๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้ มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น
แต่ตถาคต เรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อ หน่าย คลาย กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้น นั้นได้เลย ฯ
ที่ผม ทำตัวหนา ไว้ มิทราบ ถูกหรือผิด ประการใดครับ
ข้อความสำนวนแปลฉบับที่ท่านยกมา อ่านแล้วไม่เข้าใจครับ
ลองอ่านพระไตรปิฎกสำนวนของ มจร. จะเข้าใจได้ครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อันปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตจิตเป็นต้นนั้นได้เลย
ขออนุญาต แสดงความเห็น ดังนี้
ย่อหน้าแรก ทรงแสดงรูปธรรม คือมหาภูตรูป ปุถุชนย่อมเบื่อหน่ายในรูปได้ เพราะความเปลี่ยนแปลงของรูปปรากฏ
ย่อหน้าที่สอง ทรงแสดงนามธรรม ปุถุชน ไม่อาจเบื่อหน่ายในนามได้ เพราะยึดถือด้วยตัณหา ในนาม และนามไม่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเหมือนรูป
ขอบพระคุณและขออนุโมทนา ครับ
ขอบคุณครับ นับเป็นพระคุณอย่างสูง
ถ้าร่างกาย เรียกว่า จิต เรียกว่า วิญญาณ ล่ะก็ คงวุ่นวายน่าดูครับ ไม่ทราบ มี link พอได้เข้าไปอ่าน ฉบับ มจร. มั๊ยครับ
เรียนคุณโกวิทย์ค่ะ เมื่อปีที่แล้ว ท่านอาจารย์สุจินต์ และคณะวิทยากรได้นำพระสูตรนี้มาพิจารณาร่วมกัน และได้เทียบเคียงกับภาษาบาลีและแปลใหม่ ซึ่งสำนวนก็จะสอดคล้องกับที่คุณประเชิญได้ยกมา จึงได้แก้ไขให้ถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ