[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 481
๑๐. มัจฉราชจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาปลา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 481
๑๐. มัจฉราชจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาปลา
[๓๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาปลาอยู่ในสระใหญ่ น้ำในสระแห้งขอด เพราะแสงพระอาทิตย์ในฤดูร้อน ที่นั้น กา แร้ง นกกระสา นกตะกรุมและเหยี่ยว มาคอยจับปลากินทั้งกลางวันกลางคืน ในกาลนั้น เราคิดอย่างนี้ว่า เรากับหมู่ญาติถูกบีบคั้น จะพึงเปลื้องหมู่ญาติให้พ้นจากทุกข์ได้ด้วยอุบายอะไรหนอ เราคิดแล้ว ได้เห็นความสัตย์อันเป็นอรรถเป็นธรรมว่า เป็นที่พึ่งของหมู่ญาติได้ เราตั้งอยู่ในความสัตย์แล้วจะเปลื้องความพินาศใหญ่ของหมู่ญาตินั้นได้ เรานึกถึงธรรมของสัตบุรุษ คิดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์อันยั่งยืนเที่ยงแท้ในโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้ แล้วได้กระทำสัจจกิริยาว่า ตั้งแต่เราระลึกตนได้ ตั้งแต่เรารู้ความมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 482
จนถึงบัดนี้ เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับความลำบากเลย ด้วยสัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกห่าใหญ่ แน่ะเมฆ ท่านจงเปล่งสายฟ้าคำรามให้ฝนตก จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป ท่านจงยังกาให้เดือดร้อนด้วยความโศก จงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความโศก พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครื้น ยังฝนให้ตกครู่เดียวก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม ครั้นเราทำความเพียรอย่างสูงสุด อันเป็นความ สัตย์อย่างประเสริฐเห็นปานนี้แล้ว อาศัยกำลังอานุภาพความสัตย์ จึงยังฝนให้ตกห่าใหญ่ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเราฉะนี้แล
จบ มัจฉราชจริยาที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 483
อรรถกถามัจฉราชจริยาที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามัจฉราชจริยาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ยทา โหมิ, มจฺฉราชา มหาสเร ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาปลาอยู่ในสระใหญ่ ความว่า ในอดีตกาล เราเกิดในกำเนิดปลายินดีอยู่ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการของปลาทั้งหลาย ในสระใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งปกคลุมด้วยเถาวัลย์ อันเป็นสระโบกขรณีใกล้พระเชตวัน กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล. ครั้งนั้น เราเป็นพระยาปลาแวดล้อมด้วยหมู่ปลาอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น.
บทว่า อุณฺเห คือฤดูร้อน.
บทว่า สูริยสนฺตาเป คือเพราะแสงอาทิตย์.
บทว่า สเร อุทกํ ขียถ คือน้ำในสระนั่นแห้งขอด. ในแคว้นนั้น ขณะนั้นฝนไม่ตกเลย ข้าวกล้าเหี่ยวแห้ง. น้ำในบึงเป็นต้นแห้งขอด. ปลาและเต่าพากันเข้าไปอาศัยเปือกตม. แม้ในสระนั้นปลาทั้งหลายก็เข้าไปยังเปือกตมซ่อนอยู่ในที่นั้นๆ.
บทว่า ตโต คือภายหลังจากน้ำแห้งนั้น.
บทว่า กุลลเสนกา คือนกตะกรุมและเหยี่ยว. ภกฺขยนฺติ ทิวารตฺตึ, มจฺเฉ อุปนิสีทิย ความว่า กาและนกนอกนั้นเข้าไปแอบอยู่บนหลังเปือกตมนั้นๆ เอาจะงอยเช่นกับปลายหอกสั้นจิกกินปลา ซึ่งเข้าไปนอนซ่อนอยู่ที่เปือกตมทั้งๆ ที่ยังดิ้นอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 484
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เห็นความพินาศของปลาทั้งหลาย เกิดสงสาร คิดอยู่ว่า นอกจากเรา ไม่มีผู้อื่นที่สามารถจะปลดเปลื้องญาติทั้งหลายของเราให้พ้นจากทุกข์นี้ได้. เราจะปลดเปลื้องปลาเหล่านั้นจากทุกข์นี้ได้ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จึงตัดสินใจว่า ถ้ากระไรเราพึงทำสัจจกิริยาอาศัยสัจธรรมที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อน ประพฤติสะสมมา และที่มีอยู่ในตัวเรา ยังฝนให้ตกและสละชีวิตเป็นทานเพื่อหมู่ญาติของเรา. ด้วยเหตุนั้นเป็นอันเราได้ยังมหาอุปการะให้เกิดแก่สัตว์โลกผู้อาศัยอาหารเลี้ยงชีพแม้ทั้งสิ้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ในกาลนั้นเราคิดอย่างนี้ว่า เรากับหมู่ญาติถูกบีบคั้น จะพึงเปลื้องหมู่ญาติให้พ้นจากทุกข์ได้ด้วยอุบายอะไรหนอ เราคิดแล้ว ได้เห็นความสัตย์ อันเป็นอรรถเป็นธรรมว่า เป็นที่พึ่งของหมู่ญาติได้ เราตั้งอยู่ในความสัตย์แล้ว จะปลดเปลื้องความพินาศใหญ่ของ หมู่ญาตินั้นได้ เรานึกถึงธรรมของสัตบุรุษ คิดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์อันยั่งยืนเที่ยงแท้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 485
ในโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้ แล้วได้ทำสัจจกิริยา.
บทว่า สห าตีหิ ปีฬิโต คือเรากับพวกญาติของเราถูกบีบคั้น ด้วยน้ำแห้งนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สห เป็นเพียงนิบาต. คือญาติ ทั้งหลายผู้มีทุกข์เป็นเหตุถูกบีบคั้นด้วยความพินาศนั้น เพราะมีมหากรุณา จึงคิดจะปลดเปลื้อง อธิบายว่า หมู่ญาติได้รับทุกข์.
บทว่า ธมฺมตฺถํ คือประโยชน์ที่เป็นธรรม หรือมีอยู่ไม่ปราศจากธรรม ได้แก่อะไร? ได้แก่ สัจจะ.
บทว่า อทฺทสปสฺสยํ คือได้เห็นที่พึ่งของเราและของญาติทั้งหลาย บทว่า อติกฺขยํ คือความมหาพินาศ.
บทว่า สทฺธมฺมํ คือระลึกถึงธรรม คือความไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ ตัวหนึ่งของสัตบุรุษ คือคนดี มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บทว่า ปรมตฺถํ วิจินฺตยํ คือเราคิดถึงสัจจะอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งนั้นอันมีสภาพไม่วิปริต.
บทว่า ยํ โลเก ธุวสสฺสตํ อันยั่งยืนเที่ยงแท้ในโลก คือการไม่ เบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าตลอดกาลใด. พึงทราบการเชื่อมความว่า เราได้คิดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์อันยั่งยืนเที่ยงแท้โดยความเป็นจริง ตลอดกาลทั้งปวงนั้น ได้กระทำสัจจกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 486
บัดนี้ พระมหาสัตว์ซึ่งมีร่างเช่นกับสีปุ่มแก่นไม้อัญชัน ประสงค์จะรับเอาธรรมนั้นซึ่งมีอยู่ในตน แล้วประกอบคำพูดที่เป็นสัตย์ จึงคุ้ย เปือกตมสีดำออกเป็นสองข้าง ลืมตาทั้งสองแหงนมองอากาศ กล่าวคาถาว่า :-
ตั้งแต่เราระลึกตนได้ ตั้งแต่เรารู้ความมาจนถึงบัดนี้ เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับลำบากเลย. ด้วยสัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกห่าใหญ่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต สรามิ อตฺตานํ ความว่า ตั้งแต่เราระลึก คือความระลึกตนอันได้แก่อัตภาพ.
บทว่า ยโต ปตฺโตสฺมิ วิญฺญุตํ คือตั้งแต่เรารู้ความที่วิญญูชนรู้แล้วในสิ่งอันควรทำนั้นๆ ชื่อว่า รู้ความที่วิญญูชนรู้แล้ว เพราะสามารถระลึกถึงกายกรรม วจีกรรมของเราจากนี้ไปได้ด้วยการแหงนขึ้นไปในเบื้องบน ในระหว่างนี้แม้เกิดในที่จะต้องกินสัตว์ที่มีชาติเสมอกัน เราก็ไม่เคยกินปลาแม้ประมาณเท่ารำข้าวสาร เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์ไรๆ แม้อื่น ไม่ต้องพูดถึงฆ่า.
บทว่า เอเตน สจฺจวชฺเชน ความว่า เรากล่าวถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์ไรๆ อันใด หากการไม่เบียดเบียนนั้นเป็นความจริง ไม่วิปริต ด้วยสัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกเถิด. พระยาปลากล่าวว่า ขอเมฆจงปลดเปลื้องหมู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 487
ญาติของเราจากทุกข์เถิด แล้วเรียกปัชชุนนเทวราชดุจบังคับคนรับใช้ของตนอีกว่า :-
แน่ะปัชชุนนะ ท่านจงเปล่งสายฟ้าคำรามให้ฝนตก จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป ท่านจงยังกาให้เดือดร้อนด้วยความโศก จงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความโศก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺถนย ปชฺชุนฺน ความว่า เมฆ ท่านเรียกว่า ปัชชุนนะ ก็พระยาปลานี้เรียกวัสสวลาหกเทวราช ที่ได้ชื่อด้วย อำนาจแห่งเมฆ.
บทนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมดาฝนไม่คำราม ไม่เปล่งสายฟ้า แม้ให้ฝนตกก็ไม่งาม. เพราะฉะนั้น ท่านคำรามเปล่งสายฟ้าให้ฝนตก เถิด.
บทว่า นิธึ กากสฺส นาสย จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป คือกาทั้งหลายเอาจะงอยจิกปลาที่เข้าไปยังเปือกตมนำออกมากิน เพราะ ฉะนั้น ปลาทั้งหลายภายในเปือกตม ท่านเรียกว่า นิธิ คือขุมทรัพย์ ของกาเหล่านั้น. ท่านยังฝนให้ตก น้ำท่วมขุมทรัพย์ของฝูงกานั้น.
บทว่า กากํ โสกาย รนฺเธหิ ท่านจงยังกาให้เดือดร้อนด้วยความโศก ความว่า ฝูงกาเมื่อไม่ได้ปลาในสระใหญ่นี้ซึ่งมีน้ำเต็มจักเศร้าโศก. ท่านยังเปือกตมนี้ให้เต็ม ยังฝูงกานั้นให้เดือดร้อนด้วยความโศก. ท่านจงยังฝนให้ตกเพื่อให้กา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 488
เศร้าโศก. อธิบายว่า ท่านจงทำโดยอาการที่ฝูงกาถึงความเศร้าโศกอันมีลักษณะจ้องดูภายใน. บทว่า มจฺเฉ โสกา ปโมจย จงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความเศร้าโศก คือท่านจงปลดเปลื้องฝูงปลาทั้งหมดซึ่งเป็นญาติของเราให้พ้นจากความเศร้าโศก คือความตายนี้เถิด. อาจารย์บางคนกล่าวไว้ในชาดกว่า ท่านจงปลดเปลื้องข้าพเจ้าจากความเศร้าโศก. จ อักษรในบทนั้นเป็นสัมบิณฑนัตถะ ความว่า ท่านจงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวง คือเราและญาติของเราให้พ้นจากความโศกคือความตายเถิด. จริงอยู่ปลาทั้งหลายมีความเศร้าโศกคือความตายอย่างใหญ่หลวงว่า พวกเราจะถึงความเป็นอาหารของศัตรูเพราะไม่มีน้ำ. พึงทราบว่าความเศร้าโศกเกิดขึ้นด้วยความ กรุณาของพระมหาสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยความกรุณา เพราะอาศัยความพินาศย่อยยับของปลาเหล่านั้น.
พระโพธิสัตว์เรียกปัชชุนนะเทพบุตร ดุจบังคับคนรับใช้ของตนให้ ฝนห่าใหญ่ตกทั่วแคว้นโกศล. ด้วยเดชแห่งศีลของพระมหาสัตว์ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนตลอดกาล ด้วยสัจจกิริยานั่นแล. ท้าวสักกะทรงรำพึงว่า อะไรหนอ? ครั้นทรงทราบเหตุนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้เรียกวัสสวลาหกเทวราชมา มีเทวบัญชาว่า นี่แน่ะเจ้าพระยาปลาผู้เป็นมหาบุรุษปรารถนาให้ฝนตกเพราะความเศร้าโศก คือความตายของญาติทั้งหลาย. เจ้าจงทำเมฆให้เป็นกลุ่มเดียวกัน แล้วให้ฝนตกทั่วแคว้นโกศลเถิด. วัสส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 489
วลาหกเทวราชรับเทวบัญชาแล้ว นุ่งวลาหกก้อนหนึ่ง ห่มก้อนหนึ่ง ขับเพลงขับสายฝน บ่ายหน้าไป มุ่งไปยังโลกทางด้านทิศตะวันออก. ทางด้านทิศตะวันออก ก้อนเมฆก้อนหนึ่งประมาณเท่าบริเวณลานได้ตั้งขึ้นร้อยชั้น พันชั้น คำรามเปล่งสายฟ้าไหลลงมาเหมือนหม้อน้ำที่คว่ำ หลั่งน้ำใหญ่ท่วมแคว้นโกศลทั้งสิ้น. ฝนตกอยู่ไม่ขาดสาย ครู่เดียวเท่านั้นสระใหญ่นั้นก็เต็ม ปลาทั้งหลายก็พ้นจากมรณภัย. กาเป็นต้นได้หมดที่พึ่ง. ไม่เฉพาะปลาอย่างเดียวเท่านั้น แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ยังข้าวกล้าหลายอย่างให้งอกงาม แม้สัตว์ ๒ เท้าเป็นต้น ทั้งหมดที่อาศัยฝนเลี้ยงชีวิตก็พ้นจากทุกข์กายและทุกข์ใจ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครื้นยังฝนให้ตก ครู่เดียวก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม. ครั้นเราทำความเพียรอย่างสูงสุด อันเป็นความสัตย์อย่างประเสริฐเห็นปานนี้แล้ว. อาศัยกำลังอานุภาพความสัตย์จึงยังฝนให้ตกห่าใหญ่. ผู้เสมอด้วย ความสัตย์ของเราไม่มี. นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 490
ในบทเหล่านั้น บทว่า ขเณน อภิวสฺสถ คือไม่ชักช้าฝนก็ตกโดย ขณะที่ทำสัจจกิริยานั้นเอง.
บทว่า กตฺวา วีริยมุตฺตมํ ทำความเพียรอย่างสูงสุด คือเมื่อฝนไม่ตก เราก็ไม่เกียจคร้านมัวคิดว่า ควรทำอะไร แล้วทำความเพียรอย่างสูงสุด ยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่หมู่สัตว์ใหญ่โดยวิธีบำเพ็ญญาตัตถจริยา.
บทว่า สจฺจเตชพลสฺสิโต คืออาศัยกำลังอานุภาพความสัตย์ของเรา ยังฝนห่าใหญ่ให้ตกในกาลนั้น. เพราะเหตุการณ์เป็นอย่างนั้น ฉะนั้น พระธรรมราชาจึงทรงแสดงถึงความที่สัจจบารมีของพระองค์ ไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เมื่อครั้งเป็นพระยาปลาใหญ่ว่า สจฺเจน เม สโม นตฺถิ, เอสา เม สจฺจปารมี ผู้เสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี. นี้เป็นสัจจบารมีของเรา.
พระมหาสัตว์มีใจเร่งเร้าด้วยมหากรุณาอย่างนี้ จึงได้ปลดเปลื้อง มหาชนจากมรณทุกข์ด้วยยังฝนห่าใหญ่ให้ตกทั่วแว่นแคว้น เมื่อสิ้นอายุก็ไปตามยถากรรม.
ปัชชุนนเทวราชในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้. ฝูง ปลาคือพุทธบริษัท. พระยาปลาคือพระโลกนาถ.
พึงเจาะจงกล่าวแม้บารมีที่เหลือของพระมหาสัตว์นั้นโดยนัยดังได้ กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 491
อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้คือ การเกิดในกำเนิดปลา ในที่ที่จะกินสัตว์ที่มีชาติเสมอกับตนได้แล้วไม่กินสัตว์ไรๆ เช่นปลาแม้เพียงรำข้าวสาร. การไม่กินก็ชั่งเถิด ยังไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่ง. การยังฝนให้ตกด้วยทำสัจจะอย่างนั้น. เมื่อน้ำแห้งด้วยความกล้าไม่คำนึงถึงทุกข์ที่ตนได้รับด้วยการดำลงไปในเปือกตม เมื่อหมู่ญาติทนไม่ไหว จึงทำทุกข์นั้นไว้ในใจด้วยตนช่วยเหลือโดยทุกวิธี. และการปฏิบัติด้วยประการนั้น.
จบ อรรถกถามัจฉราชจริยาที่ ๑๐