การละสังโยชน์เบื้องสูง ๕ [ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร]
โดย เมตตา  19 ม.ค. 2553
หัวข้อหมายเลข 15188

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

๑๐. ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๓๕๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งกาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุจทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๕ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นล้วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล

จบปฐมอุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐



ความคิดเห็น 1    โดย สิริพรรณ  วันที่ 2 ก.ค. 2559

กราบอนุโมทนา ขอบพระคุณ ในกุศลจิตด้วยค่ะ พี่เมตตา ได้อ่านแล้ว เป็นประโยชน์มากค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย Paravatre  วันที่ 18 เม.ย. 2560

สาธุ ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ที่เผยแผร่เป็นธรรมะวิทยาธาน


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 1 ก.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)