ปุปผวรรคที่ ๔ ว่าด้วยคนฉลาดและดอกไม้ (เริ่มเล่ม 41)
โดย บ้านธัมมะ  25 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 34814

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 1

ปุปผวรรคที่ ๔

ว่าด้วยคนฉลาดและดอกไม้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๒

คาถาธรรมบท

ปุปผวรรคที่ ๔ (๑)

ว่าด้วยคนฉลาดและดอกไม้

[๑๔] ๑. ใครจักรู้ชัดซึ่งแผ่นดินนี้และยมโลกกับมนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ใครจักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น พระเสขะจักรู้ชัดแผ่นดินและยมโลกกับมนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก พระเสขะจักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น.


(๑) วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 2

๒. ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า มีฟองน้ำเป็นเครื่องเปรียบ รู้ชัดกายนี้ว่า มีพยับแดดเป็นธรรม ตัดพวงดอกไม้ของมารเสียแล้ว พึงถึงสถานที่มัจจุราชไม่เห็น.

๓. มัจจุย่อมพานระผู้มีใจข้องไปในอารมณ์ต่างๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไป ฉะนั้น.

๔. มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด กระทำนระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ เลือกเก็บดอกไม้อยู่เทียว ผู้ไม่อิ่มในกามทั้งหลายนั่นแล สู่อำนาจ.

๕. มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้วบินไป ฉะนั้น.

๖. บุคคลผู้ไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้ในใจ ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคนเหล่าอื่น พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำของตนเท่านั้น.

๗. ดอกไม้งามมีสี ไม่มีกลิ่น แม้ฉันใด วาจาสุภาษิต ก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ดอกไม้งามมีสี พร้อมด้วยกลิ่น แม้ฉันใด วาจาสุภาษิต ก็ฉันนั้น ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 3

๘. นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มากจากกองดอกไม้ แม้ฉันใด มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มาก ฉันนั้น.

๙. กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์หรือกลิ่นกฤษณาและกลัมพักก็ฟุ้งไปไม่ได้ แต่กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้ กลิ่นจันทน์ก็ดี แม้กลิ่นกฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี กลิ่นมะลิก็ดี กลิ่นศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาตนั่น.

๑๐. กลิ่นนี้ คือกลิ่นกลัมพักและกลิ่นจันทน์ เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไปในเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์.

๑๑. มารย่อมไม่ประสบทางของท่านผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบเหล่านั้น.

๑๒. ดอกบัวมีกลิ่นดี พึงเกิดในกองหยากเยื่อ อันบุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่ ดอกบัวนั้นพึงเป็นที่ชอบใจ ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อปุถุชนเป็นดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว ย่อมไพโรจน์ล่วงซึ่งปุถุชนผู้มืดทั้งหลายด้วยปัญญา ฉันนั้น.

จบปุปผวรรคที่ ๔