พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
ว่าด้วยรสต่างๆ
[๗๓๕] ชื่อว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่รสที่ราก
รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รส
หวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย
รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน มีสมณพราหมณ์บางพวก ติดใจในรส
เที่ยวแสวงหารสอันเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่
เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสงหารสเปรี้ยว ฯลฯ ได้รสเย็นแล้วก็
แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ได้รสใดๆ แล้ว ย่อมไม่พอใจด้วยรสนั้นๆ ย่อมเที่ยวแสวงหารสอื่นๆ
เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ หลงใหล เกี่ยวข้อง พัวพัน
ในรสที่ชอบใจ ความอยากในรสนั้น อันภิกษุใดละ ตัดขาด ฯลฯ เผา
เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตบแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ
ฉันเพื่อดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก
เพื่อความอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ฯลฯ ความอยู่
สบายของเราจักมีด้วยอุบายดังนี้ บุคคลทาแผลเพื่อให้แผลหาย หยอด
น้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ กินเนื้อบุตรเพื่อจะออกจากทางกันดาร
อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงฉันอาหาร
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ฉันเพื่อเล่น ฯลฯ ความไม่มีโทษและความอยู่
สบายจักมีด้วยอุบายดังนี้ ภิกษุพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มี ซึ่งความอยากในรส คือเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ
พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความอยากในรส พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดน
กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงติดใจในรส.
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุได้ใช้สอยปัจจัย ๔ คือ จีวร (เครื่องนุ่งห่ม) อาหารบิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค ไม่ใช่เพื่อให้ติดข้องยินดี ไม่ใช่เพื่อเป็นผู้มัวเมาในสิ่งเหล่านี้ แต่ทรงอนุญาตเพื่อให้อาศัยปัจจัยเหล่านี้ให้สามารถยังชีวิตให้ดำเินินไปได้ เพื่อจะได้อบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเองให้เบาบางจนสามารถดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...
...ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่นมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ