทน์แดงด้วยศาสตราสำหรับขูดฉะนั้น ถ้าหากว่าใครเอ่ยปากขอโลหิต เราจะวิ่งเข้าไปในปากแห่งยนต์ ให้คนนำภาชนะเข้าไปรองรับจนเต็มแล้วจึงจักให้โลหิต หรือว่าถ้าใครจะพึงพูดกะเราว่า การงานในเรือนของเราไม่เรียบร้อย ท่านจงเป็นทาสทำการงานในเรือนของเราดังนี้ เราจักละเพศกษัตริย์เสีย กระทำตนให้อยู่นอกตำแหน่ง แล้วประกาศตนทำการงานของทาส ถ้าใครเอ่ยปากขอดวงตาของเรา เราจักควักดวงตาทั้งคู่ออกให้เหมือนดังควักจาวตาลฉะนั้น. ท้าวเธอทรงดำริต่อไปว่า

วัตถุทานซึ่งเป็นของมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เรายังไม่ได้บริจาคไม่มีเลย แม้ยาจกคนใดจะพึงขอดวงตากะเรา เราจะไม่หวั่นไหวให้ดวงตาแก่ยาจกนั้นทีเดียว

ดังนี้แล้ว ทรงสรงสนานด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ ทรงประดับตกแต่งองค์ด้วยเครื่องสรรพอลังการ เสวยพระกระยาหารที่มีรสอันเลิศต่างๆ แล้วเสด็จประทับเหนือคอมงคลหัตถี (ช้าง) อันประดับตกแต่งแล้ว ได้เสด็จไปสู่โรงทาน.

ท้าวสักกะทรงทราบอัธยาศัยของพระองค์ จึงทรงดำริว่า วันนี้พระเจ้า สีวิราชทรงพระดำริว่า จักควักดวงพระเนตรออกพระราชทานแก่ยาจกผู้มาถึง ท้าวเธอจักอาจเพื่อพระราชทานหรือหาไม่หนอ เมื่อจะทดลองพระเจ้าสีวิราช จึงทรงแปลงเป็นพราหมณ์แก่ชรา ตาบอด ในเวลาที่พระราชาเสด็จไปสู่


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 65

โรงทาน ได้ไปยืนอยู่ที่เนินแห่งหนึ่ง ยื่นพระหัตถ์ออกถวายชัยมงคล. พระราชา ทรงไสช้างพระที่นั่งมุ่งเข้าไปหาพราหมณ์นั้น แล้วตรัสถามว่า "ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพูดว่ากระไร" ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกสันนิวาสทั้งสิ้น กึกก้องด้วยเสียงแซ่ซ้องสาธุการ อาศัยพระอัธยาศัยอันน้อมไปในทานของพระองค์ ฟุ้งขจรอยู่เป็นนิตย์ ส่วนข้าพระองค์เป็นคนตาบอด พระองค์มีพระเนตรสองข้าง ดังนี้แล้ว เมื่อจะทูลขอดวงพระเนตร จึงตรัส พระคาถาที่ ๑ ความว่า

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนชรา ไม่แลเห็นในที่ไกล มาเพื่อจะทูลขอพระเนตร ข้าพระพุทธเจ้ามีนัยน์ตา ข้างเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทูลขอแล้ว ขอพระองค์ได้ โปรดพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่ง แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ที่ไกล ( ทูเร) ความว่า อยู่ไกลจากที่นี่.

บทว่า คนชรา ( เถโร) ความว่า เป็นดุจผู้เฒ่าผู้เข้าถึงความคร่ำคร่าเพราะชรา.

บทว่า มีนัยน์ตาข้างเดียว ( เอกเนตฺตา) ความว่า ขอพระองค์จงทรงพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว จักมีสองข้างได้ด้วยวิธีนี้.

พระมหาสัตว์เจ้าทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เรานั่งนึกอยู่ในปราสาท มาเดี๋ยวนี้ทีเดียว เป็นลาภใหญ่ของเรา มโนรถของเราจักถึงที่สุดในวันนี้ทีเดียว เราจักบริจาคทานที่ยังไม่เคยบริจาค แล้วทรงมีพระหฤทัย ชื่นชมโสมนัส ตรัสพระคาถาที่ ๒ ความว่า

ดูก่อนวณิพก ใครเป็นผู้แนะนำท่านให้มาขอ ดวงตาเรา ณ ที่นี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวดวงตาใด


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 66

ว่ายากที่บุรุษจะสละได้ ท่านมาขอดวงตานั้น อันเป็น อวัยวะเบื้องสูง ยากที่จะสละได้ง่ายๆ.

ในพระคาถานั้น พระเจ้าสีวิราช ตรัสเรียกท้าวสักกเทวราชว่า "วณิพก".

บทว่า ดวงตา ( จกฺขุปถานิ) นี้เป็นชื่อของจักษุทั้งสองข้าง.

บทว่า กล่าว... ใด ( ยมาหุ) ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวดวงตาใด อันบุรุษสละได้โดยยาก.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบสัมพันธคาถาง่ายๆ (ถามตอบทีละ ๒ คาถา) โดยนัยอันมาแล้วในพระบาลีดังต่อไปนี้ พราหมณ์ทูลตอบว่า

ในเทวโลกเขาเรียกท่านผู้ใดว่า "สุชัมบดี" ใน มนุษยโลกเขาเรียกท่านผู้นั้นว่า "มฆวา" ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก ท่านผู้นั้นแนะนำให้มาขอพระเนตร ณ ที่นี้. ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก การขอของข้าพระพุทธเจ้าไม่มีสิ่งใดจะยิ่งไปกว่า ขอพระองค์ทรงพระราชทานพระเนตรแก่ข้าพระพุทธเจ้าผู้มาขอเถิด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ดวงตาใดยากที่บุรุษจะสละได้ ขอ พระองค์โปรดพระราชทานดวงเนตรนั้น ที่ไม่มีสิ่งอื่นจะยิ่งกว่าแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด.

พระเจ้าสีวิราชทรงสดับแล้ว ตรัสตอบว่า

ท่านมาด้วยประโยชน์อันใด ปรารถนาประโยชน์สิ่งใด ความดำริเหล่านั้น เพื่อประโยชน์นั้นๆ ของท่านจงสำเร็จเถิด ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงได้ดวงตาเถิด เมื่อท่านขอข้างเดียว เราจะให้ทั้งสองข้าง ขอท่านจงมีจักษุด้วยจักษุของเราไปเถิด ท่านปรารถนาสิ่งใดจากเราผู้มุ่งหมายอยู่ ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่านเถิด.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 67

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณิพก ( วนิพฺพโก) ได้แก่ ยาจก

บทว่า ผู้มาขอ ( ยาจโต) ความว่า แก่ข้าพระองค์ผู้มาขออยู่.

บทว่า วณิํ แปลว่า การขอ.

บทว่า เหล่านั้น ( เต) ความว่า ความมุ่งหมายคือความดำริเพื่อต้องการสิ่งนั้นของท่าน เหล่านั้น (จงสำเร็จ).

บทว่า มีจักษุ ( สจกฺขุมา) ความว่า ท่านนั้นจงเป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุของเรา ไปเถิด.

บทว่า ท่านปรารถนาสิ่งใดจากเราผู้มุ่งหมายอยู่ ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่านเถิด ( ยทจฺฉสิ ตฺวํ ตํ เต สมิชฺฌตุ) ความว่า ท่านยังปรารถนา สิ่งใดจากสำนักของเรา ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่านเถิด.

พระราชาตรัสเพียงเท่านี้แล้วทรงพระดำริว่า การที่เราจักควักนัยน์ตา ให้แก่พราหมณ์ในที่นี้ทีเดียว เป็นการไม่เหมาะสม จึงพาพราหมณ์ไปสู่ภายในพระราชฐาน แล้วประทับบนราชอาสน์ตรัสสั่งให้เรียกหมอชื่อว่า สีวิกะ มาตรัสว่า "เจ้าจงชําระนัยน์ตาของเราให้สะอาด". ได้มีเสียงเอิกเกริกโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ทั่วทั้งพระนครว่า "ได้ยินว่า พระราชาของพวกเรา มีพระราชประสงค์จะควักพระเนตรทั้งสอง พระราชทานแก่พราหมณ์" ลำดับนั้น ข้าราชการมีเสนาบดีเป็นต้น ราชวัลลภ ชาวพระนคร และนางสนมทั้งหลาย มาประชุมพร้อมกัน เมื่อจะกราบทูลทัดทานพระราชา ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย อย่าทรงทอดทิ้งข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเลย ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทานทรัพย์เถิด แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ มีเป็นอันมาก

ข้าแต่มหาราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์ จงทรงพระราชทานรถทั้งหลายที่เทียมแล้ว ม้าอาชา-


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 68

ไนย ช้างตัวประเสริฐที่ตบแต่งแล้ว ที่อยู่ และเครื่องบริโภคที่ทำด้วยทองคำเถิด

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงพระราชทานเหมือนกับชาวสิพีทั้งปวง ที่มีเครื่องใช้สอย มีรถเฝ้าแหนพระองค์อยู่โดยรอบทุกเมื่อฉะนั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทอดทิ้ง ( ปรกฺกริ) ได้แก่ สละทิ้ง. อธิบายว่า ชาวสีพีทั้งหลายพากันกราบทูล ด้วยความประสงค์อย่างเดียวเท่านั้นว่า ก็เมื่อ พระองค์พระราชทานดวงพระเนตรแล้ว พระองค์จักครอบครองราชสมบัติไม่ได้ คนอื่นจักเป็นพระราชาแทน เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักชื่อว่าเป็นผู้ถูกพระองค์ทรงทอดทิ้งเสียแล้ว.

บทว่า เฝ้าแหน ( ปริกเรยฺยุํ) ได้แก่ พึงแวดล้อม.

บทว่า จงทรงพระราชทานเหมือน ( เอวํ เทหิ) ความว่า ชาวสีพีทั้งหลายจะพึงได้เฝ้าแหนพระองค์ผู้มีพระเนตรไม่บกพร่องอยู่ตลอดกาลนาน โดยวิธีใด พระองค์จงทรงพระราชทานโดยวิธีนั้นเถิด คือพระองค์จงทรงพระราชทานแต่เพียงทรัพย์แก่พราหมณ์เท่านั้น อย่าได้ทรงพระราชทานคู่พระเนตรเลย เพราะเมื่อพระองค์ทรงพระราชทานคู่พระเนตรไปแล้ว ประชาชนชาวสีพีทั้งหลาย จักไม่ได้เฝ้าแหนพระองค์ต่อไป.

ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า

ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเหมือนกับสวมบ่วงที่ตกลงยังพื้นดินไว้ที่คอ.

ผู้ใดแล พูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเป็นคนลามกยิ่งกว่าผู้ที่ลามก ทั้งจะต้องเข้าถึงสถานที่ลงอาญาของพญายม

ความจริงผู้ขอได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็ควรจะ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 69

ให้สิ่งนั้นแหละ ผู้ขอยังไม่ได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็อย่าพึงให้สิ่งนั้น พราหมณ์ได้ขอสิ่งใดไว้กะเรา เราก็จักให้สิ่งนั้นนั่นแหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สวม ( ปฏิมุญฺจติ) ได้แก่ สวมใส่.

บทว่า คนลามกยิ่งกว่าผู้ที่ลามก ( ปาปา ปาปตโร) ความว่า ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ที่เลวทรามกว่าผู้ที่เลวทราม.

บทว่า เข้าถึงสถานที่ลงอาญาของพญายม ( สมฺปตฺโต ยมสาธนํ) ความว่า ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าถึงอุสสุทนรก อันเป็นสถานที่ลงอาญาแห่งพญายมโดยแท้.

บทว่า ขอสิ่งใด ( ยํ หิ ยาเจ) ความว่า พระเจ้าสีวิราชตรัสว่า "ก็ยาจกขอสิ่งใด แม้ทายกก็ต้องให้สิ่งนั้นทีเดียว ไม่ต้องให้แก่ผู้ไม่ขอ ก็พราหมณ์ผู้นี้ขอจักษุกะเรา หาใช่ขอทรัพย์ เช่นแก้วมุกดาเป็นต้นไม่ เรานั้นจักให้จักษุแก่เขาเท่านั้น".

ลำดับนั้น เมื่ออำมาตย์ทั้งหลายจะทูลถามท้าวเธอว่า "พระองค์จะพระราชทานพระจักษุ เพราะทรงปรารถนาอะไร" จึงกล่าวคาถา ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา พระองค์ทรง ปรารถนา พระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละอะไรหรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์ทรงเป็นราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า ทรงพระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลกหรืออย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะเหตุปรโลก ( ปรโลกเหตุ) ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นพระองค์ จำต้องละอิสริยยศส่วนปัจจุบันแล้ว พระราชทานดวงพระเนตร เพราะเหตุแห่งปรโลกหรืออย่างไร?

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสตอบอำมาตย์เหล่านั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 70

เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็หาไม่ เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น เพราะ ผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่ อีกประการหนึ่ง ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้ประพฤติกันมาแล้วแต่โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวาหํ ตัดบทเป็น น เว อหํ.

บทว่า เพราะยศ ( ยสสา) ความว่า เพราะเหตุแห่งยศอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ก็หามิได้.

บทว่า จะปราถนาบุตรก็หาไม่ ( น ปุตฺตมิจฺเฉ) ความว่า ใช่ว่าเราอยากจะได้บุตร ทรัพย์สมบัติ แว่นแคว้น เพราะผลแห่งการให้จักษุเป็นทานนี้ก็หามิได้ ก็แต่ว่าข้อนี้ ชื่อว่าเป็นทางที่มีมาแล้วช้านาน คือเป็นการบำเพ็ญบารมี อันสัตบุรุษคือบัณฑิตได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้แสวงหาพระสัพพัญญูสั่งสมมาดีแล้ว ด้วยว่าพระโพธิสัตว์ไม่บำเพ็ญบารมีให้เต็มแล้ว ชื่อว่าจะมีความสามารถที่จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ก็หามิได้ อนึ่ง เราบำเพ็ญบารมีไว้ ก็ใคร่จะเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน ( อิจฺเจว ทาเน นิรโต มโน) ความว่า เพราะเหตุนี้ใจของเราจึงได้ยินดี เฉพาะในทานบริจาค.

แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงจริยาปิฎก แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เพื่อจะทรงแสดงว่า พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักกว่าดวงตาแม้ทั้งสองของเรา จึงตรัสว่า

ดวงตาทั้งสองข้างจะได้เป็นที่เกลียดชังของเราก็หาไม่ ตนของตนเองก็หาได้เป็นที่เกลียดชังของเราไม่ พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้ดวงตา.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 71

ก็เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่อาจจะทูลทัดทาน จำต้องนิ่งเฉยอยู่ พระมหาสัตว์ได้ตรัสกำชับสีวิกแพทย์ ด้วยพระคาถาว่า

ดูก่อนสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของเรา ท่านเป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามคำของเราให้ดี จงควักดวงตาทั้งสองของเราผู้ปรารถนาอยู่ แล้ววางลงในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.

พระคาถานั้นมีอรรถกถาอธิบายว่า "ดูก่อนสีวิกแพทย์ผู้สหาย เธอเป็นทั้งสหายและมิตรของเรา ได้ศึกษามาในศิลปะของแพทย์เป็นอย่างดีโดยแท้ จงทำตามคำของเราให้สำเร็จประโยชน์ เมื่อเราปรารถนาพิจารณาแลดูนั่นแล เธอจงควักดวงตาทั้งคู่ของเราออกดังถอนหน่อตาล แล้ววางไว้ในมือของยาจกผู้นี้เถิด ดังนี้.

ลำดับนั้น สีวกแพทย์ ทูลเตือนท้าวเธอว่า ขึ้นชื่อว่าการให้จักษุเป็นทาน เป็นกรรมหนัก ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จงใคร่ครวญให้ดี". พระราชาตรัสว่า "ดูก่อนสีวิกแพทย์ เราใคร่ครวญดีแล้ว ท่านอย่ามัวชักช้าร่ำไรอยู่เลย อย่าพูดกับเราให้มากเรื่องไปเลย. สีวิกแพทย์คิดว่า การที่นายแพทย์ผู้ศึกษามาดีเช่นเรา จะเอาศาสตราคว้านพระเนตรของพระราชา ไม่สมควร. เขาจึงบดโอสถหลายขนาน แล้วเอาผลตัวยาอบดอกอุบลเขียว แล้วถวายให้ทรงถูพระเนตรเบื้องขวา. พระเนตรพร่า เกิดทุกขเวทนาเป็นกำลัง เขากราบทูลว่า "ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า". พระราชาตรัสว่า "พ่อหมอ เธอจงหลีกไป อย่ามัวทำช้าอยู่เลย". เขาจึงปรุง


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 72

โอสถน้อมเข้าไปให้ทรงถูพระเนตรซ้ำอีก พระเนตรก็หลุดออกจากหลุมพระเนตร บังเกิดทุกขเวทนาเหลือประมาณ. เขากราบทูลว่า "ขอเดชะมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า". พระราชาตรัสว่า "หลีกไปเถอะพ่อหมอ อย่าทำชักช้าอยู่เลย". ในวาระที่ ๓ เขาปรุงโอสถให้แรงขึ้นกว่าเดิม น้อมเข้าไปถวาย. ด้วย กำลังพระโอสถ พระเนตรก็หมุนหลุดออกจากเบ้าพระเนตร ลงมาห้อยอยู่ด้วยเส้นเอ็น. เขาจึงกราบทูลซ้ำอีกว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมนรชน ขอพระองค์ จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า". พระราชาตรัสว่า "เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย". ทุกขเวทนาบังเกิดขึ้นเหลือที่จะประมาณ พระโลหิตก็ไหลออก. พระภูษาทรงเปียกชุ่ม ไปด้วยพระโลหิต นางสนมและหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย หมอบเฝ้าอยู่แทบบาทมูล ของพระราชา ต่างพากันปริเทวนาการพิไรรำพันอึงคะนึงว่า "ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย". พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสว่า "พ่อหมอ เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย". เขารับพระบรมราชโองการแล้ว ประคองพระเนตรด้วยมือซ้าย จับศาสตรา ตัดเอ็นที่ติดพระเนตรด้วยมือขวา แล้วรับพระเนตรไปวางไว้ในพระหัตถ์ของ พระมหาสัตว์. พระองค์ทอดพระเนตรเบื้องขวา ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย ทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสเรียกพราหมณ์ว่า มาเถิดพราหมณ์ แล้วตรัสว่า สัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักกว่านัยน์ตาของเรานี้ ตั้งร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า ผลที่เราบริจาคดวงตานี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณนั้นเถิด". แล้วได้พระราชทานดวงพระเนตรนั้นแก่พราหมณ์ไป. พราหมณ์รับพระเนตรนั้น ประดิษฐานไว้ในดวงตาของตน. ด้วยอานุภาพของพระเจ้าสีวิราชนั้น ดวงพระเนตรก็ประดิษฐานอยู่ เป็นเหมือนดอกอุบลเขียวที่แย้มบาน. พระมหาสัตว์เจ้า ทอดพระเนตรดูนัยน์ตาของพราหมณ์นั้น ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 73

แล้วทรงดำริว่า " โอ อักขิทาน เราได้ให้ดีแล้ว". ทรงเสวยปีติอันซ่านไปภายในพระหฤทัยหาระหว่างมิได้ จึงได้พระราชทานพระเนตรเบื้องซ้ายนอกนี้อีก. ท้าวสักกเทวราช ทรงประดิษฐาน แม้พระเนตรเบื้องซ้ายนั้นไว้ในดวงพระเนตรของพระองค์ แล้วเสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่ นั่นแล ได้ออกจากพระนครไปสู่เทวโลกทันที.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาหนึ่ง คาถาครึ่ง ความว่า

พระเจ้าสีวิราชทรงเตือนให้หมอสีวิกะ กระทำ ตามพระราชดำรัสแล้ว หมอสีวิกะควักดวงพระเนตร ของพระราชาออกแล้ว ทรงพระราชทานแก่พราหมณ์ พราหมณ์เป็นคนตาดี พระราชาก็เข้าถึงความเป็น คนตาบอด.

ไม่สู้นานนัก มังสะพระเนตรทั้งคู่ของพระราชาก็งอกขึ้น. และเมื่องอกขึ้นก็หาถึงความเป็นหลุมไม่ ได้เต็มบริบูรณ์ด้วยก้อนพระมังสะอันนูนขึ้น เหมือนปมผ้ากัมพล หลุมพระเนตรทั้งสองเป็นเหมือนภาพนัยน์ตาอันนายช่าง จิตรกรจัดทำ. ทุกขเวทนาก็เสื่อมหายขาดไปสิ้น ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ประทับ อยู่บนปราสาท ๒-๓ วัน ทรงดำริว่า ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแก่คน ตาบอด เพราะฉะนั้น เราจักมอบราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลาย ไปสู่พระราชอุทยาน บวชบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้แล้ว ตรัสสั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายมาเฝ้า ตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่อำมาตย์เหล่านั้น แล้วตรัสสั่งว่า กัปปิยการก คนหนึ่ง สำหรับให้สิ่งของ มีน้ำบ้วนปากเป็นต้น จักอยู่ในสำนักของเรา ท่านทั้งหลาย จงผูกรางไว้ในที่กระทำสรีรกิจของเราเถิด แล้วตรัสเรียกนายสารถีมาตรัสสั่งว่า


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 74

"เจ้าจงเทียมรถ". ส่วนอำมาตย์ทั้งหลาย ไม่ให้พระองค์เสด็จด้วยรถ นำเสด็จ ไปด้วยพระสุวรรณสีวิกา แล้วให้ประทับอยู่ใกล้ฝั่งสระโบกขรณี จัดแจงวาง กำลังพิทักษ์รักษาแล้วจึงหลีกไป. พระราชาประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงรำพึง ถึงทานของพระองค์. ขณะนั้นได้ร้อนไปถึงอาสนะของท้าวสักกเทวราช ท้าวสักกะทรงรำพึงดู เห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราจักให้พรแก่พระเจ้า สีวิมหาราช แล้วทำพระเนตรให้เป็นปกติ ดังนี้แล้วจึงเสด็จมาที่ฝั่งสระโบกขรณี นั้น เสด็จดำเนินไปๆ มาๆ ไม่ไกลพระมหาสัตว์เจ้า. พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

นับแต่นั้นมาสองสามวัน เมื่อพระเนตรทั้งสอง มีเนื้องอกขึ้นเต็มแล้ว พระราชาผู้บำรุงสีพีรัฐ จึงตรัส เรียกนายสารถีผู้เฝ้าอยู่นั้นว่า ดูก่อนสารถี ท่านจง เทียมยานเถิด เสร็จแล้วจงบอกให้เราทราบ เราจะไปยังอุทยาน จะไปยังสระโบกขรณี และราวป่า พอพระเจ้าสีวิราชเข้าไปประทับนั่งขัดสมาธิ ริมขอบสระโบกขรณีแล้ว ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราชก็เสด็จมาเฝ้าท้าวเธอ.

ฝ่ายท้าวสักกเทวราช อันพระมหาสัตว์เจ้าทรงสดับเสียงแห่งพระบาท แล้วตรัสถามว่า "นั่นใคร" จึงตรัสพระคาถาความว่า

หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะจอมแห่งเทพ มาใน สำนักของพระองค์แล้ว ข้าแต่พระราชฤาษี ขอพระองค์จงทรงเลือกเอาพรตามที่พระทัยปรารถนาเถิด.

เมื่อท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสพระคาถา ความว่า


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 75

ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ทรัพย์ก็ดี กำลังก็ดี ของหม่อมฉันมีเพียงพอแล้ว อนึ่ง คลังของหม่อมฉันก็มีเป็นอันมาก บัดนี้ หม่อมฉันเป็นคนตาบอด พอใจความตายเท่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พอใจความตายเท่านั้น ( มรณญฺเว รุจฺจติ) ความว่า ข้าแต่เทวราช บัดนี้ ความตายอย่างเดียวเท่านั้น ที่ข้าพเจ้าพอใจเพราะความเป็นคนตาบอด ขอพระองค์จงให้ความตายแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะท้าวเธอว่า "ดูก่อนพระเจ้าสีวิราช ก็พระองค์ทรงพระประสงค์จะสิ้นพระชนม์เอง จึงอยากสิ้นพระชนม์ หรือว่า อยากสิ้นพระชนม์เพราะเป็นคนตาบอด" พระเจ้าสีวิราชทูลตอบว่า "ข้าพเจ้าอยากสิ้นพระชนม์เพราะเป็นคนตาบอด". ท้าวสักกเทวราช ตรัสข้อสนทนาต่อไปว่า "ดูก่อนมหาราชเจ้า ขึ้นชื่อว่าทานจะให้ผลในสัมปรายภพอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ ย่อมเป็นปัจจัยแม้เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน ก็พระองค์อันยาจกทูลขอพระเนตรข้างเดียว ได้พระราชทานเสียทั้งสองข้าง เหตุนั้นพระองค์โปรดทำสัจจกิริยาเถิด" แล้วตรัสว่า

ดูก่อนบรมกษัตริย์ผู้เป็นจอนนรชน พระองค์จงตรัสถ้อยคำที่เป็นสัจจะ เมื่อพระองค์ตรัสแต่ถ้อยคำที่เป็นสัจจะ พระเนตรจักเกิดขึ้นอีก.

พระมหาสัตว์เจ้าทรงสดับเช่นนั้นแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช แม้หากว่าพระองค์ทรงพระประสงค์จะพระราชทานจักษุแก่ข้าพเจ้า ขออย่าต้องให้อุบายอย่างอื่นเลย ดวงจักษุจงเกิดขึ้นด้วยผลแห่งทานของข้าพเจ้าเถิด เมื่อท้าวสักกะตรัสว่า เราเป็นท้าวสักกเทวราชไม่สามารถจะให้จักษุแก่คนอื่น


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 76

ได้ จักษุจักเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งทาน อันพระองค์บริจาคอย่างเดียว จึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นทานอันข้าพเจ้าบริจาคด้วยดีแล้ว ดังนี้ เมื่อจะทรงทำสัจจกิริยา จึง ตรัสพระคาถาความว่า

บรรดาวณิพกทั้งหลาย ผู้มีโคตรต่างๆ กัน มาขอ (จักษุ) หม่อมฉัน แม้วณิพกคนใดมาขอหม่อมฉัน แม้วณิพกนั้น ก็เป็นที่รักแห่งใจของหม่อมฉัน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แม้วณิพกนั้น... แห่งใจของหม่อมฉัน ( โสปิ เม) ความว่า วณิพกเหล่าใดมาขอเรา วณิพกเหล่านั้นก็เป็นที่รักของเรา เมื่อพวกเขาพากันมาขอ ผู้ใดขอจักษุเรา ถึงผู้นั้นก็เป็นที่รักใคร่ด้วยใจของเรา.

บทว่า นี้ ( เอเตน) ความว่า ถ้าคำว่า ยาจกทั้งมวลล้วนเป็นที่รักของเรา นี้เป็นสัจจวาจาอันเรากล่าวแล้ว ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอจักษุข้างหนึ่งของเราจงเข้าถึงคือจงบังเกิดขึ้นเถิด. ลำดับนั้น พระจักษุอันเป็นปฐมก็เกิดขึ้นในระหว่างแห่งพระดำรัสของพระราชานั่นเอง แต่นั้นเพื่อจะให้พระจักษุข้างที่สองเกิดขึ้น ท้าวเธอจึงตรัสคาถา ๒ คาถา ความว่า

พราหมณ์ผู้ใดมาขอหม่อมฉัน ว่าขอพระราชทานพระเนตรเถิด หม่อมฉันได้ให้ดวงตาทั้งสองแก่พราหมณ์ผู้นั้นซึ่งเป็นวณิพก. ปีติ และโสมนัสเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันยิ่งนัก ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พราหมณ์ผู้ใด... หม่อมฉัน ( ยํ มํ) ความว่า พราหมณ์ใดมาขอเรา.

บทว่า พราหมณ์ผู้นั้น ( โส) ความว่า พราหมณ์นั้นมีจักษุพิการมาขอเราว่า "ขอพระองค์โปรด


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 77

พระราชทาน แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด".

บทว่า เป็นวณิพก ( วนิพฺพโต) ความว่า แก่พราหมณ์ ผู้มาขอ.

บทว่า เกิดขึ้นแก่หม่อมฉันยิ่งนัก ( ภิยฺโย มํ อาวิสิ) ความว่า ครั้นให้จักษุทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว นับแต่นั้นมาก็เป็นคนตาบอด แต่ในเวลาตาบอดนั้น หาได้คำนึงถึงทุกขเวทนาเห็นปานนั้นไม่ ปีติอันยิ่งเกิดแผ่ซ่านไป คือ เข้าสู่ดวงหทัยของเรา ผู้พิจารณาเห็นว่า "โอ เราได้ให้ทานด้วยดีแล้ว" ทั้งความโสมนัสก็เกิดขึ้นแก่เรา หาประมาณมิได้.

บทว่า นี้ ( เอเตน) ความว่า ถ้าหากปีติโสมนัสมิใช่น้อยเกิดขึ้นแก่เราในกาลนั้นไซร้ นี้เป็นสัจจวาจาอันเรากล่าวแล้ว ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ จักษุแม้ข้างที่สองจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด".

ในทันใดนั้นเอง พระเนตรดวงที่สองก็เกิดขึ้น. แต่พระเนตรของ พระเจ้าสีวิราชนั้น จะว่าเป็นพระเนตรปกติก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นพระเนตรทิพย์ก็ไม่ใช่ เพราะพระเนตรของพระองค์ทรงพระราชทานแก่สักกพราหมณ์แล้ว ทั้งสักกพราหมณ์ก็ไม่สามารถทำพระเนตรให้เป็นปกติเหมือนของเดิมได้ อนึ่ง ธรรมดาพระเนตรทิพย์จะเกิดขึ้นแก่จักษุซึ่งมีที่ตั้งอันถอนเสียแล้วหามิได้ ฉะนั้น พระเนตรเหล่านั้น ของพระเจ้าสีวิราช ต้องเรียกว่า สัจจปารมิตาจักษุ คือจักษุที่เกิดขึ้นเพราะสัจจบารมีของพระองค์ ในกาลที่พระเนตรเหล่านั้นเกิดขึ้น พร้อมกันนั่นเอง ราชบริษัททั้งปวงต่างก็มาประชุมพร้อมกันด้วยอานุภาพของ ท้าวสักกเทวราช. ลำดับนั้น เมื่อท้าวสักกเทวราช จะทรงทำการชมเชย พระเจ้าสีวิราชในท่ามกลางมหาชนนั่นเอง จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงสีพีรัฐ พระองค์ตรัส พระคาถาแล้วโดยธรรม พระเนตรทั้งสองของพระองค์ ปรากฏเป็นตาทิพย์เห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพงและภูเขาตลอด ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 78

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตรัสแล้วโดยธรรม ( ธมฺเมน ภาสิตา) ความว่า ข้าแต่ มหาราช คาถาเหล่านี้พระองค์ตรัสแล้วตามธรรม คือ ตามสภาพ.

บทว่า ตาทิพย์ ( ทิพฺยานิ) ความว่า ประกอบด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์.

บทว่า ปฏิทิสฺสเส แปลว่า จักปรากฏ.

บทว่า ภายนอกฝา ( ติโรกุฑฺฑํ) ความว่า ข้าแต่มหาราช พระเนตร เหล่านี้ของพระองค์ จงสามารถมองเห็น คือ สว่างใส ทอดพระเนตรเห็นรูปได้ทะลุ ภายนอกฝา นอกกำแพง และแม้ภูเขาอย่างใดอย่างหนึ่ง ราวกะว่าจักษุแห่งเหล่าเทพยดา ตลอด ๑๐๐ โยชน์ทั่วสิบทิศโดยรอบ.

ท้าวสักกเทวราช ประทับยืนขึ้นบนอากาศ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ในท่ามกลางมหาชนแล้ว ทรงโอวาทพระมหาสัตว์เจ้าว่า "ขอพระองค์จงอย่าประมาท" แล้วเสด็จไปยังเทวโลกทันที.

ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าแวดล้อมด้วยมหาชนเสด็จเข้าสู่พระนคร ด้วย สักการะใหญ่ แล้วเสด็จขึ้นประทับ ณ สุจันทกปราสาท. ความที่ท้าวเธอได้พระเนตรทั้งคู่กลับคืนมา ปรากฏแพร่สะพัดไปตลอดทั่วสีรีรัฐสีมามณฑล. ลำดับนั้น ประชาชนชาวสีวีรัฐทั้งสิ้น ต่างถือเอาเครื่องบรรณาการมาถวาย เป็นอันมาก เมื่อต้องการจะเข้าเฝ้าชมพระบารมี พระเจ้าสีวิราช พระมหาสัตว์เจ้าทรงดำริว่า เมื่อมหาชนนี้ประชุมกันแล้ว เราจักพรรณนาทานของเรา จึงตรัสสั่งให้สร้างมณฑปใหญ่ ที่ประตูพระราชนิเวศน์ ประทับนั่งบนราชบัลลังก์ ภายใต้ สมุสสิตเศวตรฉัตร ตรัสให้ตีกลองประกาศในพระนคร ตรัสสั่ง ให้เสนาข้าราชการทั้งมวลประชุมกันแล้วตรัสว่า "ดูก่อนประชาชนชาวสีวีรัฐผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นพระเนตรทิพย์ของเราเหล่านี้แล้ว จำเดิมแต่นี้ไป ยังไม่ได้ให้ทานก่อน แล้วอย่าเพิ่งบริโภค เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถา ความว่า


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 79

ใครหนอในโลกนี้ ถูกขอทรัพย์อันน่าปลื้มใจแล้ว แม้จะเป็นของพิเศษ แม้จะเป็นของที่รักอย่างดีของตน จะไม่พึงให้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายผู้เป็นชาวแคว้นสีพีทุกๆ คน ที่มาประชุมกัน จงดูดวงตาทั้งสองอันเป็นทิพย์ของเราในวันนี้ ตาทิพย์ของเรา เห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพง และภูเขา ตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ในโลกอันเป็นที่อยู่ของ สัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าการบริจาคทาน เราได้ให้จักษุที่เป็นของมนุษย์แล้ว กลับได้จักษุทิพย์ ดูก่อนชาวแคว้นสีพีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้เห็นจักษุ ทิพย์ที่เราได้นี้แล้ว จงให้ทานเสียก่อน จึงค่อยบริโภคเถิด บุคคลผู้ให้ทานและบริโภคแล้วตามอานุภาพของตน ไม่มีใครจะติเตียนได้ ย่อมเข้าถึงสุคติสถาน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนีธ ตัดบทเป็น โก นุ อิธ แปลว่า ใครหนอในโลกนี้.

บทว่า แม้จะเป็นของวิเศษ (อปิ วิสิฏฺํ) ความว่า แม้จะเป็นของสูงสุด.

บทว่า การบริจาคทาน ( จาคมตฺตา) ความว่า ขึ้นชื่อว่าจักษุอื่นที่จะยอดเยี่ยมกว่าขอบเขตของการบริจาค ไม่มี.

บทว่า ในโลกอันเป็นที่อยู่นี้ ( อิธ ชีวิเต) ความว่า ในชีวโลกนี้. ปาฐะว่า อิธ ชีวิตํ ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า เป็นอยู่ในชีวโลกนี้.

บทว่า อันเป็นทิพย์ ( อมานุสิํ) ความว่า จักษุทิพย์อันเราได้แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงควรทราบความข้อนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่จะสูงสุดกว่าการบริจาค ไม่มี.

บทว่า ได้เห็น... แม้นี้แล้ว ( เอตํปี ทิสฺวา) ความว่า ท่านทั้งหลายแม้เห็นแล้วซึ่งจักษุอัน เป็นทิพย์ อันเราได้แล้วนี้ (จงให้ทานก่อนจึงบริโภค).

ครั้นพระเจ้าสีวิราช ทรงแสดงธรรมด้วยคาถา ๔ คาถาเหล่านี้ด้วย ประการฉะนี้แล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ในวันกึ่งเดือนและวันปัณณรสีอุโบสถ ก็


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 80

รับสั่งให้มหาชนประชุมกัน ทรงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้เป็นประจำ มหาชนสดับธรรมนั้นแล้ว พากันทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้ไปสู่เทวโลกเต็มบริบูรณ์ทั่วกัน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ไม่ยินดีด้วยทานในภายนอก ได้ควักดวงตาทั้งสองของตนบริจาคทานแก่ยาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้าด้วยอาการอย่างนี้" แล้วทรงประกาศจตุราริยสัจ ประชุมชาดกว่า สีวิกแพทย์ ในครั้งนั้นได้มาเป็น พระอานนท์ ท้าวสักกเทวราช ในกาลนั้น ได้มาเป็น พระอนุรุทธะ ราชบริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน พระเจ้าสีวิราช ได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสีวิราชชาดก