สัมปชัญญะ ๔
จตุ (สี่) +สํ (พร้อม) +ป (ทั่ว) +ชญฺญฺ (ความรู้)
ความรู้ทั่วพร้อม ความรู้ตัว ๔ ประการ หมายถึง ปัญญาเจตสิกที่เกิดขึ้นรู้ความจริงในระดับต่างๆ เป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่การเจริญของกุศลธรรมและการอบรมปัญญาที่ยิ่งขึ้นได้แก่
๑. สาตถกสัมปชัญญะ ปัญญาที่รู้ความเป็นประโยชน์ และไม่ใช่ประโยชน์เช่นรู้ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม รู้ประโยชน์ของการอบรมปัญญารู้ประโยชน์ของกุศลธรรมและรู้ว่าอกุศลธรรมไม่มีประโยชน์
๒. สัปปายะสัมปชัญญะ ปัญญาที่รู้ความเหมาะสมหรือความสมควรต่อการเกิดขึ้นของกุศลธรรม รู้ว่ากุศลธรรมเป็นสัปปายะ อกุศลธรรมเป็นอสัปปายะ รู้ว่าสถานที่ใด บุคคลใด คำพูดเช่นไร เป็นต้น เป็นสัปปายะแก่กุศลธรรม
๓. โคจรสัมปชัญญะ ปัญญาที่รู้อารมณ์ที่ควรเป็นที่เที่ยวไป เป็นอารมณ์ที่เป็นปัจจัยให้จิตสงบจากกิเลส หรือเป็นอารมณ์ที่เป็นปัจจัยให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ ปัญญาที่รู้ความจริงทำให้ไม่หลง คือรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอิริยาบถต่างๆ มีการยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว เหยียด คู้ ฯลฯ
ขออนุโมทนาค่ะ
Anumotana ka.
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านทุกประการค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ