๑. อยากทราบว่า สัตว์เดรัจฉานมีจิตและเจตสิกเหมือนมนุษย์หรือไม่ ถ้าใช่ แสดงว่ามีโลภะ โทสะ โมหะเหมือนมุษย์ ใช่หรือไม่?
๒. ถ้าสัตว์เดรัจฉานรู้สึกทุกข์ สุข ได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ทำไมไม่มีหมา แมว ฆ่าตัวตาย?
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ข้อ ๑. สัตว์เดรัจฉาน มีจิตและเจตสิกครับ และสัตว์ก็มีกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก
[เล่มที่ ๒๗] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๔๓
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถา คัททูลสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจะเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง จะผ่องแผ้ว เพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็น สัตว์อื่นแม้เหล่าเดียวที่จะวิจิตรเหมือนสัตว์เดียรัจฉานเหล่านี้นะภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้น วิจิตรแล้ว เพราะจิตนั่นเอง จิตนั่นเองยังวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล. เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรพิจารณาว่า จิตนี้เศร้าหมอง เพราะราคะ โทสะ โมหะมานมนานแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง ผ่องแผ้ว เพราะจิตผ่องแผ้ว
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ...
สัตว์เดรฉานมีจิต เจตสิกหรือไม่
ข้อ ๒. ที่สัตว์ เช่น หมา แมว ไม่ฆ่าตัวตาย เพราะตามธรรมดาสัตว์ส่วนใหญ่มากไปด้วยความไม่รู้ ไม่มีความคิดพิจารณามากมาย ดังเช่น มนุษย์ มนุษย์นั้นมีความคิดเข้าใจในสิ่งต่างๆ มากมาย เมื่อรู้มากขึ้น (ไม่ใช่ปัญญา) แต่รู้เรื่องราว เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ได้ก็ย่อมคิดปรุงแต่งมากขึ้นและก็ติดข้องในสิ่งที่รู้มากขึ้น เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ติดก็ย่อมทำให้มีการฆ่าตัวตายได้ คิดง่ายๆ ครับ เรื่องใดที่เราไม่ไปรับทราบหรือไม่รู้ในเรื่องนั้น เราจะเดือดร้อนเพราะเรื่องนั้นไหม สัตว์ย่อมมากไปด้วยความไม่รู้ไม่คิดหรือรู้เรื่องราวเท่ามนุษย์ สัตว์จึงไม่ฆ่าตัวตาย เพียงแต่พยายามให้ชีวิตดำรงอยู่ด้วยการแสวงหาอาหาร ก็เป็นเรื่องยากแล้วของสัตว์เดรัจฉานครับ ซึ่งในข้อความในพระไตรปิฎกจะแสดงให้เห็นว่า สัตว์เดรัจฉานนั้น ตื้น หมายความว่า คิดอย่างไรก็แสดงอย่างนั้น ไม่มีความคิดปรุงแต่งมากมายเหมือนมนุษย์ ส่วนมนุษย์นั้นรกชัฏเพราะกาย วาจาไม่ตรงกับใจ เป็นต้น เพราะมากไปด้วยความคิดปรุงแต่ง เพราะเป็นผู้รู้เข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ มากกว่าสัตว์เดรัจฉาน ลองอ่านดูนะ
เรื่อง สัตว์ตื้น มนุษย์รกชัฏ
[เล่มที่ ๔๐] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๒๓๔
ข้อความบางตอนจาก เรื่อง พระนางสามาวดี
ชื่อว่า สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนั้น เป็นสัตว์มีชาติซื่อตรง ไม่คดโกง ส่วนมนุษย์ใจคิดไปอย่าง ปากพูดไปอย่าง (ไม่ตรงกัน) เพราะเหตุนั้นแล นายเปสสะ ผู้เป็นบุตรของนายควาญช้าง จึงกล่าวว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือมนุษย์นี้รกชัฏ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือ สัตว์ของเลี้ยงนี้ตื้น.
[เล่มที่ ๖๐] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ ๒๓๒
ข้อความบางตอนจาก ชวนหังสชาดก
[๑๗๕๖] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกทั้งหลายก็ดี ของนกทั้งหลายก็ดี รู้ได้ง่าย แต่เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากกว่านั้น
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ตามธรรมดาสัตว์เดรัจฉานส่วนมากเต็มไปด้วยไม่รู้ แต่ยกเว้นพระโพธิสัตว์ ที่เกิดเป็นกระต่าย ท่านมีปัญญามาก ท้าวสักกะแปลงเป็นพราหมณ์มาขออาหาร ท่านก็เลยสละชีวิตตัวเอง กระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบำเพ็ญทานบารมี เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าค่ะ
การสละชีวิตของพระโพธิสัตว์เป็นไปเพื่อพระโพธิญาณ เป็นปรมัตถบารมี
ขอบคุณครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ