บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรม
นั้นๆ ก็กาลนั้น เป็นเพียงโวหาร (มิใช่
ปรมัตถ์) กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น พึง
ทราบว่าเป็นการพร้อมเพรียง (สมูหะ) .
ขออนุญาตรบกวนท่านวิทยากรช่วยขยายความในเรื่องนี้ให้ด้วยครับ
คำว่า "กาล" หมายความอย่างไร สัมพันธ์กับบัญญัติอย่างไร ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ในอรรถบทนี้ท่านกล่าวถึง
กาลแห่งจิต กาลแห่งรูป
กาลแห่งพืช การแห่งหน่อ
มีความหมายอย่างไรครับ
หมายถึง เวลาที่ต่างกัน จิตที่เป็นอดีตก็มี อนาคตก็มี ขณะปัจจุบันก็มี
แม้รูปก็เช่นเดียวกัน ส่วนกาลแห่งพืชทั้งหลายก็เช่นเดียวกันกับคำที่
ชาวโลกใช้กันทั่วไปว่า เวลานี้พืชกำลังงอก เวลาปลูก เวลาออกดอกออกผล
เวลาเก็บเกี่ยว เป็นต้นครับ
ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป (ปรมัตถธรรม) ก็จะไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป แต่
เพราะมีสภาพธรมที่เป็นปรมัตถธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป ย่อมเกิดขึ้นและดับไป เพราะ
อาศัยการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมจึงมีเวลา มีกาล มีวินาที มีนาที เพราะอาศัย
การเกิดดับสืบต่อ จึงบัญญัติเป็นเวลาขึ้น อันอาศัยการเกิดดับของสภาพธรรมนั่นเอง
ขอพระคุณ อ.ประเชิญ และ อ.เผดิม ครับ
ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมว่า
เมื่อกาลเป็นบัญญัติ
แต่กาลเกิดจากการเกิดดับของปรมัตถธรรม
อาการของการเกิดดับเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
แต่ก็ไม่ใช่ปรมัตถนั้นๆ
แล้วจะสามารถเรียกว่าเป็นอะไรครับ ที่ไม่ใช่บัญญัติ
เรียนความเห็นที่ ๕
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านใช้คำว่า บัญญัติพิเศษ
ขอรบกวน อ.ประเชิญ ขยายความอีกสักนิดนะครับ
ว่าบัญญัติพิเศษนั้น ต่างไปจากบัญญัติธรรมดาอย่างไร ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ท่านใช้คำว่าบัญญัติพิเศษนั้น เพราะเนื่องกันสภาวธรรม เป็นอาการของ
สภาพธรรม เพราะเห็นแจ้งในสังขาร จึงเห็นไตรลักษณะ ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.ประเชิญ ครับ