[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 293
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๖
๘. รมณียกุฏิกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระรมณียกุฏิกเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 293
๘. รมณียกุฏิกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระรมณียกุฏิกเถระ
[๑๙๕] ได้ยินว่า พระรมณียกุฏิกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กุฎีของเรา น่ารื่นเริงบันเทิงใจ เป็นกุฏิที่ทายก ให้ด้วยศรัทธา ดูก่อนนารีทั้งหลาย เราไม่ต้องการ ด้วยกุมารีทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีความต้องการ เธอทั้งหลายก็จงไปในสำนักของชนเหล่านั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 294
อรรถกถารมณียกุฎิกเถรคาถา
คาถาของท่านพระรมณียกุฏิกเถระ เริ่มต้นว่า รมณียา เม กุฏิกา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนั้น กระทำการหว่านพืช คือ กุศลไว้ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ในที่สุดแห่งกัป ๑,๘๐๐ จำเดิมแต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ได้ถวายอาสนะอันสมควรแก่พระพุทธเจ้า แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ข้อความที่เหลือคล้ายกับที่กล่าวไว้แล้ว ในเรื่องของพระอัญชนวนิยเถระนั่นแหละ. ส่วนความที่พิเศษ ออกไป มีดังนี้.
ได้ยินว่า พระเถระนี้ บวชโดยนัยดังกล่าวแล้ว กระทำบุพกิจแล้ว อยู่ในกระท่อมในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ในแคว้นวัชชี กระท่อมหลังนั้น จัดเป็นกระท่อมสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฝาและพื้น ตกแต่งเรียบร้อย สมบูรณ์ด้วยทัศนียภาพ มีสวนรื่นรมย์และสระโบกขรณีเป็นที่น่ายินดีเป็นต้น มีภูมิภาคดาษเต็มไปด้วยทรายคล้ายข่ายแห่งแก้วมุกดา เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ยิ่งกว่าประมาณ โดยมีบริเวณลานที่กวาดเกลี้ยงเกลาดีแล้วเป็นต้น เพราะพระเถระเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร ตั้งอยู่. พระเถระอยู่ในกระท่อมนั้น เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน กล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 295
เราเข้าป่าชัฏ สงัดเสียง ไม่อาดูร ได้ถวายอาสนะ อันสมควรแก่พระพุทธเจ้า ผู้สีหะแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้คงที่ เราถือดอกไม้ กำหนึ่ง แล้วทำประทักษิณพระองค์ เข้าเฝ้าพระศาสดาแล้ว กลับมุ่งหน้าไปทางทิศอุดร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา เชษฐบุรุษของโลกประเสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ยังตนให้ดับ (กิเลส) ถอนภพได้ทั้งหมดแล้ว ในกัปที่ ๑,๘๐๐ ข้าพระองค์ได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายสีหาสนะ ในกัปที่ ๗๐๐ แต่ ภัทรกัปนี้ ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอมกษัตริย์พระนามว่า สันนิพาปกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ยังคงอยู่ที่กระท่อมนั้น มนุษย์ทั้งหลายผู้อยากจะดูวิหาร เพราะกระท่อมเป็นสถานที่ๆ น่ารื่นรมย์ มาจากที่นั้นๆ ดูชมกระท่อม.
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พวกผู้หญิงที่มีนิสัยนักเลงจำนวนเล็กน้อย ไปที่กระท่อมนั้น เห็นความที่กระท่อมเป็นสถานน่ารื่นรมย์ จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สถานที่อยู่ของพระคุณเจ้าน่ารื่นรมย์ แม้พวกดิฉันทั้งหลาย ก็มีรูปร่างน่าเล้าโลม ตั้งอยู่ในวัยสาวรุ่นกำดัด ดังนี้ โดยมีประสงค์ว่า พระเถระผู้อยู่ในกระท่อมรูปนี้ พึงเป็นผู้มีใจอันพวกเราทั้งหลายเหนี่ยวรั้งมาได้ แล้วเริ่มแสดงอาการต่างๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 296
มีมายาหญิงเป็นต้น พระเถระเมื่อจะประกาศความที่ตน เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว จึงได้กล่าวคาถาว่า
กุฏีของเรา น่ารื่นรมย์บันเทิงใจ เป็นกุฎีที่ทายกให้ด้วยศรัทธา ดูก่อนนารีทั้งหลาย เราไม่ต้องการด้วยกุมารีทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีความต้องการ เธอทั้งหลายก็จงไปในสำนักของชนเหล่านั้นเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณียา เม กุฏิกา ความว่า คำที่พวกเธอทั้งหลายกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า กุฏิของท่านน่ารื่นรมย์ ดังนี้นั้น เป็นความจริง กุฏิที่อยู่ของเราหลังนี้ น่ารื่นรมย์ชื่นชมยินดี ก็กุฏิหลังนั้นแล แม้นกุฏิที่ทายกถวายด้วยศรัทธา คือชื่อว่าเป็นสัทธาไทยธรรม เพราะทายกเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมว่า ผลชื่อนี้ ย่อมมีแก่ทายกผู้ถวายกุฏิแก่บรรพชิต เพราะทำความพอใจให้ในกุฏิเห็นปานนี้ แล้วจึงถวายด้วยศรัทธา คือด้วยความพอใจในธรรม มิใช่ให้เกิดด้วยทรัพย์. กุฏิชื่อว่า มโนรมา เพราะทำใจของผู้ที่เห็นสัทธาไทยธรรมที่ให้แล้วอย่างนั้นให้ยินดีเอง และทำใจของผู้บริโภคให้ยินดีอีกด้วย.
อธิบายว่า ก็กุฏิชื่อว่า มโนรมา เพราะเป็นของที่เขาถวายด้วยศรัทธา นั่นเอง คือทายกบรรจงจัดไทยธรรมด้วยความเคารพ ถวายด้วยศรัทธาจิตเป็นต้น และสัตบุรุษผู้บริโภคของที่ทายกถวายด้วยศรัทธา ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยประโยคสมบัติและอาสยสมบัติ ไม่ทำให้ทายกผิดหวัง ไม่ใช่วิบัติด้วยประโยคสมบัติ และอาสยสมบัติ โดยอาการอย่างที่ท่านทั้งหลายคิด.
บทว่า น เม อตฺโถ กุมารีหิ ความว่า เพราะเหตุที่เรามีใจหันออกจากกามทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ฉะนั้น เราจึงไม่มีความต้องการด้วยกุมารีทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 297
อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายจะมาช่วยทำประโยชน์ แม้โดยทำหน้าที่กัปปิยการก ก็ย่อมไม่มีแก่คนเช่นเรา จะป่วยกล่าวไปไยถึงประโยชน์ ด้วยการปลดเปลื้องราคะเล่า เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ต้องการด้วยกุมารีทั้งหลาย. ก็กุมารีศัพท์ในคาถานี้ พึงเห็นเป็นการกำหนด. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า กิริยา อย่างนี้ จะพึงงามก็ต่อหน้าของตนที่มีอัธยาศัยเหมือนกับพวกท่านผู้กระทำกรรมอันไม่สมควรโดยคิดว่า ต้องปฏิบัติอย่างนี้ในสำนักของคนเช่นเราจนเกิดผิดพลาดขึ้น ดังนี้ (แล้ว) กล่าวว่า ชนเหล่าใดมีความต้องการ เธอทั้งหลายก็จงไปสำนักของคนเหล่านั้นเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยสํ ได้แก่ ของคนที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย.
บทว่า อตฺโถ แปลว่า ประโยชน์.
บทว่า ตหึ แปลว่า ในที่นั้น คือ สำนักของคนเหล่านั้น.
บทว่า นาริโย เป็นอาลปนะ. หญิงทั้งหลายฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว เป็นผู้เก้อเขิน คอตก หลีกไปตามทางที่ตนมาแล้วนั่นแหละ ก็คำว่า เราไม่มีความต้องการด้วยกุมารีทั้งหลายในคาถานี้ พึงทราบว่า อันพระเถระพยากรณ์ พระอรหัตตผลแล้ว เพราะกล่าวถึงความที่ตนไม่ต้องการด้วยกามทั้งหลายนั่นแล.
จบอรรถกถารมณียกุฏิกเถรคาถา